ตอนที่ 20 : อนาคตมุสลิมในสิงคโปร์...รุ่งหรือดับ1

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

สิงคโปร์นับเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด มีอานาเขตรอบเกาะเพียงแค่ 42ตางรางกิโลเมตรเท่านั้น ก็คงจะพอๆกับ จ.สตูล เท่านั้นเองครับ ที่นี่มีประชากรประมาณสิบกว่าล้านคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นคนจีนประมาณ 76% มาเลย์ 15 % แขกอินเดีย 6.2 % และอื่นๆอีกประมาณ 1.8%(1) สำหรับมุสลิมในสิงคโปร์แล้วส่วนใหญ่เป็นคนดังเดิม (บูมีปุตรา) ของที่นี้ครับเพราะแต่เดิมสิงคโปร์ก็เคยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียระหว่างปี1964-1965 (2) ส่วนที่เหลือเป็นอินเดียนมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดียในช่วงที่สิงคโปร์ยังเป็นเมืองอานานิคมของอังกฤษ
ท่ามกลางการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในทุกๆด้านของประเทศตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามุสลิมในสิงคโปร์ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในวิธีชีวิต ความเป็นอยู่ การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา และการศึกษาไปด้วย ทั้งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและไม่ดี เช่นเดียวกันกับอนาคตของชาวมุสลิมสิงคโปร์ที่จะยังต้องเพชิญกับเรื่องราวท้าทายอีกมาก
ผมเองได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษามุสลิมจากสิงคโปร์สองคนที่มาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย คนหนึ่งกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกและอีกคนหนึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทครับ จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเขาทั้งสองทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มุมมอง และแง่คิดมากมายของชาวสิงคโปร์เองเกี่ยวกับอนาคตของการเปลี่ยนแปลงในวิธีชีวิต เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และการศึกษาของมุสลิมในสิงคโปร์ ซึ่งสามารถแบ่งวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้ครับ
ด้านเศรษฐกิจ
ด้วยความที่สิงคโปร์ตั้งอยู่บนปลายแหลมคาบสมุทรมลายูซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลแห่งหนึ่งของโลกเพราะมีช่องแคบมะละกาที่ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าทางทะเล มานับร้อยๆปี ทำให้สิงคโปร์มีความได้เปรียบ มีความมั่งคั่ง และร่ำรวยจากการเปิดเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ทำให้มุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศนี้หันหน้าเข้าสู่เวทีของการทำธุรกิจ การค้า การลงทุน และการส่งออก เช่นเดียวกันกับชาวจีนและอินเดีย แต่ตลอดระยะเวลากว่าห้าสิบปีที่ผ่านปรากฏว่าจำนวนมุสลิมที่เข้ามาทำธุรกิจยังคงมีไม่มากนักเท่าที่ควรและเติบโตช้า เพราะอิทธิผล บารมี และเส้นสายต่างๆยังคงเป็นของชาวจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ที่มีเม็ดเงินลงทุนมากกว่า แต่ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่สิงคโปร์จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน นับเป็นโอกาสดีมากที่มุสลิมสิงคโปร์จะเข้ามาตักตวงโอกาสทำธุรกิจกับชาติมุสลิมอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน เช่น อินโดเนเซีย มาเลเซีย และบรูไน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว อาหารฮาลาล นำเข้า-ส่งออก และธุรกิจในกลุ่มโลจิสติก ทั้งนี้พวกเขาได้เปรียบมากเพราะสิงคโปร์เป็นจุดศูนย์กลางการบินและท่าเรือที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของอาเซียน
จากที่กล่าวมา อาจจะเป็นความหวังได้บ้างว่า ในอนาคตมุสลิมในสิงคโปร์จะมีโอกาสและอนาคตที่ดีขึ้นจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ


สนามบิน ชาง กี (Changi-Airport )เป็นจุดขนส่งทางอากาศที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งทำให้ชาวสิงคโปร์ได้เปรียบได้ด้านการนำเข้า-ส่งออกกับชาติต่างๆ

อาหรับ สตรีท ย่านการค้ามุสลิมขึ้นชื่อในสิงคโปร์
ด้านการเมือง
         เป็นที่ทราบกันดีว่าในย่านอาเซียนบ้านเรานั้นสิงคโปร์เป็นชาติที่มีอำนาจ มีปากมีเสียง มีพลังในการต่อรองในระดับนานาชาติสูงมาก จนได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในย่านอาเซียนและเอเชียอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับการเมืองในประเทศที่มีความแข็งแกร่งสูงซึ่งมีชาวจีนเป็นชนชั้นปกครอง สำหรับมุสลิมสิงคโปร์นั้นพวกเขาก็มีสถานะและโอกาสเช่นเดียวกันกับชนชาติอื่นๆในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครองของประเทศ ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลากว่าห้าสิบปีมีตัวแทนมุสลิมเข้าไปทำหน้าที่ในสภา ในกระทรวง และหน่วยงานองค์กรของรัฐต่างๆมากมายในหลายระดับ แต่ด้วยจำนวนและอำนาจบารมีที่มีน้อยนิด จึงทำให้ตัวแทนทางการเมืองมุสลิมในองค์กรเหล่านี้มีอำนาจการต่อรองน้อยไปหน่อยในแบ่งจัดสรรผลประโยชน์ งบประมาณและโครงการต่างๆที่ดีจากรัฐบาล ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงแค่การทำหน้าที่เพื่อเป็นตัวแทนในการปกป้องสิทธิและเรียกร้องความต้องการต่างๆของมุสลิมในสิงคโปร์ภายใต้ความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญสิงคโปร์ เช่น การทำหน้าที่เรียกร้องจัดตั้งโรงเรียนศาสนา การร่างกฎหมายสำหรับมุสลิม  และการจัดตั้งองค์กรมุสลิม เป็นต้น

Dr. Yaacob Ibrahim นักการเมืองมุสลิมในสิงคโปร์
        
   สำหรับมุสลิมในสิงคโปร์แล้ว พวกเขาก็พอใจในระดับหนึ่งกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประเทศที่อย่างน้อยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและโอกาสกับทุกชนชาติในการเป็นตัวแทนของประชาชนของตนเข้ามาบริหารประเทศและรักษาสิทธิต่างๆของกลุ่มตนเองทั้งสิทธิในด้านสวัสดิการ การศึกษา การประกอบศาสนกิจ การเมืองและเศรษฐกิจ สำหรับในอนาคตนั้นรัฐบาลสิงคโปร์อาจจะเปิดโอกาสด้านการเมืองมากขึ้นอีกนิดหนึ่งให้กับทุกชนชั้นในประเทศเพื่อปรับภาพลักษณ์ของประเทศให้ดูดีขึ้นในสายตาอาเซียนและให้สมกับสภาพสังคมของประเทศที่เป็นเมืองพหุสังคม(3)

พหุสังคมในสิงคโปร์
ติดตามต่อใน โลกมุสลิม ตอนที่ 21
References
(2) http://www.singaporeexpats.com/about-singapore/brief-history.htm. Retrieved on 6th April 6, 2012.
 

0 ความคิดเห็น: