ตอนที่ 14 : ธงปาเลสไตน์ขึ้นโบกสะบัดที่ยูเนสโก

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เป็นที่ทราบกันที่ว่าเมื่อสองเดือนที่แล้วทางองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ  (UNESCO)ได้มีมติยอมรับปาเลสไตน์เข้ามาเป็นสมาชิกขององค์กรเป็นครั้งแรกหลังจากที่ปาเลสไตน์มีสถานะเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์มาตลอดระยะเวลากว่าหลายสิบปี และเมื่อได้เข้ามาเป็นสมาชิกของยูเนสโกอย่างเป็นทางการแล้ว ก็ถึงคิวที่จะต้องเชิญธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นโบกสะบัดหน้าสำนักงานใหญ่ของยูเสนโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเชกเช่นสมาชิกชาติอื่นๆของยูเสนโกนับร้อยประเทศ

สำหรับปาเสลไตน์แล้วงานนี้ถือเป็นเกียรติและถือว่าเป็นชัยชนะอันสวยงามของประเทศที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกยูเนสโกให้เข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการหลังจากพยายามเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิเข้ามาเป็นสมาชิกเป็นระยะเวลายาวนานถึงแม้ว่าจะถูกสมาชิกบ้างประเทศคัดค้านโดยเฉพาะสหรัฐและอิสราเอล โดยในพิธีเชิญธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นที่ สนง.ใหญ่ในครั้งนี้ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาส ของปาเลสไตน์ได้เดินทางมาอันเชิญธงชาติด้วยตัวเอง ท่ามกลางสักขีพยานคนสำคัญๆจำนวนมากของยูเนสโก

 
Bokova ผู้อำนวยการยูเนสโกเป็นเกียรติร่วมในพิธีกับประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาส

หลังจากเชิญธงชาติเสร็จ ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาส ของปาเลสไตน์ได้กล่าวให้สัมภาษณ์ สั้นๆว่า "This is truly a historic moment," and "We hope this will be a good auspice for Palestine to become a member of other organizations"

งานในวันนี้ชั่งเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำจริงๆ และ เราหวังว่า ความสำเร็จของเราในครั้งนี้จะเป็นจุดประกายและเป็นข้อสนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรระดับนานาชาติอื่นๆเพิ่มเติม ”

จากคำให้สัมภาษณ์ของประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาส ตรงนี้หมายถึง ปาเลสไตน์อยากเข้าไปเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาตินั้นเอง ซึ่งปาเลสไตน์ก็ได้ยืนเรื่องไปแล้วเมื่อหลายเดือนก่อนด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มชาติสันนิบาทอาหรับแต่ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับออกมาจากสหประชาชาติแต่อย่างใดในเรื่องนี้

 
ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาส กล่าวให้สัมภาษณ์หลังทำพีธีเชิญธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นที่หน้า สนง.ใหญ่ ยูเนสโก กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13ธันวาคม 2011

จากการรับปาเลสไตน์เข้ามาเป็นสมาชิกของยูเนสโกทำให้สหรัฐซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนรายหลักๆของยูเนสโกประกาศยกเลิกเงินสนับสนุนยูเนสโกโดยทันทีเพื่อเป็นการตอบโต้ยูเนสโกในกรณีนี้ เป็นเงินจำนวนสูงถึง $80 ล้านดอลลาห์สหรัฐ หรือคิดเป็น 22% ของเงินบริจาคทั้งปีที่ยูเนสโกได้รับ(1) พร้อมกับระบุเหตุผลว่า การตัดสินใจยอมรับปาเลสไตน์เป็นสมาชิกของยูเนสโกถือเป็นการทำลายความพยายามของนานาชาติในการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง และมีผลโดยตรงต่อการเจรจาสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลที่สหรัฐสนับสนุนอยู่เข้าอย่างจัง(2)

 
วันที่ 31 ตุลาคม 2011 เป็นวันที่สมาชิกยูเนสโกร่วมกันโหวตยอมรับปาเลสไตน์เข้ามาเป็นสมาชิก

จากการยกเลิกส่งเงินสนับสนุนให้ ยูเนสโก ของสหรัฐในครั้งนี้ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าจะทำให้ยูเนสโกประสบปัญหาเรื่องเงินทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงขั้นอาจจะต้องปรับลงจำนวนโครงการและงานวิจัยบ้างส่วนของยูเนสโกที่กำลังจะทำขึ้นออกไป นอกจากนี้ก็ยังมีนักวิชาการหลายฝ่ายพยายามเสนอให้ยูเนสโกมองหาผู้สนับสนุนรายใหม่ทดแทนสหรัฐเพื่อชดเชยเงินบริจาคที่สูญเสียไปด้วย  แต่แล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่า ยูเนสโกจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องนี้

อ้างอิง :


 (1)Al-jazeera . Palestine flag raised at UNESCO headquarters.Available : http://www. aljazeera.com/news/middleeast.Retrieved on 14th Decamber 2011

  (2) Al-jazeera . Palestine flag raised at UNESCO headquarters. Retrieved on 14th Decamber 2011


ตอนที่ 13 รู้จักมัลดีฟส์ :ชาติมุสลิมที่เล็กที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อัสสาลามูอาลัยกุมครับ การเมืองโลกมุสลิมตอนที่13 นี้ผมอยากนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศมัลดีฟส์ทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ สภาพความเป็นอยู่ ปัญหา และอนาคตของประเทศนี้ ประเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่เราไม่ค่อยจะรู้จักหรือรับรู้ความเป็นไปในด้านอื่นๆมากนัก นอกจากจะรู้จักในนามของแหล่งท่องเที่ยวระดับห้าดาวของโลก
        มัลดีฟส์เป็นประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในกลางมหาสมุทรอินเดีย โดยมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐ มัลดีฟส์ (Republic of Maldives)มีสภาพเป็นหมู่เกาะขนาดเล็กร้อยเรียงกันเป็นแถวราว 1,190 เกาะ(1) บนเนื้อที่ประมาณ 298 km (2)  ประเทศนี้อยู่ทางตอนใต้ของประเทศศรีลังกา เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมากๆ ครับ เล็กถึงขนาดว่าหากคุณไปหยิบแผนที่โลกมาดูแล้วจะอุทานขึ้นว่า โอ้.....นี่มันประเทศหรือนี่ ? .......มีด้วยเหรอ ? ทำไมมันเล็กขนาดนี้ ?

 แผนที่ประเทศมัลดีฟส์
         มัลดีฟส์ นั้นในสมัยก่อนนั้น เป็นที่พักหยุดเรือของนักเดินทาง และนักวานิชค้าขายครับ โดยเฉพาะชาวอาหรับที่มักจะค้าขายกันทางเรือเป็นประจำระหว่าง อาหรับ , เปอร์เซีย กับ อินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง นูซันตารา(อินโดเนเซียปัจจุบัน) มาลากา(มาเลเซียปัจจุบัน)และกรุงศรีอยุธยา  จนทำให้ที่นี่เริ่มเป็นที่รู้จักและมีการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยที่คนรุ่นก่อนที่อาศัยอยู่ที่นี่นั้นเป็นคนที่นับถือศาสนาพุทธครับก่อนที่จะมารับอิสลามในช่วงศตวรรษที่ 12 (3) จากการนำเข้ามาเผยแพร่ของนักวานิชค้าขายจากอาหรับและเปอร์เซีย หลังจากนั้นมัลดีฟส์ก็ตกเป็นของอังกฤษในช่วงยุคล่าอาณานิคมครับ จนต่อมาก็ประกาศเอกราชแยกตัวออกจากอังกฤษเมื่อปี 1965(4).


Mohamed Nasheed ประธานาธิบดี คนปัจจุบันของมัลดีฟส์

ในปัจจุบันเมืองหลวงของมัลดีฟส์ คือ กรุงมาเลครับ(Malé )ที่นี่นั้นเป็นประชากรมุสลิมเกือบ 100% เลยครับ ราวๆ314,000 คน(5) โดยอาชีพหลักของคนที่นี่คือ การทำประมง เนื่องจากมัลดีฟส์มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบรูณ์ และส่วนน้อยที่เหลือก็ทำธุรกิจท่องเที่ยว การค้า และรับราชการ จากจำนวนที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติบนบกที่มีน้อยมากๆ แต่มีประชากรเยอะของมัลดีฟส์ จึงทำให้ประเทศนี้มีปัญหาเยอะมากครับ ทั้งปัญหาคนยากจน คนว่างงาน ไม่มีที่อยู่อาศัย และสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง  ขาดแคลนน้ำจืด เป็นต้น   แต่ด้วยระบบการใช้ชีวิตของคนมัลดีฟส์ที่พอเพียง เรียบง่าย สัมถะ และไม่ยึดติดกับวัตถุ  จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการหาปลาเป็นอาหาร และพอจะมีเหลือไว้ขายเอาเงินไปซื้อของใช้ ของกินอื่นๆมาจุนเจือครอบครัว 

ศูนย์กลางบริหารราชการของรัฐบาลมัลดีฟส์ริมทะเลในกรุงมาเล เมืองหลวงของประเทศมัลดีฟส์
       
  ในด้านการเมืองและการท่องเที่ยวนั้น มัลดีฟส์เป็นประเทศที่มีระบบการเมืองที่มั่นคง ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแบบสันโดษ ไม่ฝักฝ่ายๆใด  และมีผลประโยชน์การค้าการลงทุนกับต่างชาติค้อนข้างน้อย เพราะประเทศตั้งอยู่ในสถานที่ๆห่างไกล ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่นเลย  จึงมักไม่ปรากฏเป็นข่าว หรือเป็นเรื่องเป็นราวมากนักเหมือนประเทศอื่นๆ
ตลาดค้าปลาแบบชาวบ้านๆในมัลดีฟส์

ส่วนทางด้านการท่องเที่ยวนั้นต้องยอมรับครับว่า มัลดีฟส์เป็นประเทศที่ผู้คนทั่วโลกรู้จัก และเป็นประเทศที่มีผู้คนอยากไปเที่ยว ไปผักผ่อนแสวงหาความสุข ความสงบมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะที่นี่มีบรรยากาศสบายๆ ท้องฟ้าสีคราม ทะเลสีฟ้า หาดทรายสีขาว และห่างไกลจากความวุ่นวายต่างๆของโลกมนุษย์   ทำให้ในระยะหลังๆมามัลดีฟส์มีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งในอนาคตรายได้จากการท่องเที่ยวของมัลดีฟส์อาจจะสูงกว่ารายได้จากการทำประมงเสียอีก 

มัสยิด al-Sultan Mohammed Thakurufaanu-al zam, มัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหลวงกรุงมาเล

         ในอนาคตนั้นผมมองว่ามัลดีฟส์คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาคนล้นประเทศ คนตกงาน คนยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัย ถึงแม้มัลดีฟส์จะมีรายได้เสริมเพิ่มมากขึ้นจากธุรกิจการท่องเที่ยวก็ตามที และปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมัลดีฟส์คือ การขาดแคลนน้ำ เพราะที่นี่ส่วนใหญ่เป็นน้ำกร่อยแทบทั้งสิ้น แต่ในด้านของการท่องเที่ยวนั้นคิดว่าคงยังจะมีคนแห่ไปเที่ยวที่นี่เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลมัลดีฟส์มีนโยบาย สนับสนุนธุรกิจภาคการท่องเที่ยวมากขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศต่อไปในอนาคต. 

ด้วยขนาดของเกาะต่างๆของประเทศมีขนาดเล็ก ทำให้ขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศก็ถูกจำกัดลงไปด้วย และยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำจืด ที่อยู่อาศัยตามมาด้วย

Reference;

(1)      http://www.visitmaldives.com/en/the-maldives/location-and-geography. Retrieved on 2nd December 2011.
(2)      http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/5476.htm. Retrieved on 2nd December 2011.
(3)      http://www.iias.nl/iiasn/iiasn5/insouasi/maloney.html. Retrieved on 2nd December 2011.
(4)      http://www.travelchacha.com/maldives-hotels/independence-day.html. Retrieved on 2nd December 2011.
(5)      Ibid, Retrieved on 2nd December 2011. Retrieved on 2nd December 2011.