ตอนที่ 27: อิสลามกับความเป็นอารยธรรมของเอเชีย (2)

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การมาของอารยธรรมอิสลามในดินแดนอื่นๆในขณะนั้นแสดงให้เห็นถึงความเจริญ ความก้าวหน้า ในเรื่องของศิลปวิทยาการต่างๆของโลกมุสลิมในสมัยนั้นที่มีมากกว่าชนอารยธรรมอื่นในทวีปเอเชียได้เป็นอย่างดีและต่างได้รับความนิยมชมชอบ นำไปศึกษา นำไปดัดแปลงประยุกต์ใช้ในอารยธรรมของชนชาติอื่นๆมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา การศึกษา สถาปัตกรรม และศิลปกรรมต่างๆ 
 
  แต่แล้วอารยธรรมอิสลามที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนั้นก็เริ่มอ่อนแอลงและจางหายไปทีละนิดที่ละน้อยตามความอ่อนแอลงของอาณาจักรอิสลามในราชวงศ์ท้าย ร่วมไปถึงความเสื่อมโทรมลงในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมอิสลามของผู้นำและประชาชนในสมัยนั้น โดยเฉพาะการสูญเสียของอารยธรรมอิสลามจากผลของสงครามซึงมักมีสงครามกับ มองโกล เปอร์เซีย และโรม อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะการโจมตีของมองโกลที่ทำให้ศิลปวิทยาการต่างๆของมุสลิมในสมัยนั้นถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เพราะทหารมองโกลได้ทำลายสถานที่อันทรงคุณค่าด้านสถาปัตยากรรมตลอดจนทิ้งตำรามากมายลงในแม่น้ำซึ่งถือเป็นการทำลายองค์ความรู้ที่สั่งสมมานานนับร้อยปีไปอย่างน่าเสียดาย


 จนถึงในปัจจุบันที่กาลเวลาได้ผ่านไปแล้วกว่าหลายร้อยปี  ถึงแม้อารยธรรมอิสลามบางส่วนได้ถูกทำลายไป แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นและมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ  ศาสนา  ภาษา ประเพณี การแต่งกาย การศึกษา และสถาปัตกรรมและศิลปกรรมต่างๆ เป็นต้น เช่นในประเทศแทบเอชียกลางและจีนที่ยังผู้นับถืออิสลามอยู่เป็นจำนวนมาก ร่อยรอยของการแผ่ขยายาอิสลามในยุคก่อนก็ยังคงหลงเหลือให้ศึกษา เช่น วัตุถโบราณ ศาสนสถาน ภาษา และประเพณีการแต่งกาย


        ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วอารยธรรมอิสลามนั้นเป็นอารยธรรมที่สามารถพัฒนาจากอารยธรรมญาฮีลียะห์มาสู่การเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองเจริญก้าวหน้าและสามารถสร้างจุดเด่นให้กับอารยธรรมของตัวเองให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่รับรู้  เป็นที่น่าชื่นชมได้มากกว่าอรรยธรรมของชนชาติอื่นๆที่มักจะอ่อนแอ ถูกปลอยปละละเลย ไปตามกาลเวลา และไม่สามารถยืนยัดอยู่ได้ในสถานการณ์อันเลวร้ายต่างๆที่ผ่านเข้ามา จนในท้ายที่สุดแล้ว ก็มักจะถูกลบล้างไปด้วยการบุกรุกมาถึงของอารยธรรมของชนชาติอื่นๆในที่สุด.




References:
1)  Suhail Hussein.(2001).Diplomacy Annabi Muhammad(s.a.w):Dirasah Muqaranad
          Muhammad(s.a.w).Beirut:Daral Fikri al-Arabi.
2)  M.I.Naved.(2010).Damascus and Baghdad Empires. New Delhi: Anmol Publication Pvt. Ltd
3)  Thomas Arnold.(2001).The Spread of Islam in the World : A history  of Peacful Preaching.
          New Delhi : Goodword Books.
4) อาลี เสือสมิง.(2554). ประวัติศาสตร์อัล-อันดะลุส. กรุงเทพ: ศูนย์หนังสืออิสลาม
5) อับดุเลาะ อุมา.(2550). เอกสารการสอนวิชาหลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม 3,
         สาขาวิชารัฐประศาสนสตร์, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
6) อับดุลลอฮฺ อัลกอรี.(2546).ดลมนรรจน์ บากา แปล,สี่เคาะลีเฟาะฮฺ ผู้ทรงธรรม.กรุงเทพ
         สำนักพิมพ์อิสลามิคอะเคเดมี

ตอนที่ 26: อิสลามกับความเป็นอารยธรรมของเอเชีย (1)

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ทวีปเอเชียของเราถือได้ว่าเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกมีจำนวนประเทศมากที่สุด และมีจำนวนประชากรมากที่สุดของโลกอีกด้วย นับได้ว่าเป็นทวีปที่มหัศจรรย์ และอยู่ในความสนอกสนใจของนักประวัติศาสตร์ ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา นอกจากนี้ยังเป็นบ่อเกิดของอารยธรรมอันหลากหลายของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้าน ศาสนา สังคม ความเชื่อ และประเพณี
         ตามตำรับตำราของนักประวัติศาสตร์หลายๆได้ระบุว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาอันมากมาย โดยเฉพาะในเขตชมพูทวีป แต่ยังมีศาสนาอีกส่วนหนึ่งที่ได้กำเนิดขึ้นมาในแทบตะวันออกกลางซึ่งเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาหลักจากบางศาสนาในแทบชมพูทวีปได้ถือกำเนิดขึ้น  และกลับเป็นศาสนาในแถบตะวันออกกลางที่ได้สร้างอารยธรรมที่เจริญก้าวหน้าอันหลากหลาย มากมาย อยู่ทั่วทุกพื้นที่ของทวีปเอเซีย นั้นคือ ศาสนาอิสลาม


เส้นทางสายไหม(Silk Road)เป็นเส้นทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย
       
       อิสลามนับได้ว่าเป็นศาสนาที่สร้างอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียมากที่สุดที่เราสามารถกล่าวได้อย่างนี้ก็เพราะว่าหากเราย้อนหลังไปพันปีกว่าซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรอิสลามกำลังเฟื้องฟูมีราชวงศ์ต่างๆขึ้นมาปกครองหลายราชวงศ์ ตั้งแต่รับอิสลามแห่งแรกที่นครมาดีนะห์ในสมัยของท่านนบีมูฮำหมัด, สมัยคูลาฟาอฺ-อัรรอซีดูนของคอลีฟะห์ทั้ง 4 , สมัยของการปกครองของราชวงค์อูมัยยะห์ที่ดามัสกัส(ซีเรีย . 661-..750) , ยุคการปกครองของราชวงค์อับบาซียะห์ที่แบกแดด(อีรัก . 750-1258), ยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์แห่งอันดะลุส(สเปน . 712-. 1236) และมาปิดท้ายที่ราชวงศ์อุสมานียะห์(ออตโตมาน)ที่ตุรกีที่เพิ่งล่มสลายไปเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเมืองต่างๆที่ได้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของการปกครองที่ได้กล่าวมานั้นก็ล้วนเป็นจุดศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามไปในตัวโดยอัตโนมัติด้วย


ในภาพคือพิธีการต้อนรับทูตในกรุงดามัสกัสของอาณาจักรอุมัยยะห์แห่งซีเรีย การเผยแพร่ศาสนา อารยธรรม และศิลปะวิทยาการต่างๆของอิสลามได้รับการเผยแพร่ทางการทูตและการค้าที่มีต่อรัฐหรืออาณาจักรอื่นๆในทวีปเอเชีย

จากผลพวงของการปกครองที่หลากหลายบวกกับระยะเวลาการปกครองอันยาวนานหลายร้อยปีของแต่ละราชวงศ์ แน่นอนว่าแต่ละราชวงค์มีเวลามากพอในการสร้างอารยธรรมขึ้นมามากมายในสมัยการปกครองของตัวเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศาสนา สังคม ระบบการปกครอง ภาษา การศึกษา การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ งานแปลตำรำ วรรณกรรม ตรรกวิทยา ดาราศาสตร์ เป็นต้น โดนเฉพาะด้านสถาปัตกรรม วิศวะกรรมศาสตร์และศิลปกรรมต่างๆที่เห็นว่าหน้าจะเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเด่นที่สุดในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายของโลกในยุคนั้นซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้ โดยที่อารยธรรมดังกล่าวได้แทรกซึมและเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆของทวีปเอเชียทั้งในแถบชมพูทวีป(เอเชียใต้) จีน เอเชียกลาง  มองโกล และอาเซียน อย่างรวดเร็วตามพัฒนาการติดต่อทางการทูตระหว่างรัฐ ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า และการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะการเผยแพร่ตามเส้นทางสายไหม(Silk Road) ที่ถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยมีเส้นทางพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้แพร่ขยายผ่านทางการบุกเบิกแผ่ขยายอาณาจักรและการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนอื่นๆของชาวอาหรับอีกด้วย

 
ร่องรอยอารยธรรมอิสลามที่ยังหลงเหลือให้เห็นใน จีน และ เอเชียกลาง

References:
1)  Suhail Hussein.(2001).Diplomacy Annabi Muhammad(s.a.w):Dirasah Muqaranad
          Muhammad(s.a.w).Beirut:Daral Fikri al-Arabi.
2)  M.I.Naved.(2010).Damascus and Baghdad Empires. New Delhi: Anmol Publication Pvt. Ltd
3)  Thomas Arnold.(2001).The Spread of Islam in the World : A history  of Peaceful Preaching.
          New Delhi : Goodword Books.
4) อาลี เสือสมิง.(2554). ประวัติศาสตร์อัล-อันดะลุส. กรุงเทพ: ศูนย์หนังสืออิสลาม
5) อับดุเลาะ อุมา.(2550). เอกสารการสอนวิชาหลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม 3,
         สาขาวิชารัฐประศาสนสตร์, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
6) อับดุลลอฮฺ อัลกอรี.(2546).ดลมนรรจน์ บากา แปล,สี่เคาะลีเฟาะฮฺ ผู้ทรงธรรม.กรุงเทพ
         สำนักพิมพ์อิสลามิคอะเคเดมี
        

ตอนที่ 25 มุสลิมโรฮิงยา : Are we world population ? ตอนจบ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



บทวิเคราะห์(ต่อ)
2) แนวโน้มสถานการณ์ในระยะสั้น
ในระยะสั้นโดยเฉพาะช่วงหนึ่งเดือนหลังจากนี้ผมมองว่าสถานการณ์ในรัฐยะใข่ของพม่านั้นน่าจะคลี่คลายลงไปและอาจจะคลี่คลายลงไปจนถึงขั้นสถานการณ์ปกติหากทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ออกมาประท้วงและทหารรัฐบาลพม่าไม่ออกมาใช้กำลังตอบโต้กันไปมาอย่างที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ถึงกระนั้นการคลี่คลายลงไปของสถานการณ์ก็ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าจะจะยุติลงไปอย่างถาวร เพราะต้นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับมุสลิมโรฮิงยายังคงอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือขจัดไปให้หมดสิ้น เสมือนหนึ่งเป็นถ่านไฟเก่าที่พร้อมจะระอุขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่ฉนวนแห่งความขัดแย้ง (Factors to Conflict) ระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าที่ผมหมายถึงคือ
                1) กฎหมายด้านสิทธิและเชื้อชาติของพม่ายังไม่ได้รับการแก้ไข
2) ความมีอัคติและไม่ยอมรับต่อความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ของชาวพม่าและรัฐบาลทหารพม่า
                3) การรังแก กดขี่ และริบทรัพย์สินของทหารพม่ายังมีอยู่

3) อนาคตของโรฮิงยา
อนาคตของชาวโรฮิงยานั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์กันได้ยากมากครับว่าพวกเขาจะมีชะตากรรมเช่นไร ทั้งนี้เพราะเรายังไม่เห็นถึงความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวของสหประชาชาติและตัวของรัฐบาลพม่าเองที่แทบจะไม่อยากแก้ไขปัญหาและไม่ยากรับชาวโรฮิงยาเป็นประชากรของตนเองด้วยซ้ำไป ในปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงยานั้นทำได้แค่เพียงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม(Humanitarian Mechanisms) ตามกฎของสหประชาชาติ โดยมี บังคลาเทศ ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน รับบทหนักช่วยดูแลผู้ลี้ภัย เช่นในแหล่งพักพิงชั่วคราว อาหาร ยารักษาโรค และปัจจัยดำรงชีพอื่นๆที่จำเป็นทั้งๆที่สี่ประเทศนี้ก็ไม่ค่อยจะเต็มใจมากนักเพราะเต็มไปด้วยภาระมากมายตามมา


ในมุมมองของผมเองผมมองว่าอนาคตของชาวโรฮิงยาอาจเป็นไปได้ 3กรณี ดังนี้ครับ
1)          ขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศที่สามตามกฎของสหประชาชาติ เพราะไม่ยากกลับไปเพชิญกับปัญหาและความโหดร้ายในรัฐยะไข่อีก(แต่ขึ้นอยู่กับประเทศที่สามด้วยว่าจะรับหรือไม่)
2)          เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขกฎหมายด้านเชื้อชาติของพม่าส่งผลให้ชาวโรฮิงยามีสิทธิสมบรูณ์ด้านความเป็นผลเมืองพม่าเช่นชนเผ่าอื่นๆ เช่น ความพยายามขึ้นมามีอำนาจของ นาง ออง ซาน ซูจี
3)       และในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ อนาคตของพวกเขายังคงเหมือนเดิมเนื่องจากทหารพม่ายังคงมี
อำนาจสูงในรัฐบาลถึงแม้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองบ้างเพื่อปรับโฉมภาพลักษณ์ของพม่าด้านความเป็นประชาธิปไตยต่อสายตาชาติตะวันตก


References
1)            Abdul Ghapur Hamid 2011.Public International Law : A practical approach .3ed.Malaysia:Thomson Reuters Malaysia.pp.299-300.



ตอนที่ 24 มุสลิมโรฮิงยา : Are we world population ? ตอน1

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ก่อนอื่นต้องขอมาอัฟด้วยครับที่ผมไม่ได้วิเคราะห์ข่าวและโพสต์ลงในบล็อกเลยเป็นเวลาร่วมๆเดือนเศษเนื่องด้วยติดสอบปลายภาคและสอบประมวลก่อนจบครับ เลยต้องเอาเวลาไปอ่านหนังสือเสียหมด ไม่มีเวลามาอ่านข่าวเลย  กลับมาในตอนที่ 25 นี้ผมขอนับเสนอบทวิเคราะห์เรื่องปัญหาการจลาจลและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมโรฮิงยาในรัฐอาระกัน ของสหภาพพม่าหรือที่บ้านเรารู้จักกันดีในนามรัฐยะใข่ ซึ่งเป็นประเด็นร้อนมาร่วมสัปดาห์แล้ว ครั้งนี้ผมจะวิเคราะห์ในเรื่องนี้โดยจะนำหลักกฎหมายสากล(International Law) มาอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบและเข้าในเรื่องของการคุมครองสิทธิมนุษย์ชนของสหประชาชาติ (The United Nation) และอีกอย่างเราจะได้ทราบด้วยว่าการกระทำอย่างโหดร้ายทารุนของทหารรัฐบาลพม่านั้นได้เลยเถิด ฝ่าฝืน และคุกคามต่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปมากเท่าไรแล้ว

ประวัติความเป็นมาของโรฮิงยาในพม่า

จริงๆแล้วโรฮิงยาเป็นชนเผ่าของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณเอเชียใต้(บริเวณ บังคลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา)ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษาเบงฆอลีเป็นภาษาพูด ส่วนรูปร่างหน้าตา ขนมธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมการแต่งกายก็ไม่ต่างไปจากภาพร่วมของลักษณะคนในบริเวณเอเชียใต้คือ ผิวคล้ำ หน้าตาเค้ม  ใส่ผ้าโสร่ง ทำอาชีพประมงและการเกษตรเป็นหลัก ชาวโรฮิงยาอพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณรัฐยะใข่ของพม่ามานานแล้วครับ ประมาณศตวรรษที่เจ็ด แต่ด้วยหลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ  ทำให้พม่ามีแนวคิดสร้างชาติโดยนับชนเผ่าต่างๆมากกว่าร้อยชนเผ่าเข้ามาเป็นชนชาติพม่าซึ่งมีวัฒนธรรม ความเชื่อ เชื่อชาติ คล้ายๆกัน แต่ไม่ต้องการร่วมเอากลุ่มโรฮิงยาเข้ามาร่วมด้วยเนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งทางลักษณะกายภาพ หน้าตา วัฒนธรรม ความเชื่อ และเชื่อชาติ  

 
 รัฐอาระกันหรือรัฐยะใข่ในความรู้จักของคนไทย
ตามกฎหมายสิทธิความเป็นชนชาติพม่า(Burma Citizenship Law 1982) นั้นชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสถานภาพความเป็นชากรแห่งชาติพม่าเลย แถมยังถูกกฎหมายเอาเปรียบและกีดกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งกีดกันในเรื่องของการแต่งงาน การรับสิทธิคุ้มรัฐสวัสดิการครองจากทางการ สิทธิในที่ดิน ที่อยู่อาศัย และยิ่งนับวันชีวิตความเป็นอยู่ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปเพราะชาวโรฮิงยาถูกต้อนไล่ที่ บีบบังคับเอาทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกาย กดขี่ข่มเหง เข่นฆ่าโดยไม่มีเหตุผล เสมือนหนึ่งเป็นประชากรที่ไม่เป็นที่ต้องการของสหภาพพม่าแล้ว ทำให้ชาวโรฮิงยาอพยพออกนอกประเทศไปเป็นจำนวนมาก

สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพปัญหา
การอพยพของชาวโรฮิงยานั้นมีมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ทั้งอพยพไปปากีสถาน ไทย มาเลเซีย และโดยเฉพาะบังคลาเทศที่มีจำนวนนับแสนคน ซึ่งสุดท้ายนำไปสู้ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการผลักดันกลับประเทศของชาวโรฮิงยา เพราะการอพยพไปอยู่ในประเทศที่สองและที่สามนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่นทำให้บังคลาเทศต้องรับแบกรับความรับผิดชอบอย่างหนักต่อผู้ลี้ภัยทั้งๆที่ตนเองก็เป็นรัฐบาลยากจนและมีประชากรมากอยู่แล้ว ทำให้บังคลาเทศมีปัญหาความขัดแย้งกับพม่าบ่อยครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับไทย ปากีสถาน และมาเลเซียที่ต้องแบกรับภาระกับผู้ลี้ภัยนับหมื่นตามคำขอร้องจากสหประชาชาติ ทั้งๆที่ไทย ปากีสถาน และมาเลเซียต่างก็ประสบปัญหาในการจัดการดูแลผู้ลี้ภัยจนรับต่อไปไม่ไหวแล้วซึ่งเป็นผลพวงของการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ตอนนี้ผู้ลี้ภัยไม่ยอมกลับไปพม่าเพราะกลัวชะตากรรมอันโหดร้ายของรัฐบาลทหารพม่าทั้งๆที่ชาติรับผู้ลี้ภัยไม่ต้องการรับภาระดูแลพวกเขาอีกต่อไปแล้ว ทำให้พวกเขาไม่มีที่ให้ไป ไร้ซึ่งอนาคต และอีกอย่างสหประชาชาติเองยังไม่มีทางออกในระยะยาวที่ชัดเจนในการดูแลและบริหารจัดการกับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยามุสลิมผู้เป็นเหยื่อของรัฐบาลทหารพม่าในครั้งนี้
การอพยพออกนอกประเทศเพื่อหนีความกดขี่จากรัฐบาลยังคงมีอยู่เรื่อยๆ

สถานการณ์ในรัฐยะใข่ยังคงน่าเป็นห่วง

บทวิเคราะห์
1)               กฎหมายระหว่างประเทศเอาผิดรัฐบาลพม่าไม่ได้หรือ?
กฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีระบุไว้อย่างชัดเจนในหลายมาตราเกี่ยวกับการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า เป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายสากลและผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมายด้านสิทธิมนุษย์ชน(International Human Right Law) ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 1,55,56 ว่า สหประชาชาติมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องสิทธิเสรีภาพ  ศักดิ์ศรี ความเสมอภาค ภาษา ศาสนา เพศ และเผ่าพันธุ์ของมวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้ และยังมีระบุเพิ่มเติมในปฏิญญาของสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายด้านสิทธิมนุษย์ชน(the General Assembly of the Universal Declaration of Human Right) ฉบับปี 1948 ด้วยว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้มีสิทธิเสรีภาพใน 2 สิทธิใหญ่ๆคือ 1) สิทธิเสรีภาพในด้านการแสดงออกและการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 2)สิทธิเสรีภาพในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(1) จะเห็นได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีระบุไว้อย่างรัดกุมเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม แต่การปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุนต่อมุสลิมโรฮิงยาในรัฐอาระกันของพม่านั้นกลับฝ่าฝืนกฎหมายสากลอย่างสิ้นเชิงและรุนแรง เพราะทหารพม่าเองได้ทำการกดขี่ข่มแหง รังแก ลิดรอนสิทธิในทุกๆด้านของมุสลิมโรฮิงยาเสมือนหนึ่งไม่ใช้ประชาชนของตัวเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แถมยังฆ่า หลักพาตัว ทำร่ายร่างกาย ดูหมิ่นศักดิ์ศรี หวังจะชะล้างความเป็นชนเผ่าโรฮิงยาในพม่าให้หมดสิ้น โดยเฉพาะในการเกิดจลาจลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่มีผู้ประท้วงบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และยังขาดความเลียวแล ไม่มีการช่วยเหลือหรือให้การรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บแต่ประการใดเลย 

 
  เครือข่ายมุสลิมโรฮิงยาในหลายประเทศออกมาประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม
การกระทำเช่นนี้ของรัฐบาลพม่าเข้าค่ายความผิดตามกฎหมายสากลแน่นอนครับ แต่กระบวนการเอาผิดรัฐบาลพม่าก็ไม่ใช้ง่าย เพราะแม้กระทั้งคณะผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติชาชาติ (The UN Observers) และองค์กรกาชาติสากล(The International Red Cross) เองก็ยังเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อเก็บหลักฐานและช่วยเหลือผู้บาเจ็บและแจกจ่ายอาหารยังทำได้ลำบากเลย เพราะถูกรัฐบาลทหารพม่ากีดกัน(2) อีกทั้งปัญหาสำคัญคือ กฎหมายระหว่างประเทศเองก็ไม่มีเครื่องมือ(Mechanisms)ที่มีประสิทธิภาพที่จะนำคนผิดมาลงโทษได้ในทุกกรณีและในทุกประเทศได้อย่างทันท่วงที ทำให้บางประเทศทำตัวแข่งข้อไม่ยอมทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ และหนึ่งในนั้นก็คือรัฐบาลทหารพม่านั้นเองที่ยังพยายามปิดประเทศ(ในบางเรื่อง)ไม่ยอมให้ใครเข้ามาแทรกแซงความมั่นคงของรัฐบาลทหารได้ ตอนนี้สหประชาชาติ ประเทศต่างๆ ร่วมถึงองค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไปทำได้แค่ออกมาประณามและเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมโรฮิงยาเท่านั้น แต่หากไม่เป็นผลก็คงต้องหามาตรการอื่นๆกดดันและเอาผิดต่อไป

ติดตามต่อในตอนที่ 25 สัปดาห์หน้า

References

ตอนที่ 23: จอร์แดน-การเมืองยังไม่นิ่ง...เมื่อนายกฯลาออก 3 คนในรอบ2 ปี

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อวานนี้ 26 เมษายน 2555 นายกรัฐมนตรี Al-Khasawneh ของจอร์แดนประกาศลาออกจากตำแหน่งแบบฟ้าผ่าในระหว่างไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ การลาออกของ Al-Khasawneh ถือเป็นการลาออกของนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของจอร์แดนในรอบสองปีนับตั้งแต่เกิดการประท้วง (Arab Uprising) ในดินแดนอาหรับในปี 2011 ซึ่งถือเป็นการลาออกที่ถี่จนผิดปกติและแสดงให้เราได้เห็นว่าการเมืองภายในของจอร์แดนยังไม่นิ่ง...


การเมืองภายในของจอร์แดนนั้นต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการประท้วง(Arab Uprising)ของประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน เพราะจอร์แดนเป็นหนึ่งในชาติอาหรับที่มีระบบการปกครองแบบ المَمْلَكَة   หรือ การปกครองโดยมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐนั้นเอง ซึ่งมักจะถูกจับตามองจากคนภายนอกว่าผู้นำจอร์แดนทำการบริหารประเทศโดยปิดกั้นสิทธิเสรีภาพเหมือนกัดดาฟี่ของลิเบีย,มูบาร็อกของอียิปต์,บินอาลีของตูนีเซีย, และอัลอัสสาดของซีเรีย ด้วยหรือไม่?
แผนที่ประเทศจอร์แดนครับเพื่อบางท่านยังไม่รู้จัก ประเทศนี้สำคัญมากครับในทางรัฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ เพราะถือเป็น Buffer State หรือ รัฐกันชนระหว่างรัฐอิสราเองกับกับกลุ่มชาติอาหรับอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง
 ด้วยเพราะเหตุนี้หลายประเทศอาหรับที่มีการปกครองแบบ  المَمْلَكَةอย่างโมร็อคโค,ซาอุดิอาราเบีย,รวมทั้งจอร์แดนจึงได้ทยอยประกาศปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มสิทธิเสรีภาพในบางกรณีให้กับประชาชนของตนทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ใช้ประชาชนของตนออกมาประท้วง โดยที่จอร์แดนนั้นทางรัฐบาลและกษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 รับปากว่าจะเพิ่มสิทธิทางการเมืองให้กับประชาชนได้มีส่วนรวมมากขึ้นและจะมีการปฏิรูปการเมืองด้วย และนั้นเป็นถือสัญญาณที่ดีและเป็นการปรับแก้ไขปัญหาในระยะสั้นได้ดีมากของจอร์แดน เพราะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในจอร์แดนเลยในช่วงที่ประเทศอื่นๆอย่างเยเมน, ซีเรีย, อียิปต์, และลิเบีย ยังคงจมปลักอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ


นายกรัฐมนตรี Khasawneh ประกาศลาออกคณะเยือนตุรกี
แต่ถึงกระนั้นสำหรับจอร์แดนแล้ว การให้คำสัญญาอะไรไว้กับประชาชนถือเป็นสิ่งที่ต้องทำตามคำสัญญา โดยในส่วนของการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นคงไม่ใช่เรื่องใหญ่มากนัก แต่ที่เป็นเรื่องใหญ่คือ การปฏิรูปการเมือง! แน่นอนการปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องใหญ่สำหรับจอร์แดนและทุกชาติที่มีการปกครองแบบกษัตริย์ เพราะการปฏิรูปอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจของกษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การลดฐานะหรืออำนาจหน้าที่ของผู้นำหรือรัฐบาล การเปลี่ยนขั้วการเมือง การเปลี่ยนแปลงของรัฐสภา และอาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเลยก็ว่าได้
ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2011 การปฏิรูปการเมืองในจอร์แดนยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีบ่อยถึงสามครั้ง 3โดยครั้งล่าสุดคือ การลาออกของ Al-Khasawneh ซึ่งเพิ่งจะอยู่ในตำแหน่งนายกเพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น (1)
การลาออกของเขานั้น ทางด้านของ ศ.อัดนาน อัลฮาญาดนะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาซีมี่ (Hashemite University) ในกรุงอัมมาน ได้วิเคราะห์ว่า อาจเกิดจากการที่แนวคิดการปฏิรูปการเมืองของนายกรัฐมนตรี Khasawneh และของกษัตริย์ อับดุลลอฮฺ นั้นไม่ตรงกันและตกลงกันไม่ได้สุดท้ายจึงอาจนำมาซึ่งการตัดสินใจลาออกของ Khasawneh เมื่อวานนี้ ทั้งนี้สำหรับกษัตริย์อับดุลลอฮฺแล้ว การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะพระองค์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนหลายครั้งว่าจะพยายามปฏิรูปการเมืองของจอร์แดนให้ดีขึ้นเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้เข้ามามาส่วนร่วม อีกทั้งยังประกาศอีกว่าจอร์แดนพร้อมที่ก้าวไปสู่การปฏิรูปการเมืองด้วยการจัดการเลือกตั้งก่อนปลายปีนี้อีกด้วย(2)

กษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 แห่งราชอานาจักรจอร์แดน
การยืนใบลาออกของ Khasawneh ในครั้งได้รับการการอนุมัติจากกษัตริย์อับดุลลอฮฺด้วยดีและพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งนาย Fayez al-Tarawneh(ฟาเยส อัล ตาเรานี่)เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดนแล้ว ซึ่งทั้งกษัตริย์อับดุลลอฮฺ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการปฏิรูปการเมืองภายในของจอร์แดนในครั้งนี้ไปให้ได้ ตลอดจนต้องจัดการเลือกตั้งให้ทันก่อนปลายปีนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก่อหน้านี้ ซึ่งถือได้ว่า “เป็นคำมั่นสัญญาซื้อเวลาของรัฐบาลจอร์แดนในการปฏิรูปตนเองก่อนที่ประชาชนจะถือโอกาสปฏิรูปเสียเอง”

ฟาเยส อัล ตาเรานี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดน(คนที่4 ในรอบ 2 ปี)

References
(1)AL-Jazeera. Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeera.com /news/ middlee ast/2012/04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).
(2)Ibid., Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeer a.com/news/middleeast /2012 /04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).