ตอนที่ 22: กีนีบิสเซา: ขนาดได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก แต่กองทัพยังสนุกกับการปฏิวัติ !!!

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

หลายสัปดาห์ก่อนผมเคยเสนอบทความเกี่ยวกับการก่อกบฏในประเทศมาลี มาสัปดาห์นี้ขอนำเสนอบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ร้อนๆในดินแดนร้อนๆอย่าง กีนีบิสเซาครับ ที่ตอนนี้มีเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารอีกแล้วซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งที่เท่าไรแล้ว เพราะเกิดถี่มากนับตั้งแต่กีนีบิสเซาได้รับเอกราชจากโปรตุเกสในปี 1974 เหตุผลง่ายๆของการปฏิวัติในทุกๆครั้งคือ ความขัดแย้งกันเองในหมู่กองทัพ และการแสวงหาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ ทั้งๆที่ประเทศของตนเองได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก....
กีนีบิสเซาแต่เดิมก่อนการประกาศเอกราชนั้นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพวกAnimism  หมายถึงคนที่ไม่มีศาสนาครับ เป็นพวกที่นับถือภูทผีปีศาจหรือบูชาธรรมชาติ แต่หลังยุคศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาชาวกีนีบิสเซาส่วนมากหันมารับนับถือศาสนาอิสลามกันมากขึ้นจนปัจจุบันกีนีบิสเซามีประชากรเป็นมุสลิมมากที่สุดคือประมาณ 35% ของประเทศ ตามมาด้วยคริสต์ 10%  และส่วนที่เหลืออีก 55% ไม่มีศาสนาและยังคงนับถือภูทผีปีศาจตามประเพณีดั่งเดิม(1)หรือที่เรียกกันว่า Indigenous.
กีนีบิสเซาจะว่าไปก็โชคดีกว่าประเทศอื่นๆในแอฟริกามากครับเพราะติดทะเล ดินก็อุดมสมบูรณ์ ประชากรก็ไม่มาก แต่ติดที่คนใหญ่คนโตและกองทัพเกี่ยงกันเองเท่านั้น
การเมืองของกีนีบิสเซานั้นนับได้ว่าไม่มีเสถียรภาพเลยนับตั้งแต่การประกาศเอกราชจากโปรตุเกสในปี 1974 มากว่า 29 ปีแล้ว เพราะมีความขัดแย้งกันอย่างหนักระหว่างกองทัพด้วยกันเองที่แก่งแย้งอยากขึ้นมามีอำนาจในรัฐบาลแทนที่จะเป็นภาคพลเรือนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศด้วยวิธีการเลือกตั้งที่สุจริต ด้วยเพราะเหตุนี้จึงไม่แปลกว่าประเทศนี้มีการปกครองด้วยรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนานนับทั้งแต่ปี1974 มาแล้วโดยไม่เคยมีผู้นำจากภาคผลเรือนแม้แต่คนเดียวเลย ทั้งหมดเป็นผู้นำที่มาจากกองทัพและเข้ามาบริหารประเทศด้วยการเลือกตั้งที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลทหารมาตลอด ถึงกระนั้นผู้นำแต่ละคนก็ไม่เคยอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีจนครบวาระ  เพราะทุกคนหากไม่ถูกปฏิวัติก็ถูกลอบสังหารไปเสียก่อน ตามข้อมูลที่ผมได้มาปรากฏว่าประเทศนี้มีการปฏิวัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ครั้งในรอบ 29 ปี (เฉลี่ย 3 ปีครึ่งต่อครั้ง) คือ ในปี 1983, 1984 1993,1998(ลุกลามจนเป็นสงครามกลางเมือง), 2003, 2009(ลอบสังหารผู้นำ)และล่าสุด2011(ปฏิวัติคณะผู้นำกำลังเยือนฝรั่งเศส).(2)
ขนาดได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก แต่กองทัพยังสนุกกับการปฏิวัติ แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไร?
 ปัญหาของการปฏิวัติของทหารในครั้งนี้คือ รัฐบาลทหารที่ปฏิวัติพยายามยืดเยื้อเวลาการครองอำนาจ(การเป็นรัฐบาลชั่วคราวออกไป)ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งในอีก ปี 2 ข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานผิดปกติ ประชาชนจะเป็นผู้เสียประโยชน์ และประเทศจะหยุดการพัฒนา ทำให้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ซึ่งกีนีบิสเซาเป็นสมาชิกอยู่ไม่สบายใจและพยายามเรียกร้องให้คณะปฏิวัติคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด แต่เสียงเรียกร้องไม่มีผลมากนักเพราะคณะปฏิวัติอ้างว่าการจัดการเลือกตั้งต้องใช้เวลาและต้องพยายามเจรจากับกลุ่มการเมืองให้เสร็จสิ้นก่อนถึงจะจัดการเลือกตั้งได้
โฆษกของคณะปฏิวัติออกมาชี้แจงขอเวลาในการทำงานและจัดการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า
          การออกมาตอบโต้ปฏิเสธของคณะปฏิวัติทำให้ในคณะนี้ทางธนาคารโลก สหประชาชาติ และกลุ่มสหภาพแอฟริกา (African Union) ซึ่งถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดบนแผ่นดินแอฟริกาได้เริ่มส่งคำเตือนไปยังคณะปฏิวัติให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็วแล้ว มิฉะนั้นจะหามาตรการมาแทรกแซงหรือคว่ำบาตรต่อไป(3)(4).
คงไม่ใช่เรื่องสนุกหากประเทศไร้ซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง
References:
3. http://www.nytimes.com/2012/04/18/world/africa/guinea-bissau-is-suspended-by-african-union.html.
    Retrieved on 20th April 2012.

0 ความคิดเห็น: