ตอนที่ 8 สันนิบาตอาหรับเตรียมส่งเรื่องให้ UN พิจารณาปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้เป็นรัฐอิสระ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มประเทศสันนิบาตอาหรับประกาศจะสนับสนุนปาเลสไตน์ให้เป็นอิสระจากการปกครองของอิสราเอล หากแต่มีความพยายามที่จะดำเนินการมานานแล้วนับสิบๆปี ตั้งแต่สมัยสงคราม 6 วันระหว่างอิสราเอล - ชาติอาหรับ ทั้งการพยายามช่วยเหลือทางการฑูต การเจรจาสันติภาพ การเจรจาหยุดยิง และการให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆอีกมากมาย แต่แล้วก็ไม่เคยประสบความสำเร็จแม้แต่ครั้งเดียว ปาเลสไตน์ยังมีสถานะ “รัฐที่ไม่มีตัวตน”ในสายตาชาวโลก เพราะไม่มีประเทศใดกล้ารับรองสถานะของปาเลสไตน์ แม้แต่ สหประชาชาติเอง

ล่าสุดทางสันนิบาตชาติอาหรับโดยนาย ฮาหมัด บิน ยัสซิม อัลซานี ประธานคณะกรรมการติดตามการยื่นเรื่องขอรับรองสถานะของรัฐปาเลสไตน์ กล่าวว่า ทางสมาชิกสันนิบาตอาหรับอาจจะมีข้อตกลงและข้อสรุปในไม่ช้านี้ในการส่งเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาประกาศรับรองสถานะภาพการเป็น “รัฐอิสระ”ให้กับปาเลสไตน์ และหลังจากนั้นคงจะเป็นหน้าที่ของสหประชาชาติในการพิจารณาเรื่องนี้ โดยจะมีการยื่นเรื่องไปยังสหประชาชาติในวันที่ 23 กันยายน 2554 นี้

การตัดสินใจส่งเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาในครั้งนี้กำลังจะมีขึ้นทั้งที่ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีของสหรัฐได้ออกมากล่าวในเชิงสัญญาณเตือนว่าจะไม่ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้และการร้องขอในครั้งนี้จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ระบุไว้ เพราะสหรัฐมองว่าการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ ต้องมาจากการเจรจาสันติภาพ และการยอมรับซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายอิสราเอลและปาเลสไตน์เท่านั้น ซึงสหรัฐสนับสนุนแนวทางนี้มาโดยตลอด แต่ทางสันนิบาตอาหรับเองก็ไม่ได้ติดใจหรือกลัวในสัญญาณเตือนเหล่านี้และเตรียมจะส่งเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาให้จงได้
นายบัน คี มูน ให้สัมพาทษ์พิเศษกับผู้สื่อข่าว Al-jazira กรณีการขอยืนเรื่องรับรองสถานะภาพของปาเลสไตน์ที่กรุงนิวยอรก์ สหรัฐอเมริกาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ในมุมมองของผมแล้วการส่งเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาในครั้งนี้นั้นถึงแม้ว่าทางเลขาธิการ UN  นาย บัน คี มูน จะออกมากล่าวว่าเป็นเรื่อง “ที่สามารถรับพิจารณาได้” แต่ตนเองก็ยังอยากเห็นการเจรจาของทั้งสองฝ่ายควบคู่กันไปด้วย(ปาเลสไตน์กับอิสราเอล) แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงเป็นไปได้ยากมากๆในทางปฏิบัติเพราะสมาชิกถาวรทั้งห้า(กลุ่มประเทศวีโต้)ของสหประชาชาติที่มีสหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน คงใช้สิทธิคัดค้านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะ สหรัฐ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งถือว่ามีนโยบายให้ความสำคัญไปทางอิสราเอลอยู่แล้ว
สาเหตุหลักๆที่ผมมองว่าการส่งเรื่องให้ UN  พิจารณาในครั้งอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกับครั้งที่แล้วๆมามี 3 ข้อหลักๆดังต่อไปนี้ครับ
1.ถูกคัดค้านจากกลุ่มวิโต้
กลุ่มวิโต้ถือเป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติที่มีอำนาจยับยั้งการโหวต หรือ การลงมติใดๆของสหประชาชาติได้ ถ้าหากตนเองไม่เห็นด้วยกับมตินั้นๆ ยิ่งมีสหรัฐ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งแอนเอียงไปทางอิสราเองอยู่แล้ว เป็นสามในห้าของกลุ่มวิโต้ ก็คงจะใช้สิทธิคัดค้านอย่างแน่นอนแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆ ในส่วนของจีนและรัสเซีย นั้นอาจจะมีประเทศใดประเทศหนึ่งลงมติรับรองก็ได้เพราะมีผลประโยชน์และความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโลกมุสลิมบางประเทศ แต่ก็คงเป็นเสียงที่ฟังไม่ขึ้นหากอีกสามประเทศที่เหลือใช้สิทธิคัดค้านกันหมด การรับรองสถานะให้ปาเลสไตน์ก็คงตกลงไปอีกครั้งเช่นเคย
สหรัฐ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ บนเก้าอี้วีโต้ที่เป็นเสมือน(ผู้นำและเลขาธิการ)ตัวแท้จริงของสหประชาชาติที่มีอำนาจยับยั้งการลงมติใดๆได้
2. สหประชาชาติไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริง

หลายกรณี หลายข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในโลกเราจะเห็นได้ว่า สหประชาชาติไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาดที่แท้จริงเสมอไป อย่างกรณีที่ลิเบียก็ไม่ใช่สหประชาชาติที่เป็นกำลังหลักเข้าไปดูแลแต่กลับมอบหมายให้ นาโต้ นำกำลังเข้าไปจัดการแทน เช่นเดียวกันกับกรณีปาเลสไตน์ที่สหประชาชาติพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงและตั้งใจแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแต่กลับมอบหมายให้สหรัฐเข้ามาแสดงบทบาทเป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลมาโดยตลอดตั้งแต่สมัย นายบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
3.สหรัฐและอิสราเอลต้องการยืดเวลาการรับรองสถานะของปาเลสไตน์ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีเดียวที่จะทำให้การรับรองปาเลสไตน์ยืดเยื้อออกไปให้นานที่สุดคือ “การใช้การเจรจานั้นเอง” สหรัฐตั้งกฎว่า การรับรองปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นไม่ได้หากการเจรจากันทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อสรุป ยังไม่เรียบร้อย และยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย และแน่นอนการเจรจาเพื่อที่จะให้เกิดการยอมรับนั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเพราะอิสราเอลและปาเลสไตน์มีข้อแตกต่างหลายอย่างที่ตกลงกันไม่ได้  อีกทั้งอิสราเอลเองก็หวังจะให้การเจรจายืดเยื้ออยู่แล้วจึงพยายามสร้างเรื่อง สร้างเหตุการณ์ เพื่อให้การเจรจาล้ม และนำไปสู้วัฏจักรของการเจรจารอบใหม่อีกครั้ง ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเจรจาปาเลสไตน์-อิสราเอลจึงล้มบ่อยมาก และมีการเจรจาซ้ำๆในเรื่องเดิมๆที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้มานานกว่าสิบๆปีแล้ว
การเกิดวัฏจักรของการเจรจาที่ไม่มีวันหยุดอย่างนี้ ก็ไม่มีทางที่จะทำให้มีการยอมรับระหว่างกัน และนำไปสู่การประกาศรับรองสถานะของปาเลสไตน์ได้ในเร็ววันอย่างแน่นอน
  การพบปะกันเพื่อเจรจาสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลที่สหรัฐโดยมี บารัค โอบามาเป็นตัวกลางในการเจรจา ดังที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนก่อนๆได้ทำมาแล้วครั้งยังดำรงตำแหน่ง
ข้อสังเกต : ปาเลสไตน์ไม่เคยได้เปรียบจากการเจรจาสองฝ่ายเลย
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐปาเลสไตน์กับอิสราเอลนั้นมีขึ้นมาแล้วหลายครั้งในรอบหลายสิบปีโดยเฉพาะในช่วงภายใต้การนำของประธานาธิบดียัสเซอร์ อาราฟัต ของปาเลสไตน์กับนายกรัฐมนตรีชิมอน เปเรส และเบนจามิน แนทันยาฮู ของอิสราเอลที่มีการเจรจากันบ่อยมาก แต่ผลการเจรจากลับเป็นอิสราเอลที่มักจะได้เปรียบปาเลสไตน์มาตลอด ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมียักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐและอังกฤษให้การสนับสนุนมาตลอดเป็นอย่างดี ผิดกับกลุ่มสันนิบาตชาติอาหรับที่มีสมาชิกหลายประเทศไม่กล้าแสดงออกอย่างชัดเจนในการสนับสนุนปาเลสไตน์เพราะเกรงว่าตนเองจะเดือดร้อนในอนาคตเนื่องจากกำลังเดินนโยบายเป็นปฏิปักษ์ต่อมหาอำนาจโลก
การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์มีมานานเป็นสิบๆปีแล้วตั้งแต่สมัยบิน คลินตันเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแต่ไม่มีครั้งใดที่ประสบความสำเร็จและนำสันติภาพมาสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริงแม้แต่ครั้งเดียว
อีกหนึ่งข้อสังเกตคือ การเจรจานั้นไม่เป็นข้อตกลงที่ถาวรหรือปฏิบัติได้จริงเลย เพราะยังมีการละเมิดข้อตกลง เกิดการโจมตี สังหาร บุกรุก จับกุม และบีบบังคับระหว่างกันเรื่อยมาตลอด โดยเฉพาะฝ่ายปาเลสไตน์ที่ไม่มีอาวุธหนักและกำลังพลที่เกิดความสูญเสียมหาศาลจากปะทะกันตลอดแนวชายแดนอิสราเอลกับปาเลสไตน์ทั้งแนวชายแดนด้านเขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซ่า
ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่าหลังจากที่สันนิบาติชาติอาหรับส่งเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาในวันที่ 23 กันยายน2554 นี้แล้ว จะมีคำตอบออกมาในแนวใดสำหรับการขอรับรองสถานะเป็นรับอิสระของปาเลสไตน์

ตอนที่ 7 โซมาเลีย : ดินแดนแห่งความยากจนและหิวโหย

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ในช่วงเดือนนี้ถ้าจะพูดถึงข่าวคราวโลกมุสลิมแล้วก็คงจะไม่มีข่าวใดที่จะฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจไปมากกว่าความยากจนแร้นแค้นและขาดแคลนอาหารของพี่น้องมุสลิมชาวโซมาเลียซึ่งถือเป็นประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารและยากจนที่สุดในโลกตามการจัดอันดับของนิตยสารฟอบส์ประจำปี 2011   
โซมาเลียนั้นหากจะกล่าวไปแล้วก็คงไม่ต่างมากนักจากสภาพความเป็นอยู่ของมุสลิมในประเทศอื่นๆบนแผนดินอัฟริกาที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนด้านอาหารอย่างหนักและเรื้อรังมาตลอดกว่าหลายสิบปีแต่ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่โซมาเลียกำลังประสบอยู่ในขณะนี้เลยทำให้สถานการณ์การขาดแคลนด้านอาหารของโซมาเลียมีความรุนแรงเข้าขั้นวิกฤติและรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆในละแวกเดียวกันหลายเท่านัก โดยปัจจัยหลักๆส่งผลกระทบกับการขาดแขลนของโซมาเลียมีดังนี้

1.โซมาเลียไม่สามารถผลิตอาหารเองได้อย่างเพียงพอ
ถึงแม้ว่าโซมาเลียจะจัดอยู่ในประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ในระดับกลางและมีทางออกทางทะเลยาวกว่า 3,000 กิโลเมตรแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นพื้นที่ทะเลทรายที่แห้งแล้ง ไม่มีป่าไม้ แม่น้ำ จึงไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้อย่างเต็มที่ ด้วยเพราะเหตุนี้จึงทำให้ประชาชนชาวโซมาเลียบางส่วนไม่สามารถที่จะผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงตัวเองได้อย่างเพียงพอ เกิดความยากจน ขาดสารอาหาร และมักจะต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่


จากแผนที่จะเห็นได้ว่าครึ่งหนึ่งของประเทศโซมาเลียเป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่สามารถทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ได้ ส่งผลให้ขาดแคลนอาหารและไม่เพียงพอต่อความต้องในภายในประเทศ

2.ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
ด้วยเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ และไม่สามารถผลิตอาหารเองได้ทำให้โซมาเลียขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจตามมาด้วย กล่าวคือ ไม่มีการผลิตสินค้าและบริการ ไม่เกิดการค้าขาย และมีเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงภายในประเทศ จะมีก็แต่การนำเข้าเสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้รัฐบาลโซมาเลียมีแต่รายจ่าย แต่ขาดแคลนรายได้  จึงทำให้รัฐบาลมีงบประมาณติดลบ(ขาดดุล)จนในที่สุดก็ขาดประสิทธิภาพในการบริหารระบบเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้รัฐบาลอ่อนแอลงเรื่อยๆตามลำดับ

3.สงครามกลางเมืองและการแบ่งแยกดินแดน
โซมาเลียนั้นยังมีความขัดแย้งและมีสงครามกลางเรื้อรังมาตลอดกว่าหลายสิบปีเนื่องจากมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ต้องการมีเอกราชเป็นของตนเองเช่น กลุ่มทางตอนเหนือของประเทศที่ต้องกาจัดตั้งประเทศ SOMALLILAND , MAAKHIR และ PUNTLAND โดยเฉพาะในรัฐ MAAKHIR ที่ยังมีการต่อสู้กันอยู่ระหว่างกองกำลังติดอาวุธกับรัฐบาลชั่วคราวโซมาเลีย  จากผลกระทบของสงครามกลางเมืองที่เรื้องรังนี้ได้ทำให้รัฐบาลเกิดความสั่นคลอน ขาดความมั่นคง และทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมาอีกทั้งๆที่ในสถานการณ์ปกติอาหารก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว


สถานการณ์สงครามกลางเมืองของกลุ่มต่างๆกับรัฐบาลชั่วคราวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและ ยารักษาโรคเพิ่มขึ้นไปอีกโดยเฉพาะในเขตชนบทที่หน่วยงานให้ความช่วยเหลือเข้าไปไม่ถึงเพราะมีกลุ่มติดอาวุธควบคุมอยู่

4.ขาดเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล
นับตั้งแต่เกิดสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ.1991 เป็นต้นมา โซมาเลียยังไม่มีรัฐบาลกลางเลย! จะมีก็เพียงแต่รัฐบาลชั่วคราวที่ครองอำนาจมานานกว่า 13 ปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะมีการจัดการเลือกใหม่ตั้งเมื่อใด เนื่องจากรัฐบาลชั่วคราวเองก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจาสงบศึกและประสานความสามัคคีกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มต่างๆในประเทศ อีกทั้งในปัจจุบันรัฐบาลก็ขาดประสิทธิภาพในการดูแลความสงบภายในประเทศ มีการก่อความวุ่นวาย ลักขโมย ฆ่าตกรรม ร่วมถึงการตั้งกลุ่มเป็นโจรสลัดปล้นเรือสินค้า โดยที่รัฐบาลไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายปราบปรามและควบคุมได้เพราะรัฐบาลอ่อนแอและขาดขีดความสามารถในการดำเนินการ


Sheikh Sharif bin Sheikh Ahmed ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของรัฐบาลชั่วคราวโซมาเลีย

                ทั้งสี่ข้อในเบื้องต้นนั้นเป็นเพียงแค่สาเหตุสำคัญๆบางส่วนที่มีผลต่อความยากจนและขาดแคลนอาหารในโซมาเลียในปัจจุบัน และถึงแม้ในระยะสั้นจะมีองค์และหน่วยงานการกุศลมากมายทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติพยายามยื่นมือเข้ามาช่วยด้วยการบริจาคอาหารและเครื่องดื่มเป็นจำนวนมากทั้ง หน่วยงานกาชาดของสหประชาชาติ หน่วยงานสาธารณสุขของกลุ่มประเทศอาหรับ เอเชีย และยุโรป เป็นต้น แต่ในระยะยาวนั้นความช่วยเหลือในลักษณะเฉพาะหน้าแบบนี้คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารให้กับโซมาเลียได้อย่างถาวรนอกจากต้องแก้ไขปัญหาภายในของโซมาเลียก่อนเช่น การเร่งเจรจาสงบศึกกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เร่งปฏิรูปการเมือง  เร่งจัดการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่ชอบธรรมและพร้อมแก้ไขปัญหาของชาติ เร่งส่งเสริมอาชีพและการผลิตให้กับประชาชน และที่สำคัญคือเร่งพัฒนาแหล่งทรัพยากรน้ำมันใต้ดินที่โซมาเลียมีอยู่พอสมควรเพื่อนำรายได้มาฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

โซมาเลียกับความเกี่ยวข้องกับการเมืองระดับนานาชาติ

             ด้วยที่ตั้งอันได้เปรียบของโซมาเลียที่ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวทะเลเอเดนและมหาสมุทรอินเดียซึ่งมีการจราจรของขบวนเรือสินค้าจากทั่วโลกอย่างคับคั่ง มีทรัพยากรน้ำมัน และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารที่ดีจึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีชาติมหาอำนาจหลายชาติต้องการเข้ามาครอบงำและแสดงอิทธิผงของตนเองในพื้นที่แถบนี้มาตลอดตั้งแต่สมัยยุคล่าอาณานิคมแล้ว  ในปัจจุบันก็ยังคงมีมหาอำนาจตัวหลักๆอย่างสหรัฐอเมริกาที่ยังต้องการแสดงอิทธิผลของตนเองในพื้นที่แถบนี้เพื่อคุ้มครองเส้นทางการเดินเรือสินค้าและน้ำมันจากตะวันออกกลางตลอดจนคุ้มครองผลประโยชน์ทางธุรกิจและการเมืองอื่นๆของตนเองที่มีอยู่ในแถบนี้ที่อาจจะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามในทุกรูปแบบได้ตลอดเวลา 
 ผู้นำโซมาเลียครั้งเข้าพบ นางฮิลารี่ คลินตัน รมต.ต่างประเทศสหรัฐ เพื่อหารือข้อราชการเเละขอความช่วยเหลือด้านความอดยาก จะเห็นได้ว่าสหรัฐยังให้ความสำคัญกับโซมาเลียตราบใดที่โซมาเลียยังมีประโยชน์ต่อสหรัฐ
               
     แต่ก็ยังเป็นที่น่าเสียดายว่าโซมาเลียเองยังไม่สามารถงัดความได้เปรียบจากตรงนี้มาใช้ในการพัฒนาประเทศและใช้เป็นเกมส์การเมืองต่อรองผลประโยชน์กับชาติมหาอำนาจได้เท่าที่ควร เพราะรัฐบาลอ่อนแอ มีปัญหาภายในมากมาย  และไม่มีงบประมาณในการพัฒนาน่านน้ำของตนเองให้เป็นจุดพักสินค้าที่ได้มาตรฐานสากล(ท่าเรือน้ำลึก)ได้  นับได้ว่าโซมาเลียเสียโอกาสอย่างยิ่งในการพัฒนาและสร้างรายได้จำนวนมหาศาลเข้าประเทศ