ตอนที่ 12: ชาติมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียน3 (อินโดเนเซีย)

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อินโดเนเซียเป็นอีกชาติมุสลิมหนึ่งที่เป็นประเทศกลุ่มแกนนำสำคัญของอาเซียน ไม่แพ้สิงค์โปร์ มาเลเซีย และไทยและยังมีบทบาทสูงต่อการกำหนดอนาคตของกลุ่มชาติอาเซียนด้วย เพราะอินโดเนเซียเป็นประเทศใหญ่ ประชากรมาก ทรัพยากรมาก และมีกำลังการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหลังๆมาที่เศรษฐกิจของอินโดเนเซียโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองเริ่มนิ่งลงแล้วและเชื่อกันว่าหลังการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 อินโดเนเซียจะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในชาติผู้นำอาเซียนที่โดดเด่นได้อย่างแน่นอน
แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าอินโดเนเซียจะได้รับผลประโยชน์จากอาเซียนเสมอไป ในบ้างภาคธุรกิจ การค้า สังคม และวัฒนธรรม  อินโดเนเซียก็ย่อมต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค และความท้าทายใหม่ๆที่จะตามมากับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วยเช่นกัน
ในมุมมองของผมแล้ว หลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 เราสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของอินโดเนเซียได้ดังนี้ครับ

ด้านเศรษฐกิจ

1.เศรษฐกิจอินโดเนเซียจะโตต่อเนื่อง
หลังจากการเมืองภายในของอินโดเนเซียเริ่มลดลงหลังจากสมัยของประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮีด ทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของอินโดเนเซียเริ่มฟื้นตัวและพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น จนถึงปัจจุบันในสมัยของรัฐบาล ซู ซีโล บัมบัง ยุคโดโยโน่ เศรษฐกิจของอินโดก็ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการเกษตร  โดยทางธนาคารโลกเองก็ได้ออกมายืนยันผลการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจอินโดเนเซียจะโตต่อเนื่อง “ประมาณ 6.4% “(1) ในอีก 2-5 ปีข้างหน้า

เมืองหลวงกรุงจากาตาร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ การลงทุน  การเงิน และการค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

 2.อินโดเนเซียจะนำเข้าอาหารและเครื่องอุปโภคมากขึ้น

ถึงแม้ว่าอินโดเนเซียจะสามารถผลิตสินค้า อาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภคเองได้ในประเทศ แต่นั้นก็ได้แค่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงและตอบสนองต่อความต้องการของคนในประเทศเท่านั้น เพราะประชากรอินโดเนเซียมีมากถึง 230 ล้านคน(2) ฉะนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียจึงมีความต้องการที่จะนำเข้าสินค้าประเภทอาหารมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าและอาหารในคลังสำรองของประเทศให้มากพอที่จะสามารถหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติไม่ให้อดอยาก โดยที่สินค้าประเภทอาหารนี้อินโดเนเซียก็ไม้ได้ไปสั่งซื้อมากจากไหนนอกจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันอย่าง ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย นั้นเอง

3.อินโดเนเซียจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอาเซียน

อย่างที่เราทราบกันดีว่าไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์จากค่ายรถต่างๆรายใหญ่ที่สุดในอาเซียนมานานหลายปีแล้ว แต่ด้วยจำนวนต้นทุนที่เพิ่มขึ้น น้ำท่วม ตลอดจนความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้ไทยเกิดสะดุดขาตัวเองในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยที่มีการคาดการณ์จากหลายหน่วยงานแล้วว่าค่ายรถต่างๆจะเริ่มหันไปใช้อินโดเนเซียเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ในอนาคต และยังคาดการณ์กันว่า “อินโดเนเซียอาจจะแซงไทยขึ้นไปเป็นผู้ผลิตและส่งออกยานยนต์ได้อย่างแน่นอนในอีก 5 ปี ข้างหน้า หากเศรษฐกิจอินโดเนเซียไม่สะดุดเสียก่อน”(3)

 
โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดเนเซีย

4.อินโดเนเซียจะมีการลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

ด้วยจำนวนคนที่มีการศึกษามีมากขึ้นในทุกๆสาขาวิชาโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานวัฒกรรมใหม่ๆทำให้รัฐบาลอินโดเนเซียพยายามที่จะส่งเสริมและลงทุนการพัฒนาประเทศในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างในปีล่าสุดทาง Google ซึ่งถือเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ของโลกได้ร่วมมือกับรัฐบาลอินโดเนเซียในการที่จะพัฒนาระบบ ICT และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัยให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของชาวอินโดนียเซียที่มีประมาณ 40 ล้านคน และคาดการณกันว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ถึง 48% ในปีที่จะถึงนี้(4)

การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอินโดเนเซียเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะด้านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย

5.อินโดเนเซียจะเน้นส่งออกสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น

ถึงแม้จะต้องนำเข้าสินค้าอาหารบ้างเพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศแต่อินโดเนเซียก็ยังได้ดุลการค้าจากการส่งออกสินค้าประเภทสินค้าสำเร็จรูปซึ่งมีจำนวนสินค้านับพันรายการ ซึ่งแน่นอนเมื่ออาเซียนลดภาษีนำเข้าลงเหลือแค่ 0% ก็จะยิ่งทำให้อินโดเนเซียได้เปรียบในการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น สินค้าสำเร็จรูปหลักๆของอินโดเนเซีย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษ น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยาสูบ โกโก้ เครื่องเทศ ยางและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์(5) เป็นต้น

 
ซูซีโล บัมบัง ยุดโดโยโน่ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดเนเซีย

ด้านสังคม

อินโดเนเซียนับเป็นประเทศที่มีโครงสร้างสังคมหลากหลายที่ประกอบไปด้วยผู้คนนับร้อยเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังคมเดียวกันทั้งอิสลาม พุทธ ฮินดู คริสต์  และความเชื่อไสยศาสตร์ดั่งเดิม  และถึงแม้ว่าอินโดเนเซียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกก็ตามแต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในด้านสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียนก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพสังคม ภาษา ศาสนา ของอินโดเนเซียจะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน

1)            ภาษา

ถึงแม้ภาษาราชการของอินโดเนเซียจะเป็น บาฮาซา อินโดเนเซีย แต่ชาวอินโดเนเซียก็พอจะพูดภาษาอังกฤษได้ในระดับปานกลาง ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่าประเทศไทย เพราะอินโดเนเซียปรับใช้ทั้งภาษาอังกฤษและบาฮาซาในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยมาตั้งนานแล้ว จากตรงนี้ทำให้อินโดเนเซียไม่ต้องปรับตัวมากนักกับการรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพราะอย่างน้อยก็มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ในส่วนของภาษา บาฮาซา อินโดเนเซีย ก็คงจะไม่มีปัญหาเพราะสามารถใช้ภาษาบาฮาซา สื่อสารกับคนชาติต่างๆในภูมิภาคได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งมีผู้ใช้งานมากว่า 175 ล้านคน(5)โดยเฉพาะใช้ติดต่อการค้า การขายกับ บรูไน สิงค์โปร์ มาเลเซีย และทางภาคใต้ของไทยกับมินดาเนาของฟิลิปปินส์ 


อินโดเนเซียมีมหาวิทยาลัยที่เป็นทางการของรัฐมากกว่า 170 ทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนของมหาวิทยาลัยสะท้อนให้เห็นว่าอินโดเนเซียมีประชากรในวัยเรียนมากกว่าชาติใดๆในอาเซียน

2)            สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี 

ถึงแม้อินโดเนเซียจะมีสังคมแบบพหุวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ด้วยกระแสวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่แพร่เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องและรุนแรงประกอบกับความอ่อนแอในการปกป้องวัฒนธรรมของตนเองทำให้วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของอินโดเนเซียเริ่มจางหายไป ผู้คนหันมายอมรับวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น เช่น การปรับตัวเข้าหาแฟชั้นสมัยใหม่ ดนตรี  การสร้างที่อยู่อาศัย  การใช้ชีวิตแบบตะวันตก เป็นต้น ในอนาคตข้างหน้าคาดการณ์กันว่าสังคมอินโดเนเซียจะเปิดกว้างเสรีมากว่านี้ในการรับวัฒนธรรมตะวันตก และนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้สังคมอิสลามและขนมธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมของอินโดเนเซียอ่อนแอลงไปก็ได้

ศิลปะวัฒนธรรมของอินโดเนเซียได้รับอิทธิผลมากจากแนวความคิดของฮินดู พราหมณ์ และพุทธ มาก่อนที่อิสลามจะเข้ามาเผยแพร่ในภายหลัง



หมายเหตุ: การออกเสียงที่ถูกต้องและเป็นทางการของชื่อประเทศนี้คือ อินโดเนเซีย มิใช่อินโดนีเซีย อย่างที่เราเคยใช้กันแต่อย่างใด

References;
1) Hairecent.(2010). Available: http://thairecent.com/Business/2011/969471/.Retrieved on 27th November 2011.
2) thumbsup .(2011). Available: http://thumbsup.in.th/2011/07/google-indonesia/.Retrieved on 27th November 2011.
3) Ibid, Retrieved on 27th November 2011.
4) Appcenter.(2010).Available: Appcenter.truelife.com Ibid, Retrieved on 27th November 2011.
5) krysstal.(2011).Available: http://www.krysstal.com/spoken.html.Retrieved on 27th November 2011.
Other sources;
4. http://kasetinfo.arda.or.th/south/palm/trends/index.php.Retrieved on 27th November 2011.

ตอนที่ 11: ชาติมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังยุคประชมคมอาเซียน 2 (มาเลเซีย)

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลังจากที่ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับประเทศบรูไนไปแล้วเมื่อสองสัปดาห์ก่อนคราวนี้ถึงคิวของมาเลเซียกันบ้างครับซึ่งถือเป็นชาติมุสลิมที่มีบทบาทอย่างสูงมาตลอดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและยังเป็นประเทศที่คาดการณ์กันว่าจะเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนรองลงมาจากสิงคโปร์

เรื่องหลังบ้านของมาเลเซีย
มาเลเซียถึงแม้ว่าจะเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนแต่ด้วยความพยายามและการวางแผนที่ฉลาดหลักแหลมในการพัฒนาประเทศหลังจากได้รับเอกราชทำให้มาเลเซียสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็น 1 ใน 5 มังกรเศรษฐกิจของเอเชีย (Little Dragons economic countries) ได้อย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันเศรษฐกิจของมาเลเซียก็ยังคงเติบโตอย่างมั่นคงต่อเนื่องและยังมีศักยภาพด้านการค้าการลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ ในส่วนของสังคมและวัฒนธรรมของมาเลเซียนั้น มาเลเซียมี ประชากร ประมาณ 28 ล้านคน ซึ่งประมาณ 65% เป็นมุสลิม 27% เป็นชาวจีน และ 8% เป็นอินเดียประเทศนี้จึงถือได้ ว่าเป็นประเทศที่มีสังคมแบบพหุวัฒนธรรมหลากหลายมากที่สุดในอาเซียน แต่ถึงกระนั้นคนทั้งสามเชื้อชาติ นี้ก็ยังคงใช้ชีวิตเข้ากันได้ตามปกติเหมือนประชาคมเดียวกัน


นาจิบ ตน รอซัค นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซียจากพรรคอัมโน
การเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ
หลังจากเปิดประตูสู่อาเซียนแล้วมาเลเซียจะสามารถเพิ่มขีดการพัฒนาประเทศของตนเองได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมาเลเซียมีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงและเสถียรภาพอยู่แล้ว โดยคาดการณ์กันว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจของมาเลเซียในอนาคตจะเป็นไปตามข้อวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ ครับ
1.มาเลเซียจะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจเบอร์ 2 ของอาเซียน
หลังจากสิงคโปร์แล้ว ในอนาคตมาเลเซียจะก้าวกระโดดข้าม อินโดนีเซีย และไทย ขึ้นมาเป็นประเทศผู้ทรงอิทธิผลด้านเศรษฐกิจอันดับ 2 ของอาเซียนอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้ขนาดของประเทศและจำนวนประชากรจะน้อยกว่ามาก และสู้ไทยกับอินโดไม่ได้ แต่ด้วยประสบการณ์การเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศที่เหนือกว่า  การมีรัฐบาลที่ใส่ใจด้านเศรษฐกิจเป็นพิเศษ การหลั่งไหลเข้ามาลงทุนของต่างชาติ และมีจำนวนสินค้าส่งออกมากมายนับพันรายการ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันมาเลเซียสู่ตำแหน่งเศรษฐกิจที่ใหญ่โตอันดับสองของอาเซียน
บูกิต บินตัง ย่านการค้าและย่านท่องเที่ยวสำคัญใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์
2.มาเลเซียจะเพิ่มเพด้านการส่งออกมากขึ้น
มาเลเซียจะเพิ่มการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง ยุโรป และอัฟริกา  เช่น สินค้าอาหารฮาลาลที่ตอนนี้มาเลเซียเป็นโปรดิวเซอร์รายใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม,สินค้าจำพวกชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า,ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน มาเลเซียก็จะมีตลาดส่งออกเพิ่มข้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะลาว กัมพูชา เมียร์ม่า และไทย
สัญญาลักษณ์สินค้าจากมาเลย์จะหาซื้อได้มากขึ้นและราคาถูกลงในอนาคต
3.มาเลเซียจะสนับสนุนในด้านอุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ รถยนต์ และอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
มาเลเซียเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์และปาล์มน้ำมันในอาเซียนมาก่อนแล้วนับสิบๆปีแล้ว แต่ในอนาคต เมื่อ เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีการพัฒนาด้านอีเล็กโทรนิกส์อย่างรวดเร็วและสามารถสู้กับมาเลเซียได้ ทำให้มาเลเซียต้องปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเพื่อรักษาตำแหน่งและครองตลาดอีเล็กโทรนิกส์เอาไว้ ปาล์มน้ำมันก็เช่นกัน ซึ่งไทยสามารถปลูกและผลิตน้ำมันปาล์มได้มากเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย ทำให้มาเลเซียต้องยกระดับคุณภาพของผลิตน้ำมันปาล์มของตนเองขึ้นไปอีก ถึงแม้ว่าคุณภาพน้ำมันปาล์มจากไทยยังสู้มาเลเซียไม่ได้ก็ตาม
สินค้าเบอร์หนึ่งของมาเลเซีย ที่ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
4.มาเลเซียจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านการเงินและการธนาคาร
มาเลเซียประกาศไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าตัวเองจะผันตัวเองไปเป็นนักการเงินและนักการธนาคารแข่งกับสิงคโปร์ให้ได้ในอนาคต และดูเหมือนว่าแผนของมาเลเซียจะได้ผลค้อนข้างดีด้วย กล่าวคือ ในปัจจุบันมีกลุ่มธนาคารจากประเทศอาหรับและยุโรปหลายรายได้เริ่มเข้ามาเปิดสาขาในมาเลเซีย นอกจากนี้ธนาคารยักษ์ใหญ่ของมาเลย์อย่าง May bank  ก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินและข้อเสนอใหม่ๆให้กับนักลงทุนด้วยเพื่อดึงดูดจำนวนผู้ใช้บริการให้มากขึ้นกว่าเดิมและเพื่อแบ่งตลาดจากสิงคโปร์ด้วย
ธนาคารรายใหญ่ๆในมาเลเซียมีศักยภาพสูงในการแข่งขัน
5.มาเลเซียจะมีระบบคมนาคมที่ดีเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน
ด้วยระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจะเป็นแรงกระตุ้นให้รัฐบาลมาเลเซียทุมเงินจำนวนไม่น้อยที่จะพัฒนาระบบคมนาคมและโลจิสติกส์จากปัจจุบันที่ทันสมัย สะดวก  และรวกเร็วอยู่แล้ว ให้เร็วและมีมาตรฐานสูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะการขนส่งทางอากาศที่ตอนนี้มาเลเซียกำลังสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ขึ้นอีกแห่งหนึ่งเพื่อรองรับการขนส่งทางอากาศ(Cargo system) เช่นเดียวกันกับระบบการขนส่งทางเรือ ที่จะมีการยกระดับท่าเรื่อมะละกา และปีนัง ใหม่มีมาตรฐานสูงและรองรับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก

สนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
6.มาเลเซียจะประสบปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน
มาเลเซียอย่างที่ได้บอกไว้คือ มีประชากรดั่งเดิมที่เป็นคนมาเลเซียเพียงแค่ 28 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งนั้นหมายถึงมีกำลังคน แรงงานไม่เพียงพอต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แถมเรื่องของทักษะแรงงานชาวมาเลเซียก็สู้ทักษะแรงงานจากไทย  อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามไม่ได้ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตจะมีแรงงานเข้าไปทำงานในมาเลเซียมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ปัจจุบันมีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่ในมาเลเซียประมาณ 2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นคนไทยประมาณ 250,000-400,000 คน
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
1.ภาษาและการศึกษา
มาเลเซียมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีมากและปรับใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนกับเด็กๆตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาแล้ว  ทำให้ชาวมาเลย์พูดได้เก่ง และสามารถปรับตัวเข้ากับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้อย่างสบายๆ และมีโอกาสในการค้า การลงทุน การติดต่อกับชาวต่างชาติได้มากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคมากหลายเท่า ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน มาเลเซียได้รับความนิยมมากในถูมิภาคอาเซียนรองลงมาจากสิงคโปร์ เพราะที่นี่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน และมีระบบการศึกที่มีมาตรฐานสูงไม่เเพ้สิงคโปร์และที่สำคัญได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีนักศึกษาทั่วทุกมุมโลกมาศึกษาที่มาเลเซีย ประมาณ 15,000-20,000 คน กระจัดกระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยที่ International Islamic University  Malaysia มีนักศึกษามากที่สุด ประมาณ 6,000-8,000 คน
       International Islamic University  Malaysia
2.ศาสนา
ศาสนาในมาเลเซียย่อมมีผลกระทบบ้างจากการเปิดประชาคมอาเซียนเพราะถึงแม้อิสลามจะเป็นศาสนาประจำชาติและมีผู้นำถือมากที่สุด แต่ด้วยการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้มีศาสนิกอื่นๆแทรกเข้ามาและมีจำนวนมากขึ้น แต่รัฐบาลมาเลเซียก็ไม่ได้กังวลกับปัญหานี้เพราะรัฐบาลเปิดกว้างในการนับถือศาสนาอยู่แล้วอีกอย่างคนมาเลเซียก็เหมือนกับชาวบรูไนที่มีความรักษาในศาสนาและอัตลักษณ์ของตนเองค้อนข้างสูงอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนแนวคิดไปรับศาสนาอื่นได้ง่ายๆ แม้กระทั้งคนจีนและอินเดียเองเขาก็รักและมั่นคงในการนับถือศาสนาของเขา
มัสยิด Nagara  (มัสยิดแห่งชาติใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์)
3.สังคม
ต้องยอมรับว่าความจริงแล้วมาเลเซียมีความแตกต่างด้านสถานะทางสังคมค่อนข้างสูง กล่าวคือ ชาวมาเลย์ถูกจัดวางในฐานะผู้อาศัยดั่งเดิม(Bumi Putra)ซึ่งมีอำนาจในการปกครองประเทศ และมีสิทธิพิเศษมากว่ากลุ่มคนอื่นๆ ส่วนชาวจีนถูกจัดวางเป็นกลุ่มพ่อค้า นักลงทุน และในส่วนของคนอินเดียถูกจัดวางเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน  ถึงแม้มาเลเซียจะเปลี่ยนไปมากและมีนโยบายกลืมกลื่นชาติ (Assimilation Policy) เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นมาเลย์ของคนทุกกลุ่มในประเทศ ถึงเเม้นโยบายนี้จะได้รับการตอบรับและมีแนวโน้มที่ดีมากจากสังคมในภาพรวม แต่ในเบื้องลึกแนวคิดการแบ่งแยกทางสังคม ชาติพันธุ์ และชนชั้นยังคงวนเวียนตายเกิดในใจของคนมาเลย์ทั้งสามกลุ่มอยู่เสมอ และอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวและปรับความเข้าใจเข้าหากัน ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบจากเพื่อนสนิทของผม Suresh Kumar เป็นชาวฮินดู อินเดียน มาเลย์ ที่กำลังศึกษา ป.โท รัฐศาสตร์อยู่ด้วยกันที่ International Islamic University  Malaysia ว่า  “นโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่คงอยากที่จะทำให้ทุกคนมีความสุข พอใจ และรักความเป็นมาเลย์จากนโยบาย One Malaysia เหนือเชื้อชาติ และชนเผ่าของตนเอง
นโยบาย One Malaysia เพื่อหลอมร่วมทุกเชื้อชาติเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว
4.วัฒนธรรม
นี้อาจจะเป็นจุดอ่อนของมาเลเซีย และอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพราะมาเลเซียประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา การรับวัฒนธรรมจากตะวันตกและตะวันออกมีค้อนข้างสูง ผมเองมาอยู่ที่นี่สามปี สังเกตุเห็นได้ชัดเลยว่าคนมาเลย์รับวัฒนธรรมต่างชาติมาเยอะพอสมควรและมีมาอย่างเรื่อยๆ เช่น การจัดงานวันเกิด (Bird day ceremony ) ที่มุสลิมเองก็มีจัดกันทั่วไป หรือแม้กระทั้งการพบปะ พูดคุย  ทักทายก็มักจะใช้ คำว่า Hi, Hello, และ Bey Bey  แทนที่จะใช้การสลามและจับมือ ก็เป็นที่น่าจับตาดูเหมือนกันว่าการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมของมาเลย์จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดในอนาคต
สังคมพหุวัฒนธรรมของมาเลเซีย “เราแตกต่าง แต่เราอยู่ร่วมกันได้”