ตอนที่ 21 : อนาคตมุสลิมในสิงคโปร์...รุ่งหรือดับ (จบ)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

                 ศาสนาและวิธีชีวิตที่เปลี่ยนไป
ได้คุยกับเพื่อนชาวสิงคโปร์แล้ว ทำให้เราได้ทราบว่าถึงแม้มุสลิมมาเลย์จะมิใช่ชนกลุ่มใหญ่ของประเทศนี้แต่พวกเขาและศาสนาอิสลามของพวกเขาต่างได้รับการดูแลเอาใจใสเป็นอย่างดีจากรัฐบาลสิงคโปร์มากว่า 50ปี ทั้งนี้อันเนื่องมาจากได้รับสิทธิคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญสิงคโปร์ที่ร่างขึ้นก่อนการประกาศเอกราช(โดยความช่วยเหลือของอังกฤษที่มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำมุสลิมสิงคโปร์ในขณะนั้น)โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมาตรา 152 และ 153 ที่ระบุว่ารัฐบาลต้องเอาใจใสดูแลมุสลิมซึ่งเป็นชนส่วนน้อยของรัฐทั้งในกิจการศาสนา ความเป็นอยู่  การศึกษา ภาษา เศรษฐกิจ  การเมือง  ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนในกิจการทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย(1) จากสิทธิคุ้มครองและการส่งเสริมเหล่านี้ทำให้มุสลิมในสิงคโปร์มีการก่อตั้งสมาคมและองค์กรมุสลิมขึ้นหลายองค์กรทั้งองค์กรด้านกิจการศาสนา สังคม และการศึกษา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งสิงคโปร์ (the Islamic Religious Council of Singapore-MUIS(2), ศาลชารีอะห์(the Syariah Court),องค์กรด้านการดะวะห์(Muslim Missionary Society (Jamiyah)),องค์กรด้านการศึกษา(Association of Muslim Professionals),องค์กรด้านเทคโนโลยีอย่าง(Islamic Theological Association of Singapore (Pertapis)),หรือแม้กระทั้งองค์กรด้านอาหารฮาลาล เป็นต้น(3)

 
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งสิงคโปร์

เพื่อนชาวสิงคโปร์กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับชาวสิงคโปร์แล้วการเจริญเติบโตและการพัฒนาด้านกิจการศาสนาทั้งในแง่ของการจัดตั้งองค์กร การร่วมกลุ่ม และความเข็มแข็งของมุสลิมนั้นไม่มีปัญหาแต่ที่เป็นปัญหาและเป็นปัญหาที่น่ากลัวที่สุดของมุสลิมในสิงคโปร์คือปัญหาการบุกรุกของวัฒนธรรมตะวันตกและการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพวิธีชีวิตมุสลิม เนื่องจากสิงคโปร์มีชนส่วนใหญ่เป็นชนต่างศาสนิกซึ่งปรับตัวใช่ชีวิตแบบสมัยใหม่ของวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้มุสลิมบางส่วนเองก็เริ่มปรับตัวปรับวิธีชีวิตเป็นแบบสมัยใหม่ของตะวันตกเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนด้วยสภาพการณ์แบบนี้ย่อมจะพัดมุสลิมออกห่างจากอิสลามมากขึ้น จนสุดท้ายเกรงว่ามุสลิมอาจจะเหลือแต่ชื่อ เหลือแต่องค์กร เหลือแต่ประวัติ แต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงดำรงไว้ซึ่งความเป็นมุสลิมที่แท้จริง

องค์กรอิสลามในสิงคโปร์มีบทบาทมากในการพัฒนาและส่งเสริมกิจการศาสนา การศึกษา และความเป็นอยู่ของสิงคโปเรียนมุสลิม

ด้านการศึกษา
เช่นเดียวกันในด้านการศึกษาที่เพื่อนชาวสิงคโปร์แอบบ่นน้อยใจว่ามหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งของประเทศเปิดสอนแต่ด้านวิชาการสมัยใหม่มากมายแต่ไม่มีการเปิดสอนวิชาการอิสลามเลยแม้แต่สาขาวิชาเดียว ทำให้มุสลิมสิงคโปร์ที่ต้องการศึกษาต่อด้านอิสลามศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศแทนมีทั้งศึกษาต่อในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และย่านอาเซียนอย่างมาเลเซียและอินโดเนเซีย


บู๊ตกิจกรรมของ นศ.สิงคโปร์ในมหกรรม Ummatic Week ของมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย 2012

ทั้งนี้การศึกษาในด้านอิสลามศึกษาถือเป็นความหวังของมุสลิมสิงคโปร์ที่อยากให้ลูกหลานของตนเองมีความรู้ด้านวิชาการศาสนาควบคู่กับวิชาการสามัญซึ่งพร้อมที่จะกลับมาสานต่อกิจการศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และภารกิจเผยแพร่อิสลามในดินแดนสิงคโปร์ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมอย่างรวดเร็วมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กิจกรรมนักเรียนของนักเรียนมัธยม(โรงเรียนประจำ)แห่งหนึ่งในสิงคโปร์

References
2.             http://www.30-days.net/muslims/muslims-in/asia-east/singapore/. Retrieved on 14th April 2012.
3.             http://www.muis.gov.sg/cms/index.aspx. Retrieved on 14th April 2012.

0 ความคิดเห็น: