ตอนที่ 27: อิสลามกับความเป็นอารยธรรมของเอเชีย (2)

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การมาของอารยธรรมอิสลามในดินแดนอื่นๆในขณะนั้นแสดงให้เห็นถึงความเจริญ ความก้าวหน้า ในเรื่องของศิลปวิทยาการต่างๆของโลกมุสลิมในสมัยนั้นที่มีมากกว่าชนอารยธรรมอื่นในทวีปเอเชียได้เป็นอย่างดีและต่างได้รับความนิยมชมชอบ นำไปศึกษา นำไปดัดแปลงประยุกต์ใช้ในอารยธรรมของชนชาติอื่นๆมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา การศึกษา สถาปัตกรรม และศิลปกรรมต่างๆ 
 
  แต่แล้วอารยธรรมอิสลามที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนั้นก็เริ่มอ่อนแอลงและจางหายไปทีละนิดที่ละน้อยตามความอ่อนแอลงของอาณาจักรอิสลามในราชวงศ์ท้าย ร่วมไปถึงความเสื่อมโทรมลงในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมอิสลามของผู้นำและประชาชนในสมัยนั้น โดยเฉพาะการสูญเสียของอารยธรรมอิสลามจากผลของสงครามซึงมักมีสงครามกับ มองโกล เปอร์เซีย และโรม อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะการโจมตีของมองโกลที่ทำให้ศิลปวิทยาการต่างๆของมุสลิมในสมัยนั้นถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เพราะทหารมองโกลได้ทำลายสถานที่อันทรงคุณค่าด้านสถาปัตยากรรมตลอดจนทิ้งตำรามากมายลงในแม่น้ำซึ่งถือเป็นการทำลายองค์ความรู้ที่สั่งสมมานานนับร้อยปีไปอย่างน่าเสียดาย


 จนถึงในปัจจุบันที่กาลเวลาได้ผ่านไปแล้วกว่าหลายร้อยปี  ถึงแม้อารยธรรมอิสลามบางส่วนได้ถูกทำลายไป แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นและมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ  ศาสนา  ภาษา ประเพณี การแต่งกาย การศึกษา และสถาปัตกรรมและศิลปกรรมต่างๆ เป็นต้น เช่นในประเทศแทบเอชียกลางและจีนที่ยังผู้นับถืออิสลามอยู่เป็นจำนวนมาก ร่อยรอยของการแผ่ขยายาอิสลามในยุคก่อนก็ยังคงหลงเหลือให้ศึกษา เช่น วัตุถโบราณ ศาสนสถาน ภาษา และประเพณีการแต่งกาย


        ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วอารยธรรมอิสลามนั้นเป็นอารยธรรมที่สามารถพัฒนาจากอารยธรรมญาฮีลียะห์มาสู่การเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองเจริญก้าวหน้าและสามารถสร้างจุดเด่นให้กับอารยธรรมของตัวเองให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่รับรู้  เป็นที่น่าชื่นชมได้มากกว่าอรรยธรรมของชนชาติอื่นๆที่มักจะอ่อนแอ ถูกปลอยปละละเลย ไปตามกาลเวลา และไม่สามารถยืนยัดอยู่ได้ในสถานการณ์อันเลวร้ายต่างๆที่ผ่านเข้ามา จนในท้ายที่สุดแล้ว ก็มักจะถูกลบล้างไปด้วยการบุกรุกมาถึงของอารยธรรมของชนชาติอื่นๆในที่สุด.




References:
1)  Suhail Hussein.(2001).Diplomacy Annabi Muhammad(s.a.w):Dirasah Muqaranad
          Muhammad(s.a.w).Beirut:Daral Fikri al-Arabi.
2)  M.I.Naved.(2010).Damascus and Baghdad Empires. New Delhi: Anmol Publication Pvt. Ltd
3)  Thomas Arnold.(2001).The Spread of Islam in the World : A history  of Peacful Preaching.
          New Delhi : Goodword Books.
4) อาลี เสือสมิง.(2554). ประวัติศาสตร์อัล-อันดะลุส. กรุงเทพ: ศูนย์หนังสืออิสลาม
5) อับดุเลาะ อุมา.(2550). เอกสารการสอนวิชาหลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม 3,
         สาขาวิชารัฐประศาสนสตร์, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
6) อับดุลลอฮฺ อัลกอรี.(2546).ดลมนรรจน์ บากา แปล,สี่เคาะลีเฟาะฮฺ ผู้ทรงธรรม.กรุงเทพ
         สำนักพิมพ์อิสลามิคอะเคเดมี