ตอนที่ 23: จอร์แดน-การเมืองยังไม่นิ่ง...เมื่อนายกฯลาออก 3 คนในรอบ2 ปี

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อวานนี้ 26 เมษายน 2555 นายกรัฐมนตรี Al-Khasawneh ของจอร์แดนประกาศลาออกจากตำแหน่งแบบฟ้าผ่าในระหว่างไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ การลาออกของ Al-Khasawneh ถือเป็นการลาออกของนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของจอร์แดนในรอบสองปีนับตั้งแต่เกิดการประท้วง (Arab Uprising) ในดินแดนอาหรับในปี 2011 ซึ่งถือเป็นการลาออกที่ถี่จนผิดปกติและแสดงให้เราได้เห็นว่าการเมืองภายในของจอร์แดนยังไม่นิ่ง...


การเมืองภายในของจอร์แดนนั้นต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการประท้วง(Arab Uprising)ของประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน เพราะจอร์แดนเป็นหนึ่งในชาติอาหรับที่มีระบบการปกครองแบบ المَمْلَكَة   หรือ การปกครองโดยมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐนั้นเอง ซึ่งมักจะถูกจับตามองจากคนภายนอกว่าผู้นำจอร์แดนทำการบริหารประเทศโดยปิดกั้นสิทธิเสรีภาพเหมือนกัดดาฟี่ของลิเบีย,มูบาร็อกของอียิปต์,บินอาลีของตูนีเซีย, และอัลอัสสาดของซีเรีย ด้วยหรือไม่?
แผนที่ประเทศจอร์แดนครับเพื่อบางท่านยังไม่รู้จัก ประเทศนี้สำคัญมากครับในทางรัฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ เพราะถือเป็น Buffer State หรือ รัฐกันชนระหว่างรัฐอิสราเองกับกับกลุ่มชาติอาหรับอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง
 ด้วยเพราะเหตุนี้หลายประเทศอาหรับที่มีการปกครองแบบ  المَمْلَكَةอย่างโมร็อคโค,ซาอุดิอาราเบีย,รวมทั้งจอร์แดนจึงได้ทยอยประกาศปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มสิทธิเสรีภาพในบางกรณีให้กับประชาชนของตนทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ใช้ประชาชนของตนออกมาประท้วง โดยที่จอร์แดนนั้นทางรัฐบาลและกษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 รับปากว่าจะเพิ่มสิทธิทางการเมืองให้กับประชาชนได้มีส่วนรวมมากขึ้นและจะมีการปฏิรูปการเมืองด้วย และนั้นเป็นถือสัญญาณที่ดีและเป็นการปรับแก้ไขปัญหาในระยะสั้นได้ดีมากของจอร์แดน เพราะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในจอร์แดนเลยในช่วงที่ประเทศอื่นๆอย่างเยเมน, ซีเรีย, อียิปต์, และลิเบีย ยังคงจมปลักอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ


นายกรัฐมนตรี Khasawneh ประกาศลาออกคณะเยือนตุรกี
แต่ถึงกระนั้นสำหรับจอร์แดนแล้ว การให้คำสัญญาอะไรไว้กับประชาชนถือเป็นสิ่งที่ต้องทำตามคำสัญญา โดยในส่วนของการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นคงไม่ใช่เรื่องใหญ่มากนัก แต่ที่เป็นเรื่องใหญ่คือ การปฏิรูปการเมือง! แน่นอนการปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องใหญ่สำหรับจอร์แดนและทุกชาติที่มีการปกครองแบบกษัตริย์ เพราะการปฏิรูปอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจของกษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การลดฐานะหรืออำนาจหน้าที่ของผู้นำหรือรัฐบาล การเปลี่ยนขั้วการเมือง การเปลี่ยนแปลงของรัฐสภา และอาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเลยก็ว่าได้
ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2011 การปฏิรูปการเมืองในจอร์แดนยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีบ่อยถึงสามครั้ง 3โดยครั้งล่าสุดคือ การลาออกของ Al-Khasawneh ซึ่งเพิ่งจะอยู่ในตำแหน่งนายกเพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น (1)
การลาออกของเขานั้น ทางด้านของ ศ.อัดนาน อัลฮาญาดนะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาซีมี่ (Hashemite University) ในกรุงอัมมาน ได้วิเคราะห์ว่า อาจเกิดจากการที่แนวคิดการปฏิรูปการเมืองของนายกรัฐมนตรี Khasawneh และของกษัตริย์ อับดุลลอฮฺ นั้นไม่ตรงกันและตกลงกันไม่ได้สุดท้ายจึงอาจนำมาซึ่งการตัดสินใจลาออกของ Khasawneh เมื่อวานนี้ ทั้งนี้สำหรับกษัตริย์อับดุลลอฮฺแล้ว การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะพระองค์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนหลายครั้งว่าจะพยายามปฏิรูปการเมืองของจอร์แดนให้ดีขึ้นเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้เข้ามามาส่วนร่วม อีกทั้งยังประกาศอีกว่าจอร์แดนพร้อมที่ก้าวไปสู่การปฏิรูปการเมืองด้วยการจัดการเลือกตั้งก่อนปลายปีนี้อีกด้วย(2)

กษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 แห่งราชอานาจักรจอร์แดน
การยืนใบลาออกของ Khasawneh ในครั้งได้รับการการอนุมัติจากกษัตริย์อับดุลลอฮฺด้วยดีและพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งนาย Fayez al-Tarawneh(ฟาเยส อัล ตาเรานี่)เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดนแล้ว ซึ่งทั้งกษัตริย์อับดุลลอฮฺ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการปฏิรูปการเมืองภายในของจอร์แดนในครั้งนี้ไปให้ได้ ตลอดจนต้องจัดการเลือกตั้งให้ทันก่อนปลายปีนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก่อหน้านี้ ซึ่งถือได้ว่า “เป็นคำมั่นสัญญาซื้อเวลาของรัฐบาลจอร์แดนในการปฏิรูปตนเองก่อนที่ประชาชนจะถือโอกาสปฏิรูปเสียเอง”

ฟาเยส อัล ตาเรานี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดน(คนที่4 ในรอบ 2 ปี)

References
(1)AL-Jazeera. Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeera.com /news/ middlee ast/2012/04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).
(2)Ibid., Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeer a.com/news/middleeast /2012 /04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).

0 ความคิดเห็น: