ตอนที่ 6: ตุรกีกับการก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลกมุสลิม

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักจากการล้มสลายของอาณาจักรออตโตมานเตริก์ (อุสมานียะห์)ในปีฮิจเราะห์ศักราช 1340 ( ค.ศ.1922 )  ซึ่งถือเป็นอาณาจักรคีลาฟะห์ยุคสุดท้ายของอิสลาม ดินแดนของออตโตมานก็ได้ถูกแบ่งแยกออกไปตั้งตัวเป็นประเทศใหม่นับสิบประเทศ ในส่วนของดินแดนแม่ของออตโตมาน(ในเขตอนาโตเลียและคอนแสตนติโนเปิ่ล)ได้ร่วมตัวขึ้นมาเป็นรัฐใหม่เช่นเดียวกัน โดยตั้งชื่อประเทศว่า “ตุรกี” ตามชื่อเชื่อชาติของคนที่นี่นั้นคือ “ชาวเตริก์” ภายใต้การนำของมุสตอฟา  กามัล อัลตาเตริก์ จากอาณาจักรที่มั่งคั่งด้านเศรษฐกิจของโลกในขณะนั้นตุรกีกลับยากจนลงเรื่อยๆจนเป็นประเทศล้าหลังในดินแดนยุโรปนับเป็นเวลากว่าหลายสิบปีจนกระทั้งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยุโรปตั้งฉายาให้ตุรกีว่า “คนป่วยแห่งยุโรป”
          ปัจจุบันความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจของตุรกีได้เปลี่ยนไปมากแล้วโดยเฉพาะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลตุรกีได้พยายามสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจังทั้งการส่งเสริมการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การลงทุนทางการเงิน การส่งออก และภาคบริการ ทำให้เศรษฐกิจของตุรกีขยายตัวและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นอกจากนี้ทางการตุรกียังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(WTO), กลุ่ม G-20,กลุ่ม OECD(1)และทำสัญญาการค้าหลายฉบับกับกลุ่มประเทศมุสลิมหลายประเทศในช่วงไม่กี่ปีมานี้เพื่อเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่งในการส่งเสริมกิจกรรมทางการการการส่งออกของตุรกีให้เติบโตเร็วขึ้นและแน่นอน “เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งในสิบประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลกให้ได้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า”(2)

(กลาง-ซ้าย) Recep Tayyip Erdogan นายกรัฐมนตรีตุรกีเข้าร่วมประชุม G-20 (กลุ่ม 20 ประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก) ที่ เกาหลีใต้ อหนึ่ง ตุรกีเป็นประเทศที่มีบทบาทและได้รับความสนใจจากแกนนำกลุ่ม G-20 มากขึ้นไม่แพ้บราซิล จีน และอินเดีย เนื่องจากระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง

     ปัจจุบันทางตุรกีได้เน้นการทำการค้ากับกลุ่มประเทศมุสลิมมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางได้แก่  “ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์, คูเวต, ซาอุดิอารเบีย, บาห์เรน, ซีเรีย,กาตาร์,อิหร่าน,จอร์แดน,เยเมน,ร่วมทั้ง  อินโดนีเซีย โคโซโว และปากีสถาน”(3)ด้วย ซึ่งไม่ได้อยู่ในตะวันออกกลาง. การเข้ามาร่วมทำการค้าของตุรกีนั้นไม่ได้เพื่อเพียงแค่ต้องการส่งออกสินค้าของตัวเองไปยังโลกอาหรับเท่านั้นแต่ยังมีนัยยะแอบแฟงอยู่ด้วยนั้นคือ


อุตสาหกรรมบริการของตุรกีเติบโตเร็วมากและกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของตุรกีในปัจจุบันไม่แพ้อุตสาหกรรมสิ่งท่อ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

1.เป็นการเพิ่มระดับความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับกลุ่มประเทศมุสลิมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับกลุ่มประเทศมุสลิมมีไม่มากเท่าที่ควร(อยู่ในระดับปานกลาง)ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การส่งออก ศาสนา และการเมือง เพราะที่ผ่านมาตุรกีให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศยุโรป (EU) มากกว่า
2.กลุ่มประเทศมุสลิมหวังว่าเมื่อตุรกีสามารถกระโดดขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจได้ในอนาคตก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิมที่ทำการค้ากับตุรกีด้วยเช่นกัน เนื่องจากจะมีการค้า การส่งออก และการลงทุนหมุนเวียนของเงินระหว่างกันมากขึ้น เป็นการพยุงเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิมไปในตัว
3.กลุ่มประเทศมุสลิมจะได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากตุรกีได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น (มีตุรกีเป็นคนคอยสนับสนุน) และยังสามารถลดการพึ่งพาโลกตะวันตกได้อีกทางหนึ่งเนื่องจากระบบการเงินของโลกตะวันตกเริ่มเสื่อมความน่าเชื่อถือลงไปมากในปัจจุบัน
4.การทำการค้ากับโลกมุสลิมจะทำให้ตุรกีแผ่ขยายอิทธิผลของตัวเองในกลุ่มประเทศมุสลิมได้มากขึ้น(4)ได้รับการยอมรับมากขึ้น และจะสามารถก้าวขึ้นมามีบทบาทในโลกมุสลิมมากขึ้นเช่นเดียวกัน เช่น บทบาทในการพัฒนา, การเจรจาการค้า, การเจรจายุติความขัดแย้ง, และการสร้างสันติภาพ เป็นต้น

ตุรกีได้รับการตอบรับและร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มประเทศมุสลิมในการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางอย่าง คูเวต,กาตาร์,สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และซาอุดิอารเบีย.
 
         จากความร่วมมือทางการค้าที่จะเกิดขึ้นนั้นจะทำให้เกิดรายได้จำนวนมหาศาลระหว่างตุรกีและกลุ่มประเทศมุสลิมในอนาคตอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในตอนนี้รายได้หลัก และกลุ่มคู่ค้าหลักของตุรกียังคงเป็นกลุ่มชาติในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญๆอย่าง เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ก็ตาม.
          ในไม่กี่ปีข้างหน้าเราคงจะได้เห็นตุรกีก้าวขึ้นมาเป็น 1 ใน 10 ประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลก และเป็นการลบฉายา “คนป่วยแห่งยุโรป”ที่ถูกเรียกคานมานานกว่า 80 ปี หลังจากล้มสลายของอาณาจักรออโตมาน ซึ่งอาจจะสวนทางกับกลุ่มประเทศยุโรปบางประเทศที่กำลังกลายมาเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป” แทน เพราะมีหนี้สิ้นล้นพ้นจนจ่ายคืนไม่ได้ อย่าง กรีซ ที่เป็นอยู่อย่างน่าเป็นห่วงในปัจจุบัน.
 
อ้างอิง

1 Wikipidia.(2011). Turkey . Available: www.http://en.wikipedia.org/wiki/ Turkey .Retrieved 25 July 2011.

2 Today Zaman. (2011). Increasing trade with Muslim countries becomes Turkey’s economic ‘oxygen’.

         Available: http://www.todayszaman.com. Retrieved 25 July 2011.

3 Ibid., Retrieved on 23th February 2011.
4. Ibid., Retrieved on 25th February 2011.

0 ความคิดเห็น: