ตอนที่ 3 ลิเบีย:จากการประท้วงสู่สงครามกลางเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลิเบียก่อนเหตุการณ์ชุมนุม
      ลิเบียถือเป็นประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือที่มักจะไม่ค่อยได้ยินชื่อบ่อยนักในเวทีการเมืองโลกในรอบหลายปีให้หลัง เนื่องจากดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นกลาง ไม่ฝักฝ่ายๆใด และต้องการปลีกตัวออกจากโลกภายนอกเหมือนรัฐบาลทหารพม่า แต่ก็ยังเข้าร่วมและมีบทบาทอยู่บ้างในองค์กรระดับภูมิภาคอย่างองค์การสันนิบาตอาหรับ(League of Arab)กลุ่มการค้าแอฟริกันเนชั้น(Common Market for Eastern and Southern Africa) และโอแปค(OPEC).

กัดดาฟี่ ผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจมานานกว่าหลายสิบปี

     ก่อนเกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของ มูอัมมัร กัดดาฟี่นั้นสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มอ่อนไหวและเปราะบางมากเนื่องจากเกิดการชุมนุมและเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างดุเดือดอย่างในอียิปต์,แอลจีเรีย,และตูนีเซีย เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รัฐสวัสดิการ และความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากลิเบียไม่ได้ใส่ใจประชาชนเท่าที่ควรทั้งๆที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันมหาศาล นอกจากนี้ลิเบียยังมีอัตราการว่างงานสูงถึง 1.64 ล้านคน[1] จากประชากรทั้งสิ้น 6,597,960 ล้านคน[2] นั้นหมายถึงจะมีคนว่างงาน 1 คนในทุกๆ 7 คน ซึ่งถือว่าสูงมาก และที่เหลือเชื่อคือ... ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งของประเทศ ราวๆ 4 ล้านคนเป็นคนจน! แถมราคาอาหาร  สินค้า และบริการยังขยับแพงขึ้นมาก ทำให้เกิดความไม่พอใจสะสมในหมู่ชาวลิเบียจนสุดท้ายกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชนวนในการก่อตัวประท้วงรัฐบาลขึ้น ซึ่งถือเป็นการประท้วงที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครแถบกล้าขึ้นมาประท้วงรัฐบาลแบบนี้ เพราะรัฐบาลกัดดาฟี่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดมาตลอด  

สถานการณ์หลังการชุมนุม

        เหตุการณ์การประท้วงในประเทศเพื่อนบ้านมีผลต่อการประท้วงของชาวลิเบียแบบไม่ต้องสงสัยเพราะการประท้วงของชาวลิเบียต่อกัดดาฟี่ใช้เวลาเพียงแค่สองสัปดาห์เศษๆก็กลายมาถึงขั้นปานปลาย รุนแรง และใช้อาวุธเลยทีเดียว และถึงแม้ว่ากัดดาฟี่จะพยายามระงับความรุนแรงของผู้ประท้วงด้วยการใช้กำลังทหารเข้าปรามปรามแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล เเถมซ้ำยังเป็นการเพิ่มความรุนแรงและหนักหน่วงของสถานการณ์เข้าไปอีก และถือเป็นการใช้นโยบายปราบปรามที่ผิดพลาดของกัดดาฟี่ เพราะเมื่อสถานการณ์เข้าขั้นรุนแรงเต็มแก่แล้ว ชาติมหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มสหภาพยุโรปที่กำลังรอจังหวะนี้จึงใช้โอกาสเข้ามาแทรกแซงและสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี่ทันที
        ที่แรกก็เป็นอเมริกาที่ร้อนเนื้อร้อนตัวยกกำลังทางอากาศและกองทัพเรือเข้ามายังทะเลดมิดิเตอร์เรเนียนและเปิดฉากโจมตีลิเบียในช่วงแรกแต่สุดท้ายแล้วกลับเปลี่ยนนโยบายกระทันหันให้องค์การสนธิสัญญานาโต้รับช่วงต่อแทน การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้มีความสำคัญและถือว่ามีนัยยะแอบแฝงเช่นเดียวกันที่ยังไม่มีใครทราบว่าแท้จริงแล้วอเมริกามีเหตุผลอะไรที่ต้องลดบทบาทตัวเองลงในการโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟี่ ส่วนตัวผมแล้วผมมองว่ามีเหตุผลหลักๆดังนี้
1.บารัค โอบามา ต้องการดึงคะแนนนิยมของตนเองขึ้นมา เพราะจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในไม่ช้านี้ ฉะนั้นการดำเนินนโยบายโจมตีลิเบียอาจจะถูกมองว่าค้านกับสิ่งที่ตนเองได้พูดออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะพยายามยุติสงครามในต่างแดนและถอนทหารกลับสหรัฐ.
2.ความรุนแรงในอัฟกันเริ่มรุนแรงขึ้นเช่นเดียวกันกับความล้มเลวในการรักษาความสงบในอิรัก หากเปิดแนวรบกับลิเบียอีกอาจจะรับมือสงครามครามทั้งสามด้านไม่ไหว อีกทั้งต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลในการโจมตีกัดดาฟี่ ซึ่งรัฐสภาคองแกรสของสหรัฐคงไม่อนุมัติงบประมาณก้อนโตนี้ไปง่ายๆแน่นอน.
3.ปัจจัยสุดท้ายนี้สำคัญมาก เพราะถึงแม้ว่าสหรัฐจะแสดงบทตีหน้าเศร้ายกเลิกการโจมตีลิเบียและมอบให้ นาโต้ จัดการแทน แต่ในความจริงแล้ว สหรัฐอเมริกาเองก็เป็นสมาชิกแกนนำหลักขององค์การนาโต้อยู่แล้ว และมีบทบาทสำคัญในองค์กรนี้ด้วย สรุปคือ อเมริกายังอยู่ เพียงแต่ซ้อนตัวอยู่ในรูปลักษณ์ของนาโต้นั้นเอง.

ราฟาล เครืองบินรบจากฝรั่งเศสที่ใช้เป็นกำลังหลักในการโจมตีของนาโต้
          
 จากการรับบทแทนสหรัฐของนาโตในการโจมตีลิเบียก็ยังเกิดขึ้นตลอดและรุนแรงขึ้นทุกวัน มีทั้งการสนับสนุนกำลังอาวุธ และความช่วยเหลือให้ฝ่ายต่อต้าน การกำหนดเขตห้ามบิน ร่วมถึงการโจมตีทางอากาศนับพันๆเที่ยว จากเครื่องบินรบล้ำสมัยของนาโต้ที่ยังไงๆลิเบียสู้ไม่ได้แน่นอน โดยเฉพาะเครื่องบินรบโจมตีจากอากาศสู่ภาคพื้นรุ่นราฟาลของฝรั่งเศส

อนาคตของลิเบีย
            อนาคตของลิเบียในระยะยาวนั้นยังวิเคราะห์กันลำบากครับเพราะตอนนี้ทางนาโต้เองยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของนโยบายการโค่นล้มกัดดาฟี่และนาโต้เองก็คงไม่ยอมเปิดเผยแผนการโค่นล้มกัดดาฟี่ให้สาธารณะชนได้ทราบกันอย่างแน่นอน ก็คงต้องเฝ้าดูเหตุการณ์กันต่อไป ส่วนในระยะสั้นนั้นผมมองว่า นาโต้คงจะใช้แผนเดิมคือการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโจมตีฐานที่มั่นของกองกำลังทหารกัดดาฟี่ เพื่อเป็นการตัดกำลังหลักของกัดดาฟี่ต่อไป  ร่วมถึงการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนฝ่ายต่อต้านที่ยังคงปักหลักต่อสู่กับรัฐบาลอย่างดุเดือดในเมืองทางภาคเหนือของประเทศ แต่ไม่แน่นะครับ ผมว่ามีความเป็นไปได้สูงเหมือนกันในอนาคตที่นาโต้อาจจะมีแผนรับรองสถานะของฝ่ายต่อต้านเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อต่อสู่โค่นล้มกัดดาฟี่ก็เป็นได้ เพราะหากนาโต้จะเข้ามาทำสงครามกับกัดดาฟี่ด้วยตัวเองด้วยการส่งทหารทางภาคพื้นก็คงจะดูเหมือนออกตัวแรงเกินไปหน่อย ทั้งๆที่นาโต้เองก็มีกฏ มีศักยภาพทางทหาร งบประมาณ และบทบาทหน้าที่จำกัด.

จากเเค่การประท้วงกลายมาเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปเเบบ

เหตุผลหลักๆของการโจมตีลิเบีย
ปัจจัยหลักๆที่มหาอำนาจต้องการโค่นล้มกัดดาฟี่มีดังนี้
1.ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ลิเบียผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าสธรรมชาติได้ถึง 1.5 ล้านบาเรลต่อวันและยังมีแหล่งน้ำมันดิบสำรอง เหล็ก และก๊าสอีกจำนวนมากที่อยู่ระหว่างการสำรวจและผลิต และนี้คือขุมทรัพย์ที่ประเมินค่าไม่ได้เลยสำหรับชาติมหาอำนาจที่ต้องการแสวงหาพลังงานในปัจจุบัน.
2.จุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร
สำหรับผมแล้วลิเบียเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดของแอฟริกา เนื่องจากอยู่ใจกลางตอนบนของทวีป มีพลังงานสำรองมาก เนื้อที่ประเทศกว้างขว้างติดต่อกับหลายประเทศทั้งทางทิศตะวันออกที่ติดกับอียิปต์ ซูดาน ทางทิศใต้ที่ติดกับ สาธารณรัฐชาด และมาลี ทางทิศตะวันตกที่ติดกับตูนีเซีย และแอลจีเรีย และที่สำคัญที่สุดติดกับทะเลมิดิเตอร์เรเนียนที่สามารถส่งกองทัพเรืองมาประจำการและอยู่ไม่ไกลจากทวีปยุโรป สามารถทำการลำเลียงพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ได้สบายอีกด้วย.

ตำเเหน่งที่ตั้งเเละทรัพยากรของลิเบียถือว่าดีมากครับในมุมมองของจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารเเละเศรษฐกิจ
เรียกได้ว่าเป็นประตูสู่เเอฟริกาได้สบายๆไม่เเพ้อียิปต์เลย
3.กำจัดผู้นำมุสลิมที่ไม่ได้อยู่ในโอวาทของมหาอำนาจ
พันเอก มูอัมมัร กัดดาฟี่ ถือเป็นผู้นำประเทศมุสลิมหนึ่งในไม่กี่คนในโลกอาหรับที่จัดว่าไม่ได้อยู่ในโอวาทของชาติมหาอำนาจ แถมยังแสดงความกล้าที่จะไม่ยอมอยู่ใต้การครอบงำ กดขี่ และเอาเปรียบของมหาอำนาจ เขาต้องการที่จะชูให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความมีเอกราช ศักดิ์ศรีของชาวลิเบียและพร้อมที่จะสละชีพเพื่อดินแดนของตัวเอง ตามความคิดและวิสัยทัศน์ของเขา จึงไม่แปลกที่มหาอำนาจพยายามที่จะโค่นล้มและสังหารเขาให้จงได้ และหากชาติมหาอำนาจทำได้ก็คงจะเป็นการ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ไว้เป็นตัวอย่างให้ชาติมุสลิมอื่นๆว่า “ควรเป็นเด็กดี และอยู่ในโอวาทของผู้ใหญ่เสมอ” และเมื่อมีคำกล่าวแบบนี้วนเวียนฉายซ้ำๆอยู่ในใจผู้นำโลกมุสลิมแล้วโลกมุสลิมก็คงจะอ่อนแอดังที่เคยเป็นไปอีกนาน.


[1] Wikipidia.(2011).Libya economy.Available: www.http://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Libya
 .Retrieved 30 June 2011.
[2] Indexmundi.(2011)Libya population.Available:http://www.indexmundi.com/libya./demographics_profile.html.Retrieved 18June 2011.

0 ความคิดเห็น: