ตอนที่ :10 ชาติมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียน 1(บรูไน)

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เป็นที่แน่นอนว่าการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่จะถึงนี้ย่อมจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อชาติทั้งหมดในอาเซียนซึ่งตอนนี้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด11 ประเทศ ยกเว้น ติมอร์เลสเต ที่ยังมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ ในส่วนของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน นับเป็นสามประเทศมุสลิมในอาเซียนที่มีบทบาทมาตลอดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และทั้งสามประเทศมุสลิมนี้คงต้องเพชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประชาคมอาเซียน หมายถึง ประชาคมเดียวกันที่มีอิสระในการเคลื่อนย้ายของ การค้า เงินทุน แรงงาน  ภาษาและวัฒนธรรม 
ในตอนที่ 1 นี้ผมจะพูดถึงประเทศบรูไนก่อนครับ

เรื่องหลังบ้านของบรูไน
          บรูไนเป็นประเทศที่เล็กเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากสิงคโปร์และติมอร์ แต่นั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการอยู่รอดของชาวบรูไนแต่อย่างใดเพราะบรูไนมีประชากรไม่มากและที่สำคัญประเทศบรูไนมีทรัพยากรก๊าชและน้ำมันเต็มไปหมดจนสามารถพัฒนาพลังงานเหล่านี้ขึ้นมาใช้และขายได้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ ในส่วนของความเป็นอยู่ของชาวบรูไนนั้นถือว่ามีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ มีการงานอาชีพ รัฐสวัสดิการ และการศึกษาที่ทั่วถึง ที่สำคัญบรูไนมีความพร้อมในเรื่องของการเป็นผู้นำ เนื่องจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 นี้จะเป็นคิวของบรูไนที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

ซุลตาน ฮัสสัน อัลโบลเกียห์ เเห่งบรูไน
          จากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในปี 2015 นี้บรูไนย่อมต้องปรับตัวอย่างมากเหมือนๆกับชาติอื่นๆในอาเซียนโดยเฉพาะการปรับตัวด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ

1.บรูไนจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น

ในฐานะที่เป็นประเทศเล็กไม่มีทรัพยากรป่าไม้และการเกษตร ทำให้บรูไนต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่แล้ว โดยเฉพาะอาหาร อุปกรณ์อิเล็กโรนิกส์ ยา เครื่องนุ่งห่ม และ ยานยนต์ เมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นแล้วบรูไนจะมีอัตราการนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าในอาเซียนจะปรับภาษีเป็น 0% ทำให้ราคาสินค้าเกือบทุกชนิดถูกลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ บรูไนจะหันมานำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกกันเองมากขึ้นและลดการน้ำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆลง

บรูไนเป็นผู้นำเข้ารถหรูรายใหญ่ของโลกเเละภาษีน้ำเข้าก็ต่ำด้วย


2.แรงานและคนต่างด้าวจะเพิ่มขึ้น

นี้เป็นข้อเสียข้อหนึ่งที่บรูไนต้องยอมรับเพราะบรูไนมีประชากรแค่ 401,890 คน(en.wikipedia.org/wiki/Brunei) ทำให้บรูไนมีทรัพยากรบุคคลน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน แม้แต่ในประเทศตนเองที่ต้องจ้างแรงานต่างชาติเข้ามา ด้วยเหตุนี้บรูไนจึงไม่สามารถแข่งขันด้านแรงงาน และการพัฒนาฝีมือแรงานกับชาติอื่นๆได้ ทำให้บรูไนต้องอนุญาตให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ และแน่นอนประชากรแฝงในบรูไนจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนแน่นอน.

3.เศรษฐกิจบรูไนจะขยายตัว

เศรษฐกิจบรูไนจะขยายตัวมากขึ้นตามจำนวนการค้า การส่งออก และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของประชาชน โดยการค้าพลังงานก๊าช น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จะยังคงเป็นรายได้หลักของประเทศบรูไน แถมยังจะมีลูกค้ารายใหม่ๆในอาเซียนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศในอาเซียนที่ต้องการใช้พลังงานสูงในภาคอุตสาหกรรม การโยธา เครื่องจักรกลหนัก และการผลิต รองลงมาจะเป็นรายได้จาก การส่งออกอาหารฮาลาล

 เเท่งขุดเจาะน้ำมันเเละก๊าชในทะเลบรูไน

4.ชาวบรูไนจะไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น

คนบรูไนส่วนใหญ่เป็นคนรวย มีเงินทุน แต่จะลงทุนในประเทศลำบาก เพราะขนาดของเศรษฐกิจในประเทศมีขนาดเล็ก เมื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นชาวบรูไนก็จะแห่ไปลงทุนในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะลงทุนในภาคการเกษตร อาหาร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลงทุนในอินโดนีเซีย ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม และจะสามารถนำเม็ดเงินจำนวนมหาศาลกลับเข้าประเทศตนเอง

5.บรูไนจะพัฒนาตนเองเป็นศูนย์ผลิตและส่งออกอาหารหาลาล

ไม่เพียงแค่มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซียเท่านั้นที่เพิ่มกำลังการผลิตอาหารฮาลาล บรูไนก็เช่นกัน บรูไนพยายามพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลด้วยแต่อาจจะเสียเปรียบหน่อยเพราะศักยภาพในหลายๆด้านอาจจะสู้อินโดนีเซียและมาเลเซียไม่ได้ เช่นในเรื่องวัตถุดิบและแรงงาน

6.บรูไนจะพัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลางการค้าให้กับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

เมื่อการค้าในอาเซียนเติบโตและมีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในอาเซียนมากมาย บรูไนเลยเกิดไอเดียที่จะสถาปนาบรูไนให้เป็น(Hub)ศูนย์กลางการค้าการลงทุนให้กับชาวต่างชาติในอาเซียนเสียเลยโดยเฉพาะการลงทุนจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบรูไนมากนักและมีกำลังการซื้อ กำลังการลงทุนสูง  ซึ่งจะทำให้บรูไนมีรายได้มากขึ้นจากภาคการลงทุน

สนามบินนานาชาติเเห่งใหม่ของบรูไนเพื่อรองรับการพัฒนาด้านการลงทุน เเละศูนย์กลางการค้าของออสเตรเลีย/ นิวซีเเลนด์
       
เหล่านี้เป็นเพียงแค่ผลประโยชน์และผลเสียหลักๆเท่านั้นที่จะเกิดกับบรูไนหลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ส่วนในรายละเอียดนั้นไม่ขอกล่าวถึงเพราะมีรายละเอียดเยอะมาก

การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
1. ภาษา
การเปลี่ยนแปลงด้านภาษาถือว่าบรูไนได้เปรียบมาก เพราะโดยทั่วไปชาวบรูไนใช้ภาษามาเลย์อยู่แล้ว(ภาษาราชการ) และยังใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอีกด้วย จึงสามารถรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้สบายๆทั้งในด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน
2. ศาสนาและวัฒนธรรม
ชาวบรูไนมีความเชื่อ ยึดมั่นในศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมความเป็นบรูไนสูงมาก แต่ถึงกระนั้นเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนก็ย่อมนำพามาซึ่งวัฒนธรรมและศาสนาใหม่ๆของชาติอื่นๆมาด้วย แต่ด้วยความที่มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาเดียวกัน และมีวัฒนธรรมคล้ายกันก็คงทำให้วัฒนธรรมของชาวบรูไนเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และจะยังคงความเป็นมาเลย์ บรูไน แบบดั่งเดิมต่อไป

วิธีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นบรูเนียนของคนบรูในนั้นสูงมากครับ เค้ารักและพร้อมทีจะอนุรักษ์อัตลักษณ์ของพวกเค้า

 3.การศึกษา
บรูไนจะเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากบรูไนมีจุดแข่งในเรื่องของการใช่ภาษามาเลย์และอังกฤษ ที่ชาวบรูไนสามารถใช้ได้ดีเหมือนชาวมาเลเซีย คาดการณ์กันว่ารัฐบาลบรูไนจะเพิ่มจำนวนทุนการศึกษา สาขาวิชาใหม่ๆ ปรับหลักสูตรการเรียน และลดค่าเทอมลงสำหรับชาวต่างชาติในอนาคต

การศึกษาและรัฐสวัสดิการของบรูในมีมาตรฐานสูงมาก ทุกคนจะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐบาลตั้งแต่เกิด

0 ความคิดเห็น: