ตอนที่ 9 : บาห์เรนกับปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

           ปฏิเสธไม่ได้ว่าบาห์เรนซึ่งเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการลุกฮือขึ้นประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของหลายๆชาติในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีผละกระทบไม่มากถึงขนาดเกิดการโค่นล้มรัฐบาลและก่อการจลาจลขั้นรุ่นแรงเหมือนอียิปต์และลิเบีย แต่บาห์เรนก็เป็นประเทศเดียวในตอนนี้ที่ประกาศลงดาบสั่งจำคุกมวลชนที่ก่อการประท้วงด้วยคดีอาญาสูงสุดถึง15 ปีแล้ว ถึงแม้จะถูกองค์นานาชาติต่างๆวิจารณ์ก็ตาม จากการออกมาประท้วงของประชาชนบาห์เรนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ประชาชนอยู่ดีกินดีขนาดนี้ แสดงว่าการเมืองภายในต้องมีปัญหา!
           บาห์เรนเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลกอาหรับ สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย มีอาณาเขตกว้างเพียงแค่ 750 ตารางกิโลเมตร บวกกับประชากรอีกเพียงแค่ 1,234,596 คน เท่านั้น แต่ถึงแม้ประเทศจะเล็กแต่ด้วยจำนวนทรัพยากรน้ำมันและก๊าชอันมากมายทำให้ประเทศนี้มีจำนวนรายได้จำนวนมหาศาลต่อปี ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีระบบสาธารณูปโภคที่เพียบพร้อม และมีการศึกษาที่ทั่วถึง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าประชาชนทั้งหมดจะพอใจและมีความสุขกับสิ่งที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้ เพราะประชาชนบางส่วนยังมีแนวคิดต่อต้านการปกครองของกษัตริย์ของตัวเอง และมีความชื่นชอบระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกสะสมอยู่แล้ว เมื่อมีสถานการณ์ประท้วงอย่างหนักจากประเทศรอบข้างอย่างในอียิปต์ ตูนีเซีย เยเมน และซีเรีย ก็มีส่วนกระตุ้นให้กลุ่มคนพวกนี้ในบาห์เรนออกมาประท้วงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในประเทศตัวเองด้วย และเหตุการณ์ในบาห์เรนก็เกือบจะปานปลายด้วยซ้ำไปจนถึงขั้นที่รัฐบาลบาห์เรนต้องของความช่วยเหลือจากซาอุฯและอิมิเรสต์ในการเข้ามาช่วยปราบปรามผู้ประท้วงและนำบาห์เรนกลับเข้ามาสู้ความสงบอีกครั้ง


            จนถึงตอนนี้เหตุการณ์การประท้วงในบาห์เรนได้สงบลงแล้วกว่าสามเดือน และศาลสูงของบาห์เรนก็ทยอยอ่านคำพิพากษาจำคุกเหล่าผู้ประท้วงในความผิด “ก่อความไม่สงบต่อความมั่นคงของประเทศ” ถึง 15 ปี และมีแนวโน้มว่าจะมีการพิจารณาพิพากษาเพิ่มเติมอีกในอนาคตอันใกล้กับกลุ่มผู้ประท้วงที่ยังตกค้าง
จากประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ถึงตรงนี้เราสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยหลักๆที่มีผลกระทบต่อความไร้เสถียรภาพของบาห์เรนที่มิอาจหลีกเหลียงหรือควบคุมการลุกฮือของประชาชนได้ดังนี้ 

1.การกุมอำนาจเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์อัลคอลีฟาห์
        การกุ่มอำนาจในตำแหน่งสำคัญๆของประเทศเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์อัลคอลีฟาห์ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบาห์เรนไม่พอใจต่อการทำงานของรัฐบาล นอกจากตำแหน่งประมุขของประเทศแล้ว ตำแหน่งสำคัญๆต่างๆในรัฐบาลส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกษัตริย์ที่จะมักจะส่งพระเชษฐา,มงกุฎราชกุมาร,และเครือญาติไปดำรงตำแหน่งด้วยการแต่งตั้ง ทำให้ชาวบาห์เรนบางส่วนมองว่าไม่ยุติธรรม และควรที่จะพิจารณาบุคคลทั่วไปเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศบ้าง มิฉะนั้นผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่กับกลุ่มชนชั้นสูงเพียงกลุ่มเดียว


King Hamad bin Isa Al Khalifa กษัตริย์คนปัจจุบันของราชอานาจักรบาห์เรน

2.ความแตกแยกด้านนิกาย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยของประเทศบาห์เรนนับถือนิกายซีอะห์ เพราะในสมัยก่อนบาห์เรนเคยเป็นจังหวัดหนึ่งประเทศของอิหร่านมาก่อน ก่อนที่จะแยกตัวออกมาในภายหลัง กลุ่มชีอะห์นี้ก็ไม่ค่อยจะพอใจกับระบบการปกครองของประเทศมากนัก เพราะกลุ่มที่ควบคุมอำนาจของประเทศอยู่คือกลุ่มซุนนี่นั้นเอง แม้กระทั้งราชวงค์อัลคอลีฟาห์เองก็เป็นซุนนี่ด้วยเช่นกัน ด้วยการนับถือนิกายที่แตกต่างกันของประชาชนในประเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศบาห์เรนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ที่ผ่านมาความแตกแยกระหว่างสองกลุ่มนิกายนี้ไม่ได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นมาเท่านั้น

จากตารางจะเห็นได้ว่า มีชาวบาห์เรนกว่า 61% นับถือนิกายชีอะห์ นั้นหมายความว่าที่เหลืออีก 39% นั้นเป็นซุนนี่ เเละเป็นกลุ่มที่ครอบครองตำเเหน่งทางรัฐบาลได้มากกว่าชาวชีอะห์

3.กระแสกระตุ้นจากนอกประเทศ
ถึงแม้เสถียรทางการเมืองในบาห์เรนจะทรงตัวมาตลอด แต่ด้วยแรงกระตุ้นอย่างหนักจากนอกประเทศอย่างการลุกฮือประท้วงในชาติอาหรับอื่นๆก็ย่อมมีผลต่อการลุกฮือของประชาชนในประเทศด้วยเช่นกัน ทำให้กลุ่มประชาชนที่มีความรู้สึกเก็บกด และอัคติกับรัฐบาลรวมตัวกันออกมาประท้วงด้วย จากการรายงานของรัฐบาลพบว่ากลุ่มผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิผลและมีแนวคิดด้านลบต่อรัฐบาลอยู่แล้ว เนื่องจากมองว่า ทั้งตำแหน่งประมุข รัฐบาล และหน่วยงานสำคัญๆต่างๆล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มซุนนี่ โดยเฉพาะจากกลุ่มของราชวงค์อัลคอลีฟาห์นั้นเอง

ข้อเรียกร้องของชาวบาห์เรนก็ได้อิทธิผลมาจากการประท้วงในประเทศเพื่อนบ้านดีๆนั้นเอง คือ เรียกร้องประชาธิปไตยจากผู้นำประเทศ

       จากปัจจัยหลักๆทั้งสามข้อที่มีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของบาห์เรนนั้น  ทำให้เรามองได้ว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนอาจจะไม่ใช้การประท้วงครั้งสุดท้ายและร้ายแรงที่สุดสำหรับบาห์เรน แต่มันอาจจะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคตหากยังมีกระแสการลุกฮือของชาติต่างๆในโลกอาหรับออกมาเรื่อยๆ ผสมกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอย่างปัญหาความคิดแตกแยกด้านนิกายและการกุมอำนาจเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์คอลีฟาห์ที่ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลบาห์เรนมีแนวทางที่ชัดเจนหรือยังในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อย่างน้อยๆหากรัฐบาลบาห์เรนเต็มใจที่จะแก้ไขปัญหาหลักๆในประเทศเหล่านี้ก็น่าจะลดโอกาสของการลุกฮือของประชาชนในอนาคตได้ ถึงแม้จะยังมีกระแสรบกวนจากภายนอกเข้ามาก็ตาม.

0 ความคิดเห็น: