ตอนที่ 19: เมื่ออัลกุรอานถูกเผ่า ชาวอัฟกันจะทนได้เยี่ยงไร

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เป็นประเด็นร้อนมาเกือบหนึ่งสัปดาห์แล้วกรณีทหารสหรัฐในฐานทัพอากาศ Bagram air base ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในนามกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานได้เผ่าอัลกุรอานเพราะเกรงว่าผู้ถูกคุมขังชาวอัฟกันจะใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกันในสถานคุมขัง แต่หลังจากนั้นปรากฏว่าได้มีผู้ถูกคุมขังไปพบอัลกุรอานที่ถูกเผ่าเข้าซึ่งถูกทิ้งอยู่ในถังขยะ  ด้วยเพราะเหตุนี้จึงได้สร้างความไม่พอใจให้ชาวอัฟกานิสถานเป็นอย่างมากและรวมตัวกันออกมาประท้วงตามท้องถนนและสถานที่สำคัญๆของสหรัฐในที่สุด ข่าวนี้กำลังเป็นข่าวดังข่าวหนึ่งในรอบสัปดาห์นี้ที่ทั่วโลกจับตามอง เพราะจะรอดูท่าทีของสหรัฐว่าจะออกมาแสดงความขอโทษหรือแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นใด

การประท้วงในกรุงคาบูล

จากการประท้วงที่เกิดขึ้นมากว่าห้าวันการประท้วงมีความรุนแรงมากขึ้น และเริ่มขยายไปในหลายพื้นที่ของอัฟกานิสถานจากแค่กรุงคาบูลไปยังจังหวัดมาซัรอัซซารีฟ,เฮราด,ซินดาน,ยาลาลาบัด,การ์เดส,และอัดราสคาน เป็นต้น(1) การประท้วงที่เพิ่มขึ้นทำให้ในขณะนี้มียอดผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 20 คน รวมถึงทหารสหรัฐอีก 2 นาย (2) นอกจากนี้สำนักข่าวหลายแห่งยังรายงานว่ากลุ่มผู้ประท้วงยังคงมีประท้วงและพยายามเข้าไปทำลายสถานกงสุลและสถานที่สำคัญๆอื่นๆของสหรัฐอีกด้วย(3) และคาดการณ์กันว่าเหตุการณ์ประท้วงในครั้งนี้ของชาวอัฟกันจะไม่จบลงง่ายๆในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน.

จังหวัดที่มีการประท้วงตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา


เหตุการณ์นี้มีข้อที่น่าวิเคราะห์ดังนี้ครับ
1.การออกมากล่าวขอโทษและรับรองว่าจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้อีกของผู้นำสหรัฐและผู้นำหน่วยงานกองทัพสหรัฐในอัพกานิสถานที่มีต่อผู้นำและประชาชนชาวอัฟกานิสถานนั้นคงไม่สามารถเยียวยาความเจ็บปวดของมุสลิมได้ เพราะสำหรับมุสลิมอัลกุรอานเป็นคำตรัสของอัลเลาะห์ที่ผู้อ่านต้องให้เกียรติและเก็บรักษาไว้ในที่ๆเหมาะสม(4) ฉะนั้นการเผ่าอัลกุรอานจึงถือเป็นการลบหลู่และดูหมิ่นศาสนาอย่างร้ายแรงที่ไม่ควรกระทำ ซึ่งมิใช้เฉพาะอิสลามเท่านั้น ศาสนาอื่นๆก็เช่นเดียวกันหากมีการเผ่าพระมหาคำภีร์เช่นนี้ก็คงมีการประท้วงขึ้นมาอย่างแน่นอน เป็นที่น่าสังเกตว่านี้ไม่ใช้ครั้งแรกที่มีการเผ่าอัลกุรอาน แต่มีการเผ่ามาหลายครั้งแล้วเนื่องจากความมีอัคติ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 9/11 เป็นต้นมา

2.เหตุการณ์ในครั้งนี้จะทำให้ชาวอัฟกันไม่พอใจสหรัฐมากยิ่งขึ้นและทางฝ่ายตอลิบันคงใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องเตือนสติชาวอัฟกันให้เห็นถึงความก้าวร้าวและการละเมิดสิทธิในเรื่องศาสนาของทหารสหรัฐ และปลุกชาวอัฟกันให้ลุกขึ้นสู้กับนาโตและสหรัฐเพื่อที่จะขับไล่ออกจากประเทศ ซึ่งเราต้องจับตาดูว่าสถานการณ์ในอัฟกานิสถานจะพัฒนาต่อไปในแนวใด
3.การถอนทหารออกจากอัฟกันของผู้นำสหรัฐยังคงเป็นเรื่องที่ต้องพูดถึงเพราะปัจจุบันถึงแม้จะมีการถอนทหารออกไปก็จริงแต่ก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ผมมองว่า สหรัฐจะไม่มีวันถอนทหารออกจากอัฟกันจนหมดแน่นอน คงจะมีการตรึงกำลังจำนวนหนึ่งไว้ในอัฟกานิสถานต่อไปเพราะอัฟกานิสถานยังมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมัน ก๊าซ และทองคำเป็นจำนวนมากที่ใครๆก็อยากได้ และยังเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์ทางการทหารที่ดีมากของเอเชียเลยก็ว่าได้ เนื่องจากอัฟกานิสถานมีดินแดนติดกับจีน,อิหร่าน, ปากีสถาน, เอเชียกลาง, และไม่หางจาก รัสเซีย,อินเดียอีกด้วย การตรึงกำลังของสหรัฐในอัฟกานิสถานแบบนี้จะเป็นการคานอำนาจกับจีน, รัสเซีย, อิหร่าน, และอินเดียไปในตัวได้อีกด้วย

 ที่ตั้งของอัฟกานิสถานที่เห็นได้ว่าติดกับหลายประเทศและเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์ที่ดีมากทางการทหาร

References:
(1)        (1)  BBC. Afghanistan Koran protests claim more lives. Available: http://www.bbc.co.uk/news/world-asia. Retrieved on 25th February 2012.
(2)        (2)  Ibid, http://www.bbc.co.uk/news/world-asia. Retrieved on 25th February 2012.

(3)          Al-Jazeera. Afghan Protests Live Blog. Available: http://blogs.aljazeera.net/liveblog/Afghan-Protests.Retrieved on 25th  February 2012.

(4)          Leadership. Four Killed, Many Wounded In Afghan Koran Protests.Available: http://leadership.ng/nga/articles .Retreived on 25th February 2012.

ตอนที่ 18 : สหประชาชาติลงมติรับรองแผนแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรีย

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมื่อวานที่ผ่านมา(16-2-2012) สหประชาชาติสำนักงานใหญ่ที่กรุงนิวยอกค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการเรียกประชุมด่วนเพื่อพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการนองเลือดและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซีเรีย หลังจากที่มีการประท้วงของประชาชนต่อประธานาธิปดี อัล อัสสาด มานานต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว และจนถึงปัจจุบันทางรัฐบาลซีเรียของอัล อัสสาดก็ยังคงใช้กำลังทหารเข้าปรามปรามผู้ประท้วงอย่างต่อเนื่องจนมีผู้เสียชีวิตและบาทเจ็บนับหมื่นคน และขยายวงกว้างจนถึงขั้นกลุ่มผู้ประท้วงจัดตั้งกองกำลังต่อสู่กับ รบ.ของอัล-อัสสาด แล้วภายใต้ชื่อ Free Syrian Army (FSA)(1)
ในการลงมติในครั้งนี้ปรากฏว่าประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ลงมติเห็นด้วย 137 ต่อ 12 ให้รับแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียซึ่งเสนอโดยอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับ(Arab League)โดยแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การยุติการใช้กำลังและการเข่นฆ่าผู้ประท้วงเท่านั้นแต่ยังหมายถึงความพยายามของอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับที่จะดึงประธานาธิบดี อัล-อัสสาด ลงจากตำแหน่งอีกด้วย

คณะทูตถาวรซีเรียประจำสหประชาชาติในระหว่างการประชุมลงมติ นำโดย Bashar Jaafari
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีบางประเทศที่ลงมติไม่รับแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียซึ่งเสนอโดยอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับ โดยกลุ่มประเทศหลักๆได้แก่ อิหร่าน จีน ซีเรีย และรัสเซีย โดยในส่วนของรัสเซีย นาย Vitaly Churkin ทูตประจำสหประชาชาติของรัสเซียให้เหตุผลในการไม่รับแผนว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ภายในของซีเรียซึ่งซีเรียต้องแก้ไขด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางการเมืองเช่นการจัดการเลือกตั้งใหม่หรือการยุบสภา เป็นต้น ส่วนจะกล่าวหาว่า รบ.ซีเรียทำผิดฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกเพราะฝ่ายต่อต้านเองก็ใช้ความรุ่นแรงต่อรัฐบาลด้วยเช่นกัน ด้านนาย Wang Min ทูตประจำสหประชาชาติของจีนให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ภายในของซีเรียที่ไม่ถึงขั้นต้องได้รับการแทรกแซงจากต่างชาติ และเป็นหน้าที่ของ รบ.ซีเรียที่จะต้องแก้ไขด้วยตนเอง ไม่ต่างไปจากอิหร่านที่ให้เหตุผลในทำนองนี้เช่นเดียวกัน ในส่วนของทูตซีเรียประจำสหประชาชาตินาย Bashar Jaafari เองก็ลงมติไม่เห็นด้วยการแผนการแทรกแซงในครั้งนี้เพราะมองว่าจะยิ่งทำให้เกิดความวุ่นวาย การนองเลือด และสูญเสียมากกว่าที่เป็นอยู่(2)

ผลการลงมติที่ปรากฏบนหน้าจอของห้องประชุมสหประชาชาติ มีทั้งประเทศที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง

ข้อน่าสังเกต
       เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้ยังให้การสนับสนุนเก้าอี้ของ รบ.ของอัล อัสสาด และยังมีความเห็นต่างกับกลุ่มชาติตะวันตกและกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับอยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์บางอย่างกับ รบ.ซีเรีย นอกจากนี้อาจจะเป็นแนวคิดของ จีน อิหร่าน และ รัสเซียด้วย ที่ไม่อยากเห็นกลุ่มชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซง ก่อกวนในภูมิภาคตะวันออกกลางมากนัก หลังจากที่ก่อนหน้านี้กลุ่มชาติตะวันตกมีบทบาทสูงในการเข้ามาแทรกแซงลิเบีย อิรัก และประเทศอื่นๆในโลกอาหรับในช่วงการลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับ(Arab Springs)
       อีกประเด็นหนึ่งคือ กลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่อยากให้กลุ่มชาติตะวันตกเข้ามามีอำนาจ มีอิทธิผล และครอบงำกิจการระว่างประเทศในตะวันออกกลางซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ และการเมืองของจีน รัสเซีย ที่มีต่อกลุ่มประเทศอาหรับบางประเทศในตะวันออกกลางนั้นเอง โดยเฉพาะในเรื่องของผลประโยชน์น้ำมัน การขายอาวุธ การค้า และอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆที่มีมูลค่ามหาศาล

ความรุ่นแรงในซีเรียยังคงดำเนินต่อเนื่องและหนักหน่วง ในภาพคือกลุ่ม Free Syrian Army (FSA)

อ้างอิง
(1)                  Al- Jazeera. UN assembly condemns Syria crackdown. Available: http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/02/201221621362371553.html. Retriewed on 17th February 2012.

(2)                                  BBC. Syria crisis: UN assembly adopts Arab-backed resolution. Available: http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-17065056.Retriewed on 17th February 2012


ตอนที่ 17 : สาธารณรัฐมาลี: “กบฏ” ไม่มีคำว่าล้าสมัย

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อันที่จริงแล้วมีเรื่องและประเด็นทางการเมืองในโลกมุสลิมหลายประเด็นที่ผมอยากจะวิเคราะห์และกำลังอยู่ในความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เช่น กรณีในซีเรีย มัลดีฟส์ ปากีสถาน และอียิปต์ แต่ผมเลือกที่จะนำเสนอบทวิเคราะห์ประเด็นการก่อกบฏในประเทศมาลีครับ เพราะผมไม่เคยนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศมาลีมาก่อน และคิดว่าหลายคนยังไม่รู้จักประเทศมาลีครับ เลยถือโอกาสนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศมาลีในตอนที่17 นี้ครับ
เป็นปกติไปแล้วสำหรับประเทศมาลีที่เกิดการก่อกบฏต่อสู้รัฐบาล ล่าสุดเกิดการก่อกบฏเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมาและจนถึงปัจจุบันเหตุการณ์ยังน่าเป็นห่วง ประชาชน อยู่ในสถานการณ์อันตราย อดอยาก และลี้ภัยออกนอกประเทศไปแล้วเป็นจำนวนมาก

แต่ครั้งนี้การก่อกบฏนั้นไม่ใช่การก่อกบฏเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้นแต่ถึงขั้นต้องการแบ่งแยกเป็นเอกราช  การก่อกบฏครั้งนี้เป็นการก่อกบฏโดยกลุ่มชนเผ่า Tuareg (ตูวาแร็ค)  ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศมาลีมีประชากรราว 941,000 คน(1) โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในการต่อสู้กับทางรัฐบาลว่า Azawad National Liberation Movement หรือ (MNLA) โดยกลุ่มตูวาแร็ค  มีอาวุธ กำลังทหาร และปัจจัยสนับสนุนมากพอที่จะสู้กับรัฐบาลกลางมาลีได้ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนด้านยุทธ์ปัจจัยและนักรบบางส่วนมาจากอดีตทหารเก่าของ มูอัมมัร กัดดาฟี อดีตประธานาธิบดีลิเบียด้วย  กลุ่มกบฏได้เริ่มการโจมตีหัวเมืองทางตอนเหนือของประเทศมาอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วงตั้งแต่กลางเดือนมกราคมจนถึงปัจจุบันจนเกิดการปะทะกับกองทัพของรัฐบาลมาลีและเริ่มขยายวงกว้างเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบแล้ว โดยเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มคือการแบ่งแยกจังหวัด Kidal ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ขนาดกลางทางภาคเหนือของมาลีเป็นประเทศเอกราชจากมาลีให้ได้


จังหวัด Kidal ทางภาคเหนือของมาลี

แต่ถึงกระนั้นก็คงไม่ง่ายอย่างแน่นอนเพราะรัฐบาลมาลีภายใต้การนำของประธานาธิบดี Amadou Toumani Toure’ คงจะสู้และพยายามปราบกลุ่มกบฏ Tuareg นี้ให้ได้อย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมามาลีก็เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม การก่อกบฏมามากพอแล้ว ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของมาลีพังพินาศ  ประชาชนอดอยาก ขาดแคลนอาหาร  และอยู่ในสภาวะไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หากยิ่งปล่อยให้กลุ่มกบฏ Tuareg ได้โจมตีรัฐบาลและมีสงครามการเมืองต่อเนื่องแล้ว ประเทศมาลีคงจะเกิดการสูญเสียในหลายๆด้านไปมากกว่านี้ และอาจทำให้รัฐบาลอ่อนแอ พ่ายแพ้ และเสียดินแดนทางภาคเหนือให้กลุ่ม Tuareg ประกาศเอกราชไปได้ง่ายๆ


กองทัพของรัฐบาลมาลี 

กองกำลังของฝ่ายกบฏ
 จากภัยสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ปัจจุบันมีชาวมาลีซึ่งเป็นชาวมุสลิมมากถึง 90% (2) ของประชากรทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อน อดยาก ขาดแคลนอาหาร และยารักษาโรค ซ้ำเติมขึ้นไปอีก โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยในขณะนี้ทางข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติในประเทศไนเจอร์ (The UN Refugee Agency) ได้ประมาณการณ์ว่ามีชาวมาลีอพยพออกนอกประเทศมากแล้วถึง22,000 (3) และยังมีเพิ่มขึ้นมาทุกวันราวๆวันละ 6,000 คน (4) ซึ่งในไม่ช้าก็จะเกิดปัญหาขึ้นแน่นอน เพราะประเทศเพื่อนบ้านมาลีที่ประชาชนลี้ภัยไปก็ไม่ใช้ประเทศร่ำรวย และมีขีดจำกัดในการรองรับประชาชนผู้เดือดร้อนจากภัยสงครามกลางเมืองจากมาลี


สภาพผู้ลี้ภัยสงครามชาวมาลีในประเทศไนเจอร์

สำหรับสาเหตุของการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของกลุ่มในครั้งนี้สามารถวิเคราะห์ได้ 3 แนวทางหลักๆดังต่อไปนี้ครับ
1. เพราะไม่พอใจต่อรัฐบาลมาลีในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความอยากจน ความอดอยาก และสวัสดิการจากภาครัฐ
2. เพราะไม่พอใจรัฐบาลมาลีที่มีแนวนโยบายต่างประเทศสนับสนุนและเป็นมิตรกับชาติตะวันตกมากขึ้นโดยเฉพาะภายใต้การบริหารประเทศของ Amadou Toumani Toure’
3. เพราะมีความสัมพันธ์อันดีและได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทหารและเครือข่ายเก่าของอดีตประธานาธิบดี มูอัมมัร กัดดาฟีของลิเบีย ที่ตอนนี้ยังมีบางส่วนลี้ภัยกระจัดกระจายในประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งมาลีด้วย โดยเฉพาะที่จังหวัด Kidal ของกลุ่มกบฏ

Amadou Toumani Toure’ ประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐมาลีคนปัจจุบัน

References:
(1) Wikipedia. Tuareg. Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Taureg_people. Retrieved on 8th February 2012.
(2) Ibid, Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Taureg_people. Retrieved on 8th February 2012.
(3) Al-Jazeera. Malian refugees in Niger. Available: http://www.aljazeera.com/news/africa. Retrieved on 8th February 2012.
(4) Ibid, Available:http://www.aljazeera.com/news/africa. Retrieved on 8th February 2012.
Other source:
Wikipedia. Mali. Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Mali. Retrieved on 8th February 2012.