ตอนที่ 18 : สหประชาชาติลงมติรับรองแผนแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรีย

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมื่อวานที่ผ่านมา(16-2-2012) สหประชาชาติสำนักงานใหญ่ที่กรุงนิวยอกค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการเรียกประชุมด่วนเพื่อพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการนองเลือดและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซีเรีย หลังจากที่มีการประท้วงของประชาชนต่อประธานาธิปดี อัล อัสสาด มานานต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว และจนถึงปัจจุบันทางรัฐบาลซีเรียของอัล อัสสาดก็ยังคงใช้กำลังทหารเข้าปรามปรามผู้ประท้วงอย่างต่อเนื่องจนมีผู้เสียชีวิตและบาทเจ็บนับหมื่นคน และขยายวงกว้างจนถึงขั้นกลุ่มผู้ประท้วงจัดตั้งกองกำลังต่อสู่กับ รบ.ของอัล-อัสสาด แล้วภายใต้ชื่อ Free Syrian Army (FSA)(1)
ในการลงมติในครั้งนี้ปรากฏว่าประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ลงมติเห็นด้วย 137 ต่อ 12 ให้รับแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียซึ่งเสนอโดยอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับ(Arab League)โดยแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การยุติการใช้กำลังและการเข่นฆ่าผู้ประท้วงเท่านั้นแต่ยังหมายถึงความพยายามของอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับที่จะดึงประธานาธิบดี อัล-อัสสาด ลงจากตำแหน่งอีกด้วย

คณะทูตถาวรซีเรียประจำสหประชาชาติในระหว่างการประชุมลงมติ นำโดย Bashar Jaafari
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีบางประเทศที่ลงมติไม่รับแผนการแก้ไขปัญหาการนองเลือดในซีเรียซึ่งเสนอโดยอียิปต์และกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับ โดยกลุ่มประเทศหลักๆได้แก่ อิหร่าน จีน ซีเรีย และรัสเซีย โดยในส่วนของรัสเซีย นาย Vitaly Churkin ทูตประจำสหประชาชาติของรัสเซียให้เหตุผลในการไม่รับแผนว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ภายในของซีเรียซึ่งซีเรียต้องแก้ไขด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางการเมืองเช่นการจัดการเลือกตั้งใหม่หรือการยุบสภา เป็นต้น ส่วนจะกล่าวหาว่า รบ.ซีเรียทำผิดฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกเพราะฝ่ายต่อต้านเองก็ใช้ความรุ่นแรงต่อรัฐบาลด้วยเช่นกัน ด้านนาย Wang Min ทูตประจำสหประชาชาติของจีนให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ภายในของซีเรียที่ไม่ถึงขั้นต้องได้รับการแทรกแซงจากต่างชาติ และเป็นหน้าที่ของ รบ.ซีเรียที่จะต้องแก้ไขด้วยตนเอง ไม่ต่างไปจากอิหร่านที่ให้เหตุผลในทำนองนี้เช่นเดียวกัน ในส่วนของทูตซีเรียประจำสหประชาชาตินาย Bashar Jaafari เองก็ลงมติไม่เห็นด้วยการแผนการแทรกแซงในครั้งนี้เพราะมองว่าจะยิ่งทำให้เกิดความวุ่นวาย การนองเลือด และสูญเสียมากกว่าที่เป็นอยู่(2)

ผลการลงมติที่ปรากฏบนหน้าจอของห้องประชุมสหประชาชาติ มีทั้งประเทศที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง

ข้อน่าสังเกต
       เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้ยังให้การสนับสนุนเก้าอี้ของ รบ.ของอัล อัสสาด และยังมีความเห็นต่างกับกลุ่มชาติตะวันตกและกลุ่มชาติสันนิบาตอาหรับอยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์บางอย่างกับ รบ.ซีเรีย นอกจากนี้อาจจะเป็นแนวคิดของ จีน อิหร่าน และ รัสเซียด้วย ที่ไม่อยากเห็นกลุ่มชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซง ก่อกวนในภูมิภาคตะวันออกกลางมากนัก หลังจากที่ก่อนหน้านี้กลุ่มชาติตะวันตกมีบทบาทสูงในการเข้ามาแทรกแซงลิเบีย อิรัก และประเทศอื่นๆในโลกอาหรับในช่วงการลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับ(Arab Springs)
       อีกประเด็นหนึ่งคือ กลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่อยากให้กลุ่มชาติตะวันตกเข้ามามีอำนาจ มีอิทธิผล และครอบงำกิจการระว่างประเทศในตะวันออกกลางซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ และการเมืองของจีน รัสเซีย ที่มีต่อกลุ่มประเทศอาหรับบางประเทศในตะวันออกกลางนั้นเอง โดยเฉพาะในเรื่องของผลประโยชน์น้ำมัน การขายอาวุธ การค้า และอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆที่มีมูลค่ามหาศาล

ความรุ่นแรงในซีเรียยังคงดำเนินต่อเนื่องและหนักหน่วง ในภาพคือกลุ่ม Free Syrian Army (FSA)

อ้างอิง
(1)                  Al- Jazeera. UN assembly condemns Syria crackdown. Available: http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/02/201221621362371553.html. Retriewed on 17th February 2012.

(2)                                  BBC. Syria crisis: UN assembly adopts Arab-backed resolution. Available: http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-17065056.Retriewed on 17th February 2012


0 ความคิดเห็น: