ตอนที่ 25 มุสลิมโรฮิงยา : Are we world population ? ตอนจบ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



บทวิเคราะห์(ต่อ)
2) แนวโน้มสถานการณ์ในระยะสั้น
ในระยะสั้นโดยเฉพาะช่วงหนึ่งเดือนหลังจากนี้ผมมองว่าสถานการณ์ในรัฐยะใข่ของพม่านั้นน่าจะคลี่คลายลงไปและอาจจะคลี่คลายลงไปจนถึงขั้นสถานการณ์ปกติหากทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ออกมาประท้วงและทหารรัฐบาลพม่าไม่ออกมาใช้กำลังตอบโต้กันไปมาอย่างที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ถึงกระนั้นการคลี่คลายลงไปของสถานการณ์ก็ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าจะจะยุติลงไปอย่างถาวร เพราะต้นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับมุสลิมโรฮิงยายังคงอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือขจัดไปให้หมดสิ้น เสมือนหนึ่งเป็นถ่านไฟเก่าที่พร้อมจะระอุขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่ฉนวนแห่งความขัดแย้ง (Factors to Conflict) ระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าที่ผมหมายถึงคือ
                1) กฎหมายด้านสิทธิและเชื้อชาติของพม่ายังไม่ได้รับการแก้ไข
2) ความมีอัคติและไม่ยอมรับต่อความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ของชาวพม่าและรัฐบาลทหารพม่า
                3) การรังแก กดขี่ และริบทรัพย์สินของทหารพม่ายังมีอยู่

3) อนาคตของโรฮิงยา
อนาคตของชาวโรฮิงยานั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์กันได้ยากมากครับว่าพวกเขาจะมีชะตากรรมเช่นไร ทั้งนี้เพราะเรายังไม่เห็นถึงความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวของสหประชาชาติและตัวของรัฐบาลพม่าเองที่แทบจะไม่อยากแก้ไขปัญหาและไม่ยากรับชาวโรฮิงยาเป็นประชากรของตนเองด้วยซ้ำไป ในปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงยานั้นทำได้แค่เพียงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม(Humanitarian Mechanisms) ตามกฎของสหประชาชาติ โดยมี บังคลาเทศ ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน รับบทหนักช่วยดูแลผู้ลี้ภัย เช่นในแหล่งพักพิงชั่วคราว อาหาร ยารักษาโรค และปัจจัยดำรงชีพอื่นๆที่จำเป็นทั้งๆที่สี่ประเทศนี้ก็ไม่ค่อยจะเต็มใจมากนักเพราะเต็มไปด้วยภาระมากมายตามมา


ในมุมมองของผมเองผมมองว่าอนาคตของชาวโรฮิงยาอาจเป็นไปได้ 3กรณี ดังนี้ครับ
1)          ขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศที่สามตามกฎของสหประชาชาติ เพราะไม่ยากกลับไปเพชิญกับปัญหาและความโหดร้ายในรัฐยะไข่อีก(แต่ขึ้นอยู่กับประเทศที่สามด้วยว่าจะรับหรือไม่)
2)          เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขกฎหมายด้านเชื้อชาติของพม่าส่งผลให้ชาวโรฮิงยามีสิทธิสมบรูณ์ด้านความเป็นผลเมืองพม่าเช่นชนเผ่าอื่นๆ เช่น ความพยายามขึ้นมามีอำนาจของ นาง ออง ซาน ซูจี
3)       และในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ อนาคตของพวกเขายังคงเหมือนเดิมเนื่องจากทหารพม่ายังคงมี
อำนาจสูงในรัฐบาลถึงแม้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองบ้างเพื่อปรับโฉมภาพลักษณ์ของพม่าด้านความเป็นประชาธิปไตยต่อสายตาชาติตะวันตก


References
1)            Abdul Ghapur Hamid 2011.Public International Law : A practical approach .3ed.Malaysia:Thomson Reuters Malaysia.pp.299-300.



0 ความคิดเห็น: