ตอนที่ 16: อิหร่าน +มหาอำนาจโลก+นิวเคลียร์ = สงครามอ่าวเปอร์เซียรอบใหม่ (จบ)

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

หลังจากที่เราได้ทราบในรายละเอียดถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวลรอบใหม่เกี่ยวสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างชาติมหาอำนาจตะวันตกและอิหร่านแล้วในโลกมุสลิมตอนที่ 15 แล้วในตอนที่16 นี้เราจะมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดสงรามอ่าวเปอร์เซียรอบใหม่ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่
จากมุมมองของผมแล้ว หลังจากที่ผมได้ศึกษาข้อมูล สังเกตพัฒนาการของความขัดแย้ง และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นเวลากว่าสองสัปดาห์ ผมสามารถวิเคราะห์โอกาสและความเป็นไปได้ของการเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียรอบใหม่ได้สองแนวทางดังต่อไปนี้
1.ไม่มีโอกาสเป็นไปได้
ผมมองว่าสงครามอ่าวเปอร์เซียรอบใหม่นั้นคงจะไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าหลังจากนี้จะมีเหตุการณ์หรือปัจจัยอื่นๆเกิดขึ้นที่ทำให้อิหร่านและชาติมหาอำนาจเกิดความขัดแย้งต่อกันก็ตาม ผมมีเหตุผลและข้อสนับสนุนแนวคิดนี้ 4 ข้อหลักๆ คือ

1.               1.1 ชาติตะวันตกต้องการเพียงแค่สร้างกระแสความขัดแย้งกับอิหร่านเพื่อปั่นราคาน้ำมันให้สูงขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำมันเป็นสินค้าหลักที่โลกขาดไม่ได้และเป็นสินค้าที่อ่อนไหวง่ายมาก(Sensitive goods) ฉะนั้นการเกิดขึ้นของความวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้ง การสู้รบหรือสงครามก็จะเป็นปัจจัยหรือข้ออ้างที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกดีดตัวสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย  ด้วยเพราะเหตุนี้อาจเป็นไปได้ว่าจริงๆแล้วชาติตะวันตกอาจเพียงแค่ต้องการสร้างกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามอ่าวซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของโลกเพื่อปั่นราคาน้ำมันให้สูงขึ้นเท่านั้นเอง และคนที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดก็เป็นใครไม่ได้นอกจากมหาอำนาจโลกที่ผูกขาดและควบคุมน้ำมันโลกด้วยการค้าแบบเก่งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า 


แท่นขุดเจาะน้ำมันในอิหร่าน
2.            
            1. 2  ชาติตะวันตกบางประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีผลประโยชน์ร่วมกันกับอิหร่าน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังฉากจริงๆแล้วชาติมหาอำนาจบางประเทศกลับมีความสัมพันธ์ที่ดี มีผลประโยชน์ และเป้าหมายร่วมกันหลายอย่างที่คนทั่วไปอาจไม่เคยล่วงรู้ในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ในด้านพลังงาน การเมืองระหว่างประเทศและภูมิภาค การทหาร ความมั่นคง ยุทธศาสตร์ทำเลที่ตั้ง และเศรษฐกิจ เราอาจกล่าวได้ในอีกนัยหนึ่งว่า ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศนั้น ผลประโยชน์ และความมั่นคง ต้องมาก่อนเสมอ  ด้วยเพราะเหตุนี้สงครามอ่าวเปอร์เซียจึงคงไม่เกิดขึ้นเพราะจะทำให้ผลประโยชน์และความมั่นคงของทั้งสองฝ่ายได้รับผลกระทบ

3.           1.3ความไม่มีประสิทธิภาพของชาติมหาอำนาจตะวันตกในการคว่ำบาตรอิหร่าน
ที่ผ่านมามีแต่คำขู่จากชาติตะวันตกบางประเทศเท่านั้นว่าจะเริ่มคว่ำบาตรอิหร่านหากยังเดินหน้าสร้างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งคำขู่ในลักษณะนี้มีมานานแล้วหลายปีแต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบลงทุกครั้งเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลง และไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ อายัดเงินฝาก และบล็อกการค้าขายของอิหร่านจริงหรือไม่  การคว่ำบาตรเพียงแค่จากไม่กี่ประเทศคงไม่ส่งผลเสียมากมายต่ออิหร่านเพราะอิหร่านยังคงมีการค้า การขาย และมีทางออกทางธุรกิจอีกมากกับชาติอื่นๆ แต่ถ้าหากเกิดการคว่ำบาตรจริงๆจากนานาชาตินับร้อยประเทศอิหร่านเองก็จะเดือดร้อนแน่นอน

4.          1.4  จีนจะไม่ยอมให้ชาติตะวันตกทำสงครามกับอิหร่านแน่นอนเพราะจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอิหร่าน

จีนเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันมากที่สุดจากอิหร่าน คิดเป็น 22% ของจำนวนน้ำมันที่อิหร่านส่งออกในแต่ละปี หากเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียขึ้นมาจริงๆจะส่งผลกระทบต่อจีนโดยตรงและรุนแรงเพราะจีนจะไม่มีน้ำมันสำรองมากพอที่จะหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของจีนที่โตเร็วจนทะลุเพดานไปแล้วในปัจจุบัน และแน่นอนเสียงการออกมาคัดค้านการคว่ำบาตรต่ออิหร่านของจีนเป็นเสียงที่ดังมากพอที่มหาอำนาจตะวันตกต้องรับฟัง


ล่าสุดจีนได้ออกมาคัดค้านการคว่ำบาตรอิหร่านแล้ว

2.มีโอกาสเป็นไปได้
สำหรับแนวคิดนี้ผมเองมองว่ามีความเป็นได้น้อยเพราะการเกิดขึ้นของสงครามนั้นส่วนใหญ่เกิดเพราะมีปัจจัยหลายๆอย่างเกิดขั้นรวมกัน การปิดช่องแคบฮอร์มุส หรือ การคว่ำบาตรอิหร่านเพียงอย่างเดียวคงไม่มีนำหนักมากพอที่จะทำสงครามต่อกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามผมก็มีเหตุผลสนับสนุนแนวคิดนี้ดังต่อไปนี้

1.                2.1 ชาติมุสลิมสายซุนนี่หลายประเทศในคาบสมุทรอาหรับไม่ไว้ว่างใจอิหร่าน

แรงกดดันจากจากชาติมุสลิมสายซุนนี่หลายประเทศในคาบสมุทรอาราเบียก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศเหล่านี้ยังไม่ไว้วางใจอิหร่านที่มีกองทัพเข็มแข็ง และมีศักยภาพสูงในด้านเทคโนโลยีการทหาร ที่อาจจะบุกรุกหรือมีปัญหาด้านความมั่นคงกับกลุ่มประเทศคาบสมุทรอาราเบียได้ทุกเมื่อ ด้วยเพราะเหตุนี้จึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มประเทศคาบสมุทรอาราเบียอาจใช้แรงกดดันต่อชาติมหาอำนาจที่ตนเองฝักฝ่ายอยู่ให้มาช่วยคอยคุ้มกันจากภัยรุกรานของอิหร่าน การไม่ไว้ว่างใจในลักษณะนี้ของทั้งสองฝ่ายและตัวมหาอำนาจมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้เกิดการเพชิญหน้าและนำไปสู่สภาพวะตึงเครียดและการใช้กำลังได้


กลุ่มประเทศมุสลิมสายซุนนี่ในคาบสมุทรอาหรับมีเพียงแค่อ่าวเปอร์เซียเป็นตัวกันเท่านั้น
2.                 
          2.2 เป็นไปได้หากอิหร่านใช้กำลังปิดช่องแคบฮอร์มุสจริง

หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุสจริงตามที่กล่าวอ้างก็อาจนำไปสู่สงครามได้เช่นกันเพราะนั้นหมายถึงการปิดกันการส่งออกน้ำมันมากกว่า 20% ของโลกไปยังชาติต่างๆทั่วโลกนับสิบประเทศ ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ชาติต่างๆโดยเฉพาะมหาอำนาจที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก

ท่าเทียบเรื่อบรรทุกน้ำมันในบริเวณช่องแคบฮอร์มุสของอิหร่าน

 2.3 เป็นไปได้หากนานาชาติรวมตัวกันคว่ำบาตรอิหร่านอย่างจริงจังและยาวนาน

ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกต่ออิหร่านยังไม่ส่งผลมากนักเพราะเป็นการคว่ำบาตรจากบางประเทศเท่านั้นซึ่งไม่มีผลกระทบมากพอต่ออิหร่าน ฉะนั้นหากชาติมหาอำนาจพยายามบีบให้นานาชาติรวมมือกันค่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านอย่างจริงจังและยาวนานก็จะส่งผลเสียและรุนแรงต่ออิหร่านแน่นอนและคงจะถึงจุดที่ทำให้อิหร่านต้องตัดสินใจใช้กำลังตอบโต้ชาติมหาอำนาจและอาจนำพาไปซึ่งสงครามอ่าวได้ในที่สุด ล่าสุด สหภาพยุโรปเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังตัดสินใจว่าจะเข้ามาร่วมมือคว่ำบาตรอิหร่านหรือไม่หลังจากถูกชาติมหาอำนาจบางประเทศกดดันให้ช่วยกันคว่ำบาตรอิหร่าน แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากสำหรับอียูเมื่อกันที่จะร่วมกันคว่ำบาตรอิหร่านเพราะชาติสมาชิกอียูยังน้ำเข้าน้ำมันดิบและสินค้าปิโตรเคมีมากถึง 20% (2) ของการน้ำเข้าทั้งหมด

แต่อย่างไรก็ตามการจะขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของสงครามอ่าวเปอร์เซียรอบใหม่นั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกมากไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในอิหร่านเอง(Domestic Factors) และปัจจัยจากนานาชาติ(External factors)ซึ่งเราเองก็ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์กันต่อไปในระยะยาว  การจะมาสรุปในทันที่ทันใดว่าจะเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียนั้นเป็นเรื่องที่เราคาดการณ์กันไม่ได้ครับ เราได้เพียงแต่วิเคราะห์แนวทางอาจเป็นไปได้ตามปัจจัยและสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งต้องช่วยการดูอา(ภาวนา)อย่าให้สงครามเกิดขึ้น เพราะสงครามไม่เคยส่งผลดี นำความสุขและสันติภาพให้กับประชาชาติบนโลกใบนี้เลย

อ้างอิง
(1)           Iran blasts West’s economic war. Available: http://aljazeera.com,news/middleest.Retrieved on 24th January 2012.
(2)           Nationchannel .Available: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=549516 .Retrieved on 25 January 2012.

0 ความคิดเห็น: