ตอนที่ 26: อิสลามกับความเป็นอารยธรรมของเอเชีย (1)

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ทวีปเอเชียของเราถือได้ว่าเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกมีจำนวนประเทศมากที่สุด และมีจำนวนประชากรมากที่สุดของโลกอีกด้วย นับได้ว่าเป็นทวีปที่มหัศจรรย์ และอยู่ในความสนอกสนใจของนักประวัติศาสตร์ ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา นอกจากนี้ยังเป็นบ่อเกิดของอารยธรรมอันหลากหลายของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้าน ศาสนา สังคม ความเชื่อ และประเพณี
         ตามตำรับตำราของนักประวัติศาสตร์หลายๆได้ระบุว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาอันมากมาย โดยเฉพาะในเขตชมพูทวีป แต่ยังมีศาสนาอีกส่วนหนึ่งที่ได้กำเนิดขึ้นมาในแทบตะวันออกกลางซึ่งเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาหลักจากบางศาสนาในแทบชมพูทวีปได้ถือกำเนิดขึ้น  และกลับเป็นศาสนาในแถบตะวันออกกลางที่ได้สร้างอารยธรรมที่เจริญก้าวหน้าอันหลากหลาย มากมาย อยู่ทั่วทุกพื้นที่ของทวีปเอเซีย นั้นคือ ศาสนาอิสลาม


เส้นทางสายไหม(Silk Road)เป็นเส้นทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย
       
       อิสลามนับได้ว่าเป็นศาสนาที่สร้างอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียมากที่สุดที่เราสามารถกล่าวได้อย่างนี้ก็เพราะว่าหากเราย้อนหลังไปพันปีกว่าซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรอิสลามกำลังเฟื้องฟูมีราชวงศ์ต่างๆขึ้นมาปกครองหลายราชวงศ์ ตั้งแต่รับอิสลามแห่งแรกที่นครมาดีนะห์ในสมัยของท่านนบีมูฮำหมัด, สมัยคูลาฟาอฺ-อัรรอซีดูนของคอลีฟะห์ทั้ง 4 , สมัยของการปกครองของราชวงค์อูมัยยะห์ที่ดามัสกัส(ซีเรีย . 661-..750) , ยุคการปกครองของราชวงค์อับบาซียะห์ที่แบกแดด(อีรัก . 750-1258), ยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์แห่งอันดะลุส(สเปน . 712-. 1236) และมาปิดท้ายที่ราชวงศ์อุสมานียะห์(ออตโตมาน)ที่ตุรกีที่เพิ่งล่มสลายไปเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเมืองต่างๆที่ได้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของการปกครองที่ได้กล่าวมานั้นก็ล้วนเป็นจุดศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามไปในตัวโดยอัตโนมัติด้วย


ในภาพคือพิธีการต้อนรับทูตในกรุงดามัสกัสของอาณาจักรอุมัยยะห์แห่งซีเรีย การเผยแพร่ศาสนา อารยธรรม และศิลปะวิทยาการต่างๆของอิสลามได้รับการเผยแพร่ทางการทูตและการค้าที่มีต่อรัฐหรืออาณาจักรอื่นๆในทวีปเอเชีย

จากผลพวงของการปกครองที่หลากหลายบวกกับระยะเวลาการปกครองอันยาวนานหลายร้อยปีของแต่ละราชวงศ์ แน่นอนว่าแต่ละราชวงค์มีเวลามากพอในการสร้างอารยธรรมขึ้นมามากมายในสมัยการปกครองของตัวเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศาสนา สังคม ระบบการปกครอง ภาษา การศึกษา การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ งานแปลตำรำ วรรณกรรม ตรรกวิทยา ดาราศาสตร์ เป็นต้น โดนเฉพาะด้านสถาปัตกรรม วิศวะกรรมศาสตร์และศิลปกรรมต่างๆที่เห็นว่าหน้าจะเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเด่นที่สุดในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายของโลกในยุคนั้นซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้ โดยที่อารยธรรมดังกล่าวได้แทรกซึมและเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆของทวีปเอเชียทั้งในแถบชมพูทวีป(เอเชียใต้) จีน เอเชียกลาง  มองโกล และอาเซียน อย่างรวดเร็วตามพัฒนาการติดต่อทางการทูตระหว่างรัฐ ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า และการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะการเผยแพร่ตามเส้นทางสายไหม(Silk Road) ที่ถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยมีเส้นทางพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้แพร่ขยายผ่านทางการบุกเบิกแผ่ขยายอาณาจักรและการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนอื่นๆของชาวอาหรับอีกด้วย

 
ร่องรอยอารยธรรมอิสลามที่ยังหลงเหลือให้เห็นใน จีน และ เอเชียกลาง

References:
1)  Suhail Hussein.(2001).Diplomacy Annabi Muhammad(s.a.w):Dirasah Muqaranad
          Muhammad(s.a.w).Beirut:Daral Fikri al-Arabi.
2)  M.I.Naved.(2010).Damascus and Baghdad Empires. New Delhi: Anmol Publication Pvt. Ltd
3)  Thomas Arnold.(2001).The Spread of Islam in the World : A history  of Peaceful Preaching.
          New Delhi : Goodword Books.
4) อาลี เสือสมิง.(2554). ประวัติศาสตร์อัล-อันดะลุส. กรุงเทพ: ศูนย์หนังสืออิสลาม
5) อับดุเลาะ อุมา.(2550). เอกสารการสอนวิชาหลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม 3,
         สาขาวิชารัฐประศาสนสตร์, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
6) อับดุลลอฮฺ อัลกอรี.(2546).ดลมนรรจน์ บากา แปล,สี่เคาะลีเฟาะฮฺ ผู้ทรงธรรม.กรุงเทพ
         สำนักพิมพ์อิสลามิคอะเคเดมี
        

ตอนที่ 25 มุสลิมโรฮิงยา : Are we world population ? ตอนจบ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



บทวิเคราะห์(ต่อ)
2) แนวโน้มสถานการณ์ในระยะสั้น
ในระยะสั้นโดยเฉพาะช่วงหนึ่งเดือนหลังจากนี้ผมมองว่าสถานการณ์ในรัฐยะใข่ของพม่านั้นน่าจะคลี่คลายลงไปและอาจจะคลี่คลายลงไปจนถึงขั้นสถานการณ์ปกติหากทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ออกมาประท้วงและทหารรัฐบาลพม่าไม่ออกมาใช้กำลังตอบโต้กันไปมาอย่างที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ถึงกระนั้นการคลี่คลายลงไปของสถานการณ์ก็ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าจะจะยุติลงไปอย่างถาวร เพราะต้นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับมุสลิมโรฮิงยายังคงอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือขจัดไปให้หมดสิ้น เสมือนหนึ่งเป็นถ่านไฟเก่าที่พร้อมจะระอุขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่ฉนวนแห่งความขัดแย้ง (Factors to Conflict) ระหว่างมุสลิมโรฮิงยาและรัฐบาลทหารพม่าที่ผมหมายถึงคือ
                1) กฎหมายด้านสิทธิและเชื้อชาติของพม่ายังไม่ได้รับการแก้ไข
2) ความมีอัคติและไม่ยอมรับต่อความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ของชาวพม่าและรัฐบาลทหารพม่า
                3) การรังแก กดขี่ และริบทรัพย์สินของทหารพม่ายังมีอยู่

3) อนาคตของโรฮิงยา
อนาคตของชาวโรฮิงยานั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์กันได้ยากมากครับว่าพวกเขาจะมีชะตากรรมเช่นไร ทั้งนี้เพราะเรายังไม่เห็นถึงความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวของสหประชาชาติและตัวของรัฐบาลพม่าเองที่แทบจะไม่อยากแก้ไขปัญหาและไม่ยากรับชาวโรฮิงยาเป็นประชากรของตนเองด้วยซ้ำไป ในปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงยานั้นทำได้แค่เพียงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม(Humanitarian Mechanisms) ตามกฎของสหประชาชาติ โดยมี บังคลาเทศ ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน รับบทหนักช่วยดูแลผู้ลี้ภัย เช่นในแหล่งพักพิงชั่วคราว อาหาร ยารักษาโรค และปัจจัยดำรงชีพอื่นๆที่จำเป็นทั้งๆที่สี่ประเทศนี้ก็ไม่ค่อยจะเต็มใจมากนักเพราะเต็มไปด้วยภาระมากมายตามมา


ในมุมมองของผมเองผมมองว่าอนาคตของชาวโรฮิงยาอาจเป็นไปได้ 3กรณี ดังนี้ครับ
1)          ขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศที่สามตามกฎของสหประชาชาติ เพราะไม่ยากกลับไปเพชิญกับปัญหาและความโหดร้ายในรัฐยะไข่อีก(แต่ขึ้นอยู่กับประเทศที่สามด้วยว่าจะรับหรือไม่)
2)          เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขกฎหมายด้านเชื้อชาติของพม่าส่งผลให้ชาวโรฮิงยามีสิทธิสมบรูณ์ด้านความเป็นผลเมืองพม่าเช่นชนเผ่าอื่นๆ เช่น ความพยายามขึ้นมามีอำนาจของ นาง ออง ซาน ซูจี
3)       และในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ อนาคตของพวกเขายังคงเหมือนเดิมเนื่องจากทหารพม่ายังคงมี
อำนาจสูงในรัฐบาลถึงแม้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองบ้างเพื่อปรับโฉมภาพลักษณ์ของพม่าด้านความเป็นประชาธิปไตยต่อสายตาชาติตะวันตก


References
1)            Abdul Ghapur Hamid 2011.Public International Law : A practical approach .3ed.Malaysia:Thomson Reuters Malaysia.pp.299-300.