ตอนที่ 24 มุสลิมโรฮิงยา : Are we world population ? ตอน1

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ก่อนอื่นต้องขอมาอัฟด้วยครับที่ผมไม่ได้วิเคราะห์ข่าวและโพสต์ลงในบล็อกเลยเป็นเวลาร่วมๆเดือนเศษเนื่องด้วยติดสอบปลายภาคและสอบประมวลก่อนจบครับ เลยต้องเอาเวลาไปอ่านหนังสือเสียหมด ไม่มีเวลามาอ่านข่าวเลย  กลับมาในตอนที่ 25 นี้ผมขอนับเสนอบทวิเคราะห์เรื่องปัญหาการจลาจลและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมโรฮิงยาในรัฐอาระกัน ของสหภาพพม่าหรือที่บ้านเรารู้จักกันดีในนามรัฐยะใข่ ซึ่งเป็นประเด็นร้อนมาร่วมสัปดาห์แล้ว ครั้งนี้ผมจะวิเคราะห์ในเรื่องนี้โดยจะนำหลักกฎหมายสากล(International Law) มาอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบและเข้าในเรื่องของการคุมครองสิทธิมนุษย์ชนของสหประชาชาติ (The United Nation) และอีกอย่างเราจะได้ทราบด้วยว่าการกระทำอย่างโหดร้ายทารุนของทหารรัฐบาลพม่านั้นได้เลยเถิด ฝ่าฝืน และคุกคามต่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปมากเท่าไรแล้ว

ประวัติความเป็นมาของโรฮิงยาในพม่า

จริงๆแล้วโรฮิงยาเป็นชนเผ่าของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณเอเชียใต้(บริเวณ บังคลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา)ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษาเบงฆอลีเป็นภาษาพูด ส่วนรูปร่างหน้าตา ขนมธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมการแต่งกายก็ไม่ต่างไปจากภาพร่วมของลักษณะคนในบริเวณเอเชียใต้คือ ผิวคล้ำ หน้าตาเค้ม  ใส่ผ้าโสร่ง ทำอาชีพประมงและการเกษตรเป็นหลัก ชาวโรฮิงยาอพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณรัฐยะใข่ของพม่ามานานแล้วครับ ประมาณศตวรรษที่เจ็ด แต่ด้วยหลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ  ทำให้พม่ามีแนวคิดสร้างชาติโดยนับชนเผ่าต่างๆมากกว่าร้อยชนเผ่าเข้ามาเป็นชนชาติพม่าซึ่งมีวัฒนธรรม ความเชื่อ เชื่อชาติ คล้ายๆกัน แต่ไม่ต้องการร่วมเอากลุ่มโรฮิงยาเข้ามาร่วมด้วยเนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งทางลักษณะกายภาพ หน้าตา วัฒนธรรม ความเชื่อ และเชื่อชาติ  

 
 รัฐอาระกันหรือรัฐยะใข่ในความรู้จักของคนไทย
ตามกฎหมายสิทธิความเป็นชนชาติพม่า(Burma Citizenship Law 1982) นั้นชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสถานภาพความเป็นชากรแห่งชาติพม่าเลย แถมยังถูกกฎหมายเอาเปรียบและกีดกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งกีดกันในเรื่องของการแต่งงาน การรับสิทธิคุ้มรัฐสวัสดิการครองจากทางการ สิทธิในที่ดิน ที่อยู่อาศัย และยิ่งนับวันชีวิตความเป็นอยู่ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปเพราะชาวโรฮิงยาถูกต้อนไล่ที่ บีบบังคับเอาทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกาย กดขี่ข่มเหง เข่นฆ่าโดยไม่มีเหตุผล เสมือนหนึ่งเป็นประชากรที่ไม่เป็นที่ต้องการของสหภาพพม่าแล้ว ทำให้ชาวโรฮิงยาอพยพออกนอกประเทศไปเป็นจำนวนมาก

สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพปัญหา
การอพยพของชาวโรฮิงยานั้นมีมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ทั้งอพยพไปปากีสถาน ไทย มาเลเซีย และโดยเฉพาะบังคลาเทศที่มีจำนวนนับแสนคน ซึ่งสุดท้ายนำไปสู้ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการผลักดันกลับประเทศของชาวโรฮิงยา เพราะการอพยพไปอยู่ในประเทศที่สองและที่สามนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่นทำให้บังคลาเทศต้องรับแบกรับความรับผิดชอบอย่างหนักต่อผู้ลี้ภัยทั้งๆที่ตนเองก็เป็นรัฐบาลยากจนและมีประชากรมากอยู่แล้ว ทำให้บังคลาเทศมีปัญหาความขัดแย้งกับพม่าบ่อยครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับไทย ปากีสถาน และมาเลเซียที่ต้องแบกรับภาระกับผู้ลี้ภัยนับหมื่นตามคำขอร้องจากสหประชาชาติ ทั้งๆที่ไทย ปากีสถาน และมาเลเซียต่างก็ประสบปัญหาในการจัดการดูแลผู้ลี้ภัยจนรับต่อไปไม่ไหวแล้วซึ่งเป็นผลพวงของการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ตอนนี้ผู้ลี้ภัยไม่ยอมกลับไปพม่าเพราะกลัวชะตากรรมอันโหดร้ายของรัฐบาลทหารพม่าทั้งๆที่ชาติรับผู้ลี้ภัยไม่ต้องการรับภาระดูแลพวกเขาอีกต่อไปแล้ว ทำให้พวกเขาไม่มีที่ให้ไป ไร้ซึ่งอนาคต และอีกอย่างสหประชาชาติเองยังไม่มีทางออกในระยะยาวที่ชัดเจนในการดูแลและบริหารจัดการกับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยามุสลิมผู้เป็นเหยื่อของรัฐบาลทหารพม่าในครั้งนี้
การอพยพออกนอกประเทศเพื่อหนีความกดขี่จากรัฐบาลยังคงมีอยู่เรื่อยๆ

สถานการณ์ในรัฐยะใข่ยังคงน่าเป็นห่วง

บทวิเคราะห์
1)               กฎหมายระหว่างประเทศเอาผิดรัฐบาลพม่าไม่ได้หรือ?
กฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีระบุไว้อย่างชัดเจนในหลายมาตราเกี่ยวกับการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า เป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายสากลและผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมายด้านสิทธิมนุษย์ชน(International Human Right Law) ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 1,55,56 ว่า สหประชาชาติมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องสิทธิเสรีภาพ  ศักดิ์ศรี ความเสมอภาค ภาษา ศาสนา เพศ และเผ่าพันธุ์ของมวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้ และยังมีระบุเพิ่มเติมในปฏิญญาของสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายด้านสิทธิมนุษย์ชน(the General Assembly of the Universal Declaration of Human Right) ฉบับปี 1948 ด้วยว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้มีสิทธิเสรีภาพใน 2 สิทธิใหญ่ๆคือ 1) สิทธิเสรีภาพในด้านการแสดงออกและการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 2)สิทธิเสรีภาพในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(1) จะเห็นได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีระบุไว้อย่างรัดกุมเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม แต่การปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุนต่อมุสลิมโรฮิงยาในรัฐอาระกันของพม่านั้นกลับฝ่าฝืนกฎหมายสากลอย่างสิ้นเชิงและรุนแรง เพราะทหารพม่าเองได้ทำการกดขี่ข่มแหง รังแก ลิดรอนสิทธิในทุกๆด้านของมุสลิมโรฮิงยาเสมือนหนึ่งไม่ใช้ประชาชนของตัวเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แถมยังฆ่า หลักพาตัว ทำร่ายร่างกาย ดูหมิ่นศักดิ์ศรี หวังจะชะล้างความเป็นชนเผ่าโรฮิงยาในพม่าให้หมดสิ้น โดยเฉพาะในการเกิดจลาจลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่มีผู้ประท้วงบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และยังขาดความเลียวแล ไม่มีการช่วยเหลือหรือให้การรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บแต่ประการใดเลย 

 
  เครือข่ายมุสลิมโรฮิงยาในหลายประเทศออกมาประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม
การกระทำเช่นนี้ของรัฐบาลพม่าเข้าค่ายความผิดตามกฎหมายสากลแน่นอนครับ แต่กระบวนการเอาผิดรัฐบาลพม่าก็ไม่ใช้ง่าย เพราะแม้กระทั้งคณะผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติชาชาติ (The UN Observers) และองค์กรกาชาติสากล(The International Red Cross) เองก็ยังเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อเก็บหลักฐานและช่วยเหลือผู้บาเจ็บและแจกจ่ายอาหารยังทำได้ลำบากเลย เพราะถูกรัฐบาลทหารพม่ากีดกัน(2) อีกทั้งปัญหาสำคัญคือ กฎหมายระหว่างประเทศเองก็ไม่มีเครื่องมือ(Mechanisms)ที่มีประสิทธิภาพที่จะนำคนผิดมาลงโทษได้ในทุกกรณีและในทุกประเทศได้อย่างทันท่วงที ทำให้บางประเทศทำตัวแข่งข้อไม่ยอมทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ และหนึ่งในนั้นก็คือรัฐบาลทหารพม่านั้นเองที่ยังพยายามปิดประเทศ(ในบางเรื่อง)ไม่ยอมให้ใครเข้ามาแทรกแซงความมั่นคงของรัฐบาลทหารได้ ตอนนี้สหประชาชาติ ประเทศต่างๆ ร่วมถึงองค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไปทำได้แค่ออกมาประณามและเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมโรฮิงยาเท่านั้น แต่หากไม่เป็นผลก็คงต้องหามาตรการอื่นๆกดดันและเอาผิดต่อไป

ติดตามต่อในตอนที่ 25 สัปดาห์หน้า

References