ตอนที่ 23: จอร์แดน-การเมืองยังไม่นิ่ง...เมื่อนายกฯลาออก 3 คนในรอบ2 ปี

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อวานนี้ 26 เมษายน 2555 นายกรัฐมนตรี Al-Khasawneh ของจอร์แดนประกาศลาออกจากตำแหน่งแบบฟ้าผ่าในระหว่างไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ การลาออกของ Al-Khasawneh ถือเป็นการลาออกของนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของจอร์แดนในรอบสองปีนับตั้งแต่เกิดการประท้วง (Arab Uprising) ในดินแดนอาหรับในปี 2011 ซึ่งถือเป็นการลาออกที่ถี่จนผิดปกติและแสดงให้เราได้เห็นว่าการเมืองภายในของจอร์แดนยังไม่นิ่ง...


การเมืองภายในของจอร์แดนนั้นต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการประท้วง(Arab Uprising)ของประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน เพราะจอร์แดนเป็นหนึ่งในชาติอาหรับที่มีระบบการปกครองแบบ المَمْلَكَة   หรือ การปกครองโดยมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐนั้นเอง ซึ่งมักจะถูกจับตามองจากคนภายนอกว่าผู้นำจอร์แดนทำการบริหารประเทศโดยปิดกั้นสิทธิเสรีภาพเหมือนกัดดาฟี่ของลิเบีย,มูบาร็อกของอียิปต์,บินอาลีของตูนีเซีย, และอัลอัสสาดของซีเรีย ด้วยหรือไม่?
แผนที่ประเทศจอร์แดนครับเพื่อบางท่านยังไม่รู้จัก ประเทศนี้สำคัญมากครับในทางรัฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ เพราะถือเป็น Buffer State หรือ รัฐกันชนระหว่างรัฐอิสราเองกับกับกลุ่มชาติอาหรับอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง
 ด้วยเพราะเหตุนี้หลายประเทศอาหรับที่มีการปกครองแบบ  المَمْلَكَةอย่างโมร็อคโค,ซาอุดิอาราเบีย,รวมทั้งจอร์แดนจึงได้ทยอยประกาศปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มสิทธิเสรีภาพในบางกรณีให้กับประชาชนของตนทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ใช้ประชาชนของตนออกมาประท้วง โดยที่จอร์แดนนั้นทางรัฐบาลและกษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 รับปากว่าจะเพิ่มสิทธิทางการเมืองให้กับประชาชนได้มีส่วนรวมมากขึ้นและจะมีการปฏิรูปการเมืองด้วย และนั้นเป็นถือสัญญาณที่ดีและเป็นการปรับแก้ไขปัญหาในระยะสั้นได้ดีมากของจอร์แดน เพราะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในจอร์แดนเลยในช่วงที่ประเทศอื่นๆอย่างเยเมน, ซีเรีย, อียิปต์, และลิเบีย ยังคงจมปลักอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ


นายกรัฐมนตรี Khasawneh ประกาศลาออกคณะเยือนตุรกี
แต่ถึงกระนั้นสำหรับจอร์แดนแล้ว การให้คำสัญญาอะไรไว้กับประชาชนถือเป็นสิ่งที่ต้องทำตามคำสัญญา โดยในส่วนของการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นคงไม่ใช่เรื่องใหญ่มากนัก แต่ที่เป็นเรื่องใหญ่คือ การปฏิรูปการเมือง! แน่นอนการปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องใหญ่สำหรับจอร์แดนและทุกชาติที่มีการปกครองแบบกษัตริย์ เพราะการปฏิรูปอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจของกษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การลดฐานะหรืออำนาจหน้าที่ของผู้นำหรือรัฐบาล การเปลี่ยนขั้วการเมือง การเปลี่ยนแปลงของรัฐสภา และอาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเลยก็ว่าได้
ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2011 การปฏิรูปการเมืองในจอร์แดนยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีบ่อยถึงสามครั้ง 3โดยครั้งล่าสุดคือ การลาออกของ Al-Khasawneh ซึ่งเพิ่งจะอยู่ในตำแหน่งนายกเพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น (1)
การลาออกของเขานั้น ทางด้านของ ศ.อัดนาน อัลฮาญาดนะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาซีมี่ (Hashemite University) ในกรุงอัมมาน ได้วิเคราะห์ว่า อาจเกิดจากการที่แนวคิดการปฏิรูปการเมืองของนายกรัฐมนตรี Khasawneh และของกษัตริย์ อับดุลลอฮฺ นั้นไม่ตรงกันและตกลงกันไม่ได้สุดท้ายจึงอาจนำมาซึ่งการตัดสินใจลาออกของ Khasawneh เมื่อวานนี้ ทั้งนี้สำหรับกษัตริย์อับดุลลอฮฺแล้ว การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะพระองค์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนหลายครั้งว่าจะพยายามปฏิรูปการเมืองของจอร์แดนให้ดีขึ้นเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้เข้ามามาส่วนร่วม อีกทั้งยังประกาศอีกว่าจอร์แดนพร้อมที่ก้าวไปสู่การปฏิรูปการเมืองด้วยการจัดการเลือกตั้งก่อนปลายปีนี้อีกด้วย(2)

กษัตริย์อับดุลลอฮฺที่ 2 แห่งราชอานาจักรจอร์แดน
การยืนใบลาออกของ Khasawneh ในครั้งได้รับการการอนุมัติจากกษัตริย์อับดุลลอฮฺด้วยดีและพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งนาย Fayez al-Tarawneh(ฟาเยส อัล ตาเรานี่)เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดนแล้ว ซึ่งทั้งกษัตริย์อับดุลลอฮฺ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการปฏิรูปการเมืองภายในของจอร์แดนในครั้งนี้ไปให้ได้ ตลอดจนต้องจัดการเลือกตั้งให้ทันก่อนปลายปีนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก่อหน้านี้ ซึ่งถือได้ว่า “เป็นคำมั่นสัญญาซื้อเวลาของรัฐบาลจอร์แดนในการปฏิรูปตนเองก่อนที่ประชาชนจะถือโอกาสปฏิรูปเสียเอง”

ฟาเยส อัล ตาเรานี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจอร์แดน(คนที่4 ในรอบ 2 ปี)

References
(1)AL-Jazeera. Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeera.com /news/ middlee ast/2012/04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).
(2)Ibid., Jordan's prime minister resigns (26 Apr 2012).http://www.aljazeer a.com/news/middleeast /2012 /04/2012426135051510986.html.(Accessed on 27th April 2012).

ตอนที่ 22: กีนีบิสเซา: ขนาดได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก แต่กองทัพยังสนุกกับการปฏิวัติ !!!

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

หลายสัปดาห์ก่อนผมเคยเสนอบทความเกี่ยวกับการก่อกบฏในประเทศมาลี มาสัปดาห์นี้ขอนำเสนอบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ร้อนๆในดินแดนร้อนๆอย่าง กีนีบิสเซาครับ ที่ตอนนี้มีเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารอีกแล้วซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งที่เท่าไรแล้ว เพราะเกิดถี่มากนับตั้งแต่กีนีบิสเซาได้รับเอกราชจากโปรตุเกสในปี 1974 เหตุผลง่ายๆของการปฏิวัติในทุกๆครั้งคือ ความขัดแย้งกันเองในหมู่กองทัพ และการแสวงหาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ ทั้งๆที่ประเทศของตนเองได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก....
กีนีบิสเซาแต่เดิมก่อนการประกาศเอกราชนั้นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพวกAnimism  หมายถึงคนที่ไม่มีศาสนาครับ เป็นพวกที่นับถือภูทผีปีศาจหรือบูชาธรรมชาติ แต่หลังยุคศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาชาวกีนีบิสเซาส่วนมากหันมารับนับถือศาสนาอิสลามกันมากขึ้นจนปัจจุบันกีนีบิสเซามีประชากรเป็นมุสลิมมากที่สุดคือประมาณ 35% ของประเทศ ตามมาด้วยคริสต์ 10%  และส่วนที่เหลืออีก 55% ไม่มีศาสนาและยังคงนับถือภูทผีปีศาจตามประเพณีดั่งเดิม(1)หรือที่เรียกกันว่า Indigenous.
กีนีบิสเซาจะว่าไปก็โชคดีกว่าประเทศอื่นๆในแอฟริกามากครับเพราะติดทะเล ดินก็อุดมสมบูรณ์ ประชากรก็ไม่มาก แต่ติดที่คนใหญ่คนโตและกองทัพเกี่ยงกันเองเท่านั้น
การเมืองของกีนีบิสเซานั้นนับได้ว่าไม่มีเสถียรภาพเลยนับตั้งแต่การประกาศเอกราชจากโปรตุเกสในปี 1974 มากว่า 29 ปีแล้ว เพราะมีความขัดแย้งกันอย่างหนักระหว่างกองทัพด้วยกันเองที่แก่งแย้งอยากขึ้นมามีอำนาจในรัฐบาลแทนที่จะเป็นภาคพลเรือนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศด้วยวิธีการเลือกตั้งที่สุจริต ด้วยเพราะเหตุนี้จึงไม่แปลกว่าประเทศนี้มีการปกครองด้วยรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนานนับทั้งแต่ปี1974 มาแล้วโดยไม่เคยมีผู้นำจากภาคผลเรือนแม้แต่คนเดียวเลย ทั้งหมดเป็นผู้นำที่มาจากกองทัพและเข้ามาบริหารประเทศด้วยการเลือกตั้งที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลทหารมาตลอด ถึงกระนั้นผู้นำแต่ละคนก็ไม่เคยอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีจนครบวาระ  เพราะทุกคนหากไม่ถูกปฏิวัติก็ถูกลอบสังหารไปเสียก่อน ตามข้อมูลที่ผมได้มาปรากฏว่าประเทศนี้มีการปฏิวัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ครั้งในรอบ 29 ปี (เฉลี่ย 3 ปีครึ่งต่อครั้ง) คือ ในปี 1983, 1984 1993,1998(ลุกลามจนเป็นสงครามกลางเมือง), 2003, 2009(ลอบสังหารผู้นำ)และล่าสุด2011(ปฏิวัติคณะผู้นำกำลังเยือนฝรั่งเศส).(2)
ขนาดได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก แต่กองทัพยังสนุกกับการปฏิวัติ แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไร?
 ปัญหาของการปฏิวัติของทหารในครั้งนี้คือ รัฐบาลทหารที่ปฏิวัติพยายามยืดเยื้อเวลาการครองอำนาจ(การเป็นรัฐบาลชั่วคราวออกไป)ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งในอีก ปี 2 ข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานผิดปกติ ประชาชนจะเป็นผู้เสียประโยชน์ และประเทศจะหยุดการพัฒนา ทำให้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ซึ่งกีนีบิสเซาเป็นสมาชิกอยู่ไม่สบายใจและพยายามเรียกร้องให้คณะปฏิวัติคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด แต่เสียงเรียกร้องไม่มีผลมากนักเพราะคณะปฏิวัติอ้างว่าการจัดการเลือกตั้งต้องใช้เวลาและต้องพยายามเจรจากับกลุ่มการเมืองให้เสร็จสิ้นก่อนถึงจะจัดการเลือกตั้งได้
โฆษกของคณะปฏิวัติออกมาชี้แจงขอเวลาในการทำงานและจัดการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า
          การออกมาตอบโต้ปฏิเสธของคณะปฏิวัติทำให้ในคณะนี้ทางธนาคารโลก สหประชาชาติ และกลุ่มสหภาพแอฟริกา (African Union) ซึ่งถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดบนแผ่นดินแอฟริกาได้เริ่มส่งคำเตือนไปยังคณะปฏิวัติให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็วแล้ว มิฉะนั้นจะหามาตรการมาแทรกแซงหรือคว่ำบาตรต่อไป(3)(4).
คงไม่ใช่เรื่องสนุกหากประเทศไร้ซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง
References:
3. http://www.nytimes.com/2012/04/18/world/africa/guinea-bissau-is-suspended-by-african-union.html.
    Retrieved on 20th April 2012.

ตอนที่ 21 : อนาคตมุสลิมในสิงคโปร์...รุ่งหรือดับ (จบ)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

                 ศาสนาและวิธีชีวิตที่เปลี่ยนไป
ได้คุยกับเพื่อนชาวสิงคโปร์แล้ว ทำให้เราได้ทราบว่าถึงแม้มุสลิมมาเลย์จะมิใช่ชนกลุ่มใหญ่ของประเทศนี้แต่พวกเขาและศาสนาอิสลามของพวกเขาต่างได้รับการดูแลเอาใจใสเป็นอย่างดีจากรัฐบาลสิงคโปร์มากว่า 50ปี ทั้งนี้อันเนื่องมาจากได้รับสิทธิคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญสิงคโปร์ที่ร่างขึ้นก่อนการประกาศเอกราช(โดยความช่วยเหลือของอังกฤษที่มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำมุสลิมสิงคโปร์ในขณะนั้น)โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมาตรา 152 และ 153 ที่ระบุว่ารัฐบาลต้องเอาใจใสดูแลมุสลิมซึ่งเป็นชนส่วนน้อยของรัฐทั้งในกิจการศาสนา ความเป็นอยู่  การศึกษา ภาษา เศรษฐกิจ  การเมือง  ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนในกิจการทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย(1) จากสิทธิคุ้มครองและการส่งเสริมเหล่านี้ทำให้มุสลิมในสิงคโปร์มีการก่อตั้งสมาคมและองค์กรมุสลิมขึ้นหลายองค์กรทั้งองค์กรด้านกิจการศาสนา สังคม และการศึกษา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งสิงคโปร์ (the Islamic Religious Council of Singapore-MUIS(2), ศาลชารีอะห์(the Syariah Court),องค์กรด้านการดะวะห์(Muslim Missionary Society (Jamiyah)),องค์กรด้านการศึกษา(Association of Muslim Professionals),องค์กรด้านเทคโนโลยีอย่าง(Islamic Theological Association of Singapore (Pertapis)),หรือแม้กระทั้งองค์กรด้านอาหารฮาลาล เป็นต้น(3)

 
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งสิงคโปร์

เพื่อนชาวสิงคโปร์กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับชาวสิงคโปร์แล้วการเจริญเติบโตและการพัฒนาด้านกิจการศาสนาทั้งในแง่ของการจัดตั้งองค์กร การร่วมกลุ่ม และความเข็มแข็งของมุสลิมนั้นไม่มีปัญหาแต่ที่เป็นปัญหาและเป็นปัญหาที่น่ากลัวที่สุดของมุสลิมในสิงคโปร์คือปัญหาการบุกรุกของวัฒนธรรมตะวันตกและการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพวิธีชีวิตมุสลิม เนื่องจากสิงคโปร์มีชนส่วนใหญ่เป็นชนต่างศาสนิกซึ่งปรับตัวใช่ชีวิตแบบสมัยใหม่ของวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้มุสลิมบางส่วนเองก็เริ่มปรับตัวปรับวิธีชีวิตเป็นแบบสมัยใหม่ของตะวันตกเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนด้วยสภาพการณ์แบบนี้ย่อมจะพัดมุสลิมออกห่างจากอิสลามมากขึ้น จนสุดท้ายเกรงว่ามุสลิมอาจจะเหลือแต่ชื่อ เหลือแต่องค์กร เหลือแต่ประวัติ แต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงดำรงไว้ซึ่งความเป็นมุสลิมที่แท้จริง

องค์กรอิสลามในสิงคโปร์มีบทบาทมากในการพัฒนาและส่งเสริมกิจการศาสนา การศึกษา และความเป็นอยู่ของสิงคโปเรียนมุสลิม

ด้านการศึกษา
เช่นเดียวกันในด้านการศึกษาที่เพื่อนชาวสิงคโปร์แอบบ่นน้อยใจว่ามหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งของประเทศเปิดสอนแต่ด้านวิชาการสมัยใหม่มากมายแต่ไม่มีการเปิดสอนวิชาการอิสลามเลยแม้แต่สาขาวิชาเดียว ทำให้มุสลิมสิงคโปร์ที่ต้องการศึกษาต่อด้านอิสลามศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศแทนมีทั้งศึกษาต่อในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และย่านอาเซียนอย่างมาเลเซียและอินโดเนเซีย


บู๊ตกิจกรรมของ นศ.สิงคโปร์ในมหกรรม Ummatic Week ของมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย 2012

ทั้งนี้การศึกษาในด้านอิสลามศึกษาถือเป็นความหวังของมุสลิมสิงคโปร์ที่อยากให้ลูกหลานของตนเองมีความรู้ด้านวิชาการศาสนาควบคู่กับวิชาการสามัญซึ่งพร้อมที่จะกลับมาสานต่อกิจการศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และภารกิจเผยแพร่อิสลามในดินแดนสิงคโปร์ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมอย่างรวดเร็วมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กิจกรรมนักเรียนของนักเรียนมัธยม(โรงเรียนประจำ)แห่งหนึ่งในสิงคโปร์

References
2.             http://www.30-days.net/muslims/muslims-in/asia-east/singapore/. Retrieved on 14th April 2012.
3.             http://www.muis.gov.sg/cms/index.aspx. Retrieved on 14th April 2012.