ตอนที่ :10 ชาติมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียน 1(บรูไน)

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เป็นที่แน่นอนว่าการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่จะถึงนี้ย่อมจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อชาติทั้งหมดในอาเซียนซึ่งตอนนี้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด11 ประเทศ ยกเว้น ติมอร์เลสเต ที่ยังมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ ในส่วนของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน นับเป็นสามประเทศมุสลิมในอาเซียนที่มีบทบาทมาตลอดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และทั้งสามประเทศมุสลิมนี้คงต้องเพชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประชาคมอาเซียน หมายถึง ประชาคมเดียวกันที่มีอิสระในการเคลื่อนย้ายของ การค้า เงินทุน แรงงาน  ภาษาและวัฒนธรรม 
ในตอนที่ 1 นี้ผมจะพูดถึงประเทศบรูไนก่อนครับ

เรื่องหลังบ้านของบรูไน
          บรูไนเป็นประเทศที่เล็กเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากสิงคโปร์และติมอร์ แต่นั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการอยู่รอดของชาวบรูไนแต่อย่างใดเพราะบรูไนมีประชากรไม่มากและที่สำคัญประเทศบรูไนมีทรัพยากรก๊าชและน้ำมันเต็มไปหมดจนสามารถพัฒนาพลังงานเหล่านี้ขึ้นมาใช้และขายได้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ ในส่วนของความเป็นอยู่ของชาวบรูไนนั้นถือว่ามีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ มีการงานอาชีพ รัฐสวัสดิการ และการศึกษาที่ทั่วถึง ที่สำคัญบรูไนมีความพร้อมในเรื่องของการเป็นผู้นำ เนื่องจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 นี้จะเป็นคิวของบรูไนที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

ซุลตาน ฮัสสัน อัลโบลเกียห์ เเห่งบรูไน
          จากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในปี 2015 นี้บรูไนย่อมต้องปรับตัวอย่างมากเหมือนๆกับชาติอื่นๆในอาเซียนโดยเฉพาะการปรับตัวด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ

1.บรูไนจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น

ในฐานะที่เป็นประเทศเล็กไม่มีทรัพยากรป่าไม้และการเกษตร ทำให้บรูไนต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่แล้ว โดยเฉพาะอาหาร อุปกรณ์อิเล็กโรนิกส์ ยา เครื่องนุ่งห่ม และ ยานยนต์ เมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นแล้วบรูไนจะมีอัตราการนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าในอาเซียนจะปรับภาษีเป็น 0% ทำให้ราคาสินค้าเกือบทุกชนิดถูกลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ บรูไนจะหันมานำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกกันเองมากขึ้นและลดการน้ำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆลง

บรูไนเป็นผู้นำเข้ารถหรูรายใหญ่ของโลกเเละภาษีน้ำเข้าก็ต่ำด้วย


2.แรงานและคนต่างด้าวจะเพิ่มขึ้น

นี้เป็นข้อเสียข้อหนึ่งที่บรูไนต้องยอมรับเพราะบรูไนมีประชากรแค่ 401,890 คน(en.wikipedia.org/wiki/Brunei) ทำให้บรูไนมีทรัพยากรบุคคลน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน แม้แต่ในประเทศตนเองที่ต้องจ้างแรงานต่างชาติเข้ามา ด้วยเหตุนี้บรูไนจึงไม่สามารถแข่งขันด้านแรงงาน และการพัฒนาฝีมือแรงานกับชาติอื่นๆได้ ทำให้บรูไนต้องอนุญาตให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ และแน่นอนประชากรแฝงในบรูไนจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนแน่นอน.

3.เศรษฐกิจบรูไนจะขยายตัว

เศรษฐกิจบรูไนจะขยายตัวมากขึ้นตามจำนวนการค้า การส่งออก และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของประชาชน โดยการค้าพลังงานก๊าช น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จะยังคงเป็นรายได้หลักของประเทศบรูไน แถมยังจะมีลูกค้ารายใหม่ๆในอาเซียนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศในอาเซียนที่ต้องการใช้พลังงานสูงในภาคอุตสาหกรรม การโยธา เครื่องจักรกลหนัก และการผลิต รองลงมาจะเป็นรายได้จาก การส่งออกอาหารฮาลาล

 เเท่งขุดเจาะน้ำมันเเละก๊าชในทะเลบรูไน

4.ชาวบรูไนจะไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น

คนบรูไนส่วนใหญ่เป็นคนรวย มีเงินทุน แต่จะลงทุนในประเทศลำบาก เพราะขนาดของเศรษฐกิจในประเทศมีขนาดเล็ก เมื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นชาวบรูไนก็จะแห่ไปลงทุนในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะลงทุนในภาคการเกษตร อาหาร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลงทุนในอินโดนีเซีย ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม และจะสามารถนำเม็ดเงินจำนวนมหาศาลกลับเข้าประเทศตนเอง

5.บรูไนจะพัฒนาตนเองเป็นศูนย์ผลิตและส่งออกอาหารหาลาล

ไม่เพียงแค่มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซียเท่านั้นที่เพิ่มกำลังการผลิตอาหารฮาลาล บรูไนก็เช่นกัน บรูไนพยายามพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลด้วยแต่อาจจะเสียเปรียบหน่อยเพราะศักยภาพในหลายๆด้านอาจจะสู้อินโดนีเซียและมาเลเซียไม่ได้ เช่นในเรื่องวัตถุดิบและแรงงาน

6.บรูไนจะพัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลางการค้าให้กับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

เมื่อการค้าในอาเซียนเติบโตและมีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในอาเซียนมากมาย บรูไนเลยเกิดไอเดียที่จะสถาปนาบรูไนให้เป็น(Hub)ศูนย์กลางการค้าการลงทุนให้กับชาวต่างชาติในอาเซียนเสียเลยโดยเฉพาะการลงทุนจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบรูไนมากนักและมีกำลังการซื้อ กำลังการลงทุนสูง  ซึ่งจะทำให้บรูไนมีรายได้มากขึ้นจากภาคการลงทุน

สนามบินนานาชาติเเห่งใหม่ของบรูไนเพื่อรองรับการพัฒนาด้านการลงทุน เเละศูนย์กลางการค้าของออสเตรเลีย/ นิวซีเเลนด์
       
เหล่านี้เป็นเพียงแค่ผลประโยชน์และผลเสียหลักๆเท่านั้นที่จะเกิดกับบรูไนหลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ส่วนในรายละเอียดนั้นไม่ขอกล่าวถึงเพราะมีรายละเอียดเยอะมาก

การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
1. ภาษา
การเปลี่ยนแปลงด้านภาษาถือว่าบรูไนได้เปรียบมาก เพราะโดยทั่วไปชาวบรูไนใช้ภาษามาเลย์อยู่แล้ว(ภาษาราชการ) และยังใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอีกด้วย จึงสามารถรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้สบายๆทั้งในด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน
2. ศาสนาและวัฒนธรรม
ชาวบรูไนมีความเชื่อ ยึดมั่นในศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมความเป็นบรูไนสูงมาก แต่ถึงกระนั้นเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนก็ย่อมนำพามาซึ่งวัฒนธรรมและศาสนาใหม่ๆของชาติอื่นๆมาด้วย แต่ด้วยความที่มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาเดียวกัน และมีวัฒนธรรมคล้ายกันก็คงทำให้วัฒนธรรมของชาวบรูไนเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และจะยังคงความเป็นมาเลย์ บรูไน แบบดั่งเดิมต่อไป

วิธีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นบรูเนียนของคนบรูในนั้นสูงมากครับ เค้ารักและพร้อมทีจะอนุรักษ์อัตลักษณ์ของพวกเค้า

 3.การศึกษา
บรูไนจะเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากบรูไนมีจุดแข่งในเรื่องของการใช่ภาษามาเลย์และอังกฤษ ที่ชาวบรูไนสามารถใช้ได้ดีเหมือนชาวมาเลเซีย คาดการณ์กันว่ารัฐบาลบรูไนจะเพิ่มจำนวนทุนการศึกษา สาขาวิชาใหม่ๆ ปรับหลักสูตรการเรียน และลดค่าเทอมลงสำหรับชาวต่างชาติในอนาคต

การศึกษาและรัฐสวัสดิการของบรูในมีมาตรฐานสูงมาก ทุกคนจะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐบาลตั้งแต่เกิด

ตอนที่ 9 : บาห์เรนกับปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

           ปฏิเสธไม่ได้ว่าบาห์เรนซึ่งเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการลุกฮือขึ้นประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของหลายๆชาติในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีผละกระทบไม่มากถึงขนาดเกิดการโค่นล้มรัฐบาลและก่อการจลาจลขั้นรุ่นแรงเหมือนอียิปต์และลิเบีย แต่บาห์เรนก็เป็นประเทศเดียวในตอนนี้ที่ประกาศลงดาบสั่งจำคุกมวลชนที่ก่อการประท้วงด้วยคดีอาญาสูงสุดถึง15 ปีแล้ว ถึงแม้จะถูกองค์นานาชาติต่างๆวิจารณ์ก็ตาม จากการออกมาประท้วงของประชาชนบาห์เรนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ประชาชนอยู่ดีกินดีขนาดนี้ แสดงว่าการเมืองภายในต้องมีปัญหา!
           บาห์เรนเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลกอาหรับ สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย มีอาณาเขตกว้างเพียงแค่ 750 ตารางกิโลเมตร บวกกับประชากรอีกเพียงแค่ 1,234,596 คน เท่านั้น แต่ถึงแม้ประเทศจะเล็กแต่ด้วยจำนวนทรัพยากรน้ำมันและก๊าชอันมากมายทำให้ประเทศนี้มีจำนวนรายได้จำนวนมหาศาลต่อปี ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีระบบสาธารณูปโภคที่เพียบพร้อม และมีการศึกษาที่ทั่วถึง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าประชาชนทั้งหมดจะพอใจและมีความสุขกับสิ่งที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้ เพราะประชาชนบางส่วนยังมีแนวคิดต่อต้านการปกครองของกษัตริย์ของตัวเอง และมีความชื่นชอบระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกสะสมอยู่แล้ว เมื่อมีสถานการณ์ประท้วงอย่างหนักจากประเทศรอบข้างอย่างในอียิปต์ ตูนีเซีย เยเมน และซีเรีย ก็มีส่วนกระตุ้นให้กลุ่มคนพวกนี้ในบาห์เรนออกมาประท้วงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในประเทศตัวเองด้วย และเหตุการณ์ในบาห์เรนก็เกือบจะปานปลายด้วยซ้ำไปจนถึงขั้นที่รัฐบาลบาห์เรนต้องของความช่วยเหลือจากซาอุฯและอิมิเรสต์ในการเข้ามาช่วยปราบปรามผู้ประท้วงและนำบาห์เรนกลับเข้ามาสู้ความสงบอีกครั้ง


            จนถึงตอนนี้เหตุการณ์การประท้วงในบาห์เรนได้สงบลงแล้วกว่าสามเดือน และศาลสูงของบาห์เรนก็ทยอยอ่านคำพิพากษาจำคุกเหล่าผู้ประท้วงในความผิด “ก่อความไม่สงบต่อความมั่นคงของประเทศ” ถึง 15 ปี และมีแนวโน้มว่าจะมีการพิจารณาพิพากษาเพิ่มเติมอีกในอนาคตอันใกล้กับกลุ่มผู้ประท้วงที่ยังตกค้าง
จากประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ถึงตรงนี้เราสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยหลักๆที่มีผลกระทบต่อความไร้เสถียรภาพของบาห์เรนที่มิอาจหลีกเหลียงหรือควบคุมการลุกฮือของประชาชนได้ดังนี้ 

1.การกุมอำนาจเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์อัลคอลีฟาห์
        การกุ่มอำนาจในตำแหน่งสำคัญๆของประเทศเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์อัลคอลีฟาห์ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบาห์เรนไม่พอใจต่อการทำงานของรัฐบาล นอกจากตำแหน่งประมุขของประเทศแล้ว ตำแหน่งสำคัญๆต่างๆในรัฐบาลส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกษัตริย์ที่จะมักจะส่งพระเชษฐา,มงกุฎราชกุมาร,และเครือญาติไปดำรงตำแหน่งด้วยการแต่งตั้ง ทำให้ชาวบาห์เรนบางส่วนมองว่าไม่ยุติธรรม และควรที่จะพิจารณาบุคคลทั่วไปเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศบ้าง มิฉะนั้นผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่กับกลุ่มชนชั้นสูงเพียงกลุ่มเดียว


King Hamad bin Isa Al Khalifa กษัตริย์คนปัจจุบันของราชอานาจักรบาห์เรน

2.ความแตกแยกด้านนิกาย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยของประเทศบาห์เรนนับถือนิกายซีอะห์ เพราะในสมัยก่อนบาห์เรนเคยเป็นจังหวัดหนึ่งประเทศของอิหร่านมาก่อน ก่อนที่จะแยกตัวออกมาในภายหลัง กลุ่มชีอะห์นี้ก็ไม่ค่อยจะพอใจกับระบบการปกครองของประเทศมากนัก เพราะกลุ่มที่ควบคุมอำนาจของประเทศอยู่คือกลุ่มซุนนี่นั้นเอง แม้กระทั้งราชวงค์อัลคอลีฟาห์เองก็เป็นซุนนี่ด้วยเช่นกัน ด้วยการนับถือนิกายที่แตกต่างกันของประชาชนในประเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศบาห์เรนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ที่ผ่านมาความแตกแยกระหว่างสองกลุ่มนิกายนี้ไม่ได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นมาเท่านั้น

จากตารางจะเห็นได้ว่า มีชาวบาห์เรนกว่า 61% นับถือนิกายชีอะห์ นั้นหมายความว่าที่เหลืออีก 39% นั้นเป็นซุนนี่ เเละเป็นกลุ่มที่ครอบครองตำเเหน่งทางรัฐบาลได้มากกว่าชาวชีอะห์

3.กระแสกระตุ้นจากนอกประเทศ
ถึงแม้เสถียรทางการเมืองในบาห์เรนจะทรงตัวมาตลอด แต่ด้วยแรงกระตุ้นอย่างหนักจากนอกประเทศอย่างการลุกฮือประท้วงในชาติอาหรับอื่นๆก็ย่อมมีผลต่อการลุกฮือของประชาชนในประเทศด้วยเช่นกัน ทำให้กลุ่มประชาชนที่มีความรู้สึกเก็บกด และอัคติกับรัฐบาลรวมตัวกันออกมาประท้วงด้วย จากการรายงานของรัฐบาลพบว่ากลุ่มผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิผลและมีแนวคิดด้านลบต่อรัฐบาลอยู่แล้ว เนื่องจากมองว่า ทั้งตำแหน่งประมุข รัฐบาล และหน่วยงานสำคัญๆต่างๆล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มซุนนี่ โดยเฉพาะจากกลุ่มของราชวงค์อัลคอลีฟาห์นั้นเอง

ข้อเรียกร้องของชาวบาห์เรนก็ได้อิทธิผลมาจากการประท้วงในประเทศเพื่อนบ้านดีๆนั้นเอง คือ เรียกร้องประชาธิปไตยจากผู้นำประเทศ

       จากปัจจัยหลักๆทั้งสามข้อที่มีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของบาห์เรนนั้น  ทำให้เรามองได้ว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนอาจจะไม่ใช้การประท้วงครั้งสุดท้ายและร้ายแรงที่สุดสำหรับบาห์เรน แต่มันอาจจะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคตหากยังมีกระแสการลุกฮือของชาติต่างๆในโลกอาหรับออกมาเรื่อยๆ ผสมกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอย่างปัญหาความคิดแตกแยกด้านนิกายและการกุมอำนาจเพียงฝ่ายเดียวของราชวงค์คอลีฟาห์ที่ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลบาห์เรนมีแนวทางที่ชัดเจนหรือยังในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อย่างน้อยๆหากรัฐบาลบาห์เรนเต็มใจที่จะแก้ไขปัญหาหลักๆในประเทศเหล่านี้ก็น่าจะลดโอกาสของการลุกฮือของประชาชนในอนาคตได้ ถึงแม้จะยังมีกระแสรบกวนจากภายนอกเข้ามาก็ตาม.