ตอนที่ 6: ตุรกีกับการก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลกมุสลิม

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักจากการล้มสลายของอาณาจักรออตโตมานเตริก์ (อุสมานียะห์)ในปีฮิจเราะห์ศักราช 1340 ( ค.ศ.1922 )  ซึ่งถือเป็นอาณาจักรคีลาฟะห์ยุคสุดท้ายของอิสลาม ดินแดนของออตโตมานก็ได้ถูกแบ่งแยกออกไปตั้งตัวเป็นประเทศใหม่นับสิบประเทศ ในส่วนของดินแดนแม่ของออตโตมาน(ในเขตอนาโตเลียและคอนแสตนติโนเปิ่ล)ได้ร่วมตัวขึ้นมาเป็นรัฐใหม่เช่นเดียวกัน โดยตั้งชื่อประเทศว่า “ตุรกี” ตามชื่อเชื่อชาติของคนที่นี่นั้นคือ “ชาวเตริก์” ภายใต้การนำของมุสตอฟา  กามัล อัลตาเตริก์ จากอาณาจักรที่มั่งคั่งด้านเศรษฐกิจของโลกในขณะนั้นตุรกีกลับยากจนลงเรื่อยๆจนเป็นประเทศล้าหลังในดินแดนยุโรปนับเป็นเวลากว่าหลายสิบปีจนกระทั้งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยุโรปตั้งฉายาให้ตุรกีว่า “คนป่วยแห่งยุโรป”
          ปัจจุบันความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจของตุรกีได้เปลี่ยนไปมากแล้วโดยเฉพาะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลตุรกีได้พยายามสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจังทั้งการส่งเสริมการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การลงทุนทางการเงิน การส่งออก และภาคบริการ ทำให้เศรษฐกิจของตุรกีขยายตัวและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นอกจากนี้ทางการตุรกียังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(WTO), กลุ่ม G-20,กลุ่ม OECD(1)และทำสัญญาการค้าหลายฉบับกับกลุ่มประเทศมุสลิมหลายประเทศในช่วงไม่กี่ปีมานี้เพื่อเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่งในการส่งเสริมกิจกรรมทางการการการส่งออกของตุรกีให้เติบโตเร็วขึ้นและแน่นอน “เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งในสิบประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลกให้ได้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า”(2)

(กลาง-ซ้าย) Recep Tayyip Erdogan นายกรัฐมนตรีตุรกีเข้าร่วมประชุม G-20 (กลุ่ม 20 ประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก) ที่ เกาหลีใต้ อหนึ่ง ตุรกีเป็นประเทศที่มีบทบาทและได้รับความสนใจจากแกนนำกลุ่ม G-20 มากขึ้นไม่แพ้บราซิล จีน และอินเดีย เนื่องจากระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง

     ปัจจุบันทางตุรกีได้เน้นการทำการค้ากับกลุ่มประเทศมุสลิมมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางได้แก่  “ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์, คูเวต, ซาอุดิอารเบีย, บาห์เรน, ซีเรีย,กาตาร์,อิหร่าน,จอร์แดน,เยเมน,ร่วมทั้ง  อินโดนีเซีย โคโซโว และปากีสถาน”(3)ด้วย ซึ่งไม่ได้อยู่ในตะวันออกกลาง. การเข้ามาร่วมทำการค้าของตุรกีนั้นไม่ได้เพื่อเพียงแค่ต้องการส่งออกสินค้าของตัวเองไปยังโลกอาหรับเท่านั้นแต่ยังมีนัยยะแอบแฟงอยู่ด้วยนั้นคือ


อุตสาหกรรมบริการของตุรกีเติบโตเร็วมากและกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของตุรกีในปัจจุบันไม่แพ้อุตสาหกรรมสิ่งท่อ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

1.เป็นการเพิ่มระดับความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับกลุ่มประเทศมุสลิมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับกลุ่มประเทศมุสลิมมีไม่มากเท่าที่ควร(อยู่ในระดับปานกลาง)ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การส่งออก ศาสนา และการเมือง เพราะที่ผ่านมาตุรกีให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศยุโรป (EU) มากกว่า
2.กลุ่มประเทศมุสลิมหวังว่าเมื่อตุรกีสามารถกระโดดขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจได้ในอนาคตก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิมที่ทำการค้ากับตุรกีด้วยเช่นกัน เนื่องจากจะมีการค้า การส่งออก และการลงทุนหมุนเวียนของเงินระหว่างกันมากขึ้น เป็นการพยุงเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิมไปในตัว
3.กลุ่มประเทศมุสลิมจะได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากตุรกีได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น (มีตุรกีเป็นคนคอยสนับสนุน) และยังสามารถลดการพึ่งพาโลกตะวันตกได้อีกทางหนึ่งเนื่องจากระบบการเงินของโลกตะวันตกเริ่มเสื่อมความน่าเชื่อถือลงไปมากในปัจจุบัน
4.การทำการค้ากับโลกมุสลิมจะทำให้ตุรกีแผ่ขยายอิทธิผลของตัวเองในกลุ่มประเทศมุสลิมได้มากขึ้น(4)ได้รับการยอมรับมากขึ้น และจะสามารถก้าวขึ้นมามีบทบาทในโลกมุสลิมมากขึ้นเช่นเดียวกัน เช่น บทบาทในการพัฒนา, การเจรจาการค้า, การเจรจายุติความขัดแย้ง, และการสร้างสันติภาพ เป็นต้น

ตุรกีได้รับการตอบรับและร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มประเทศมุสลิมในการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางอย่าง คูเวต,กาตาร์,สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และซาอุดิอารเบีย.
 
         จากความร่วมมือทางการค้าที่จะเกิดขึ้นนั้นจะทำให้เกิดรายได้จำนวนมหาศาลระหว่างตุรกีและกลุ่มประเทศมุสลิมในอนาคตอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในตอนนี้รายได้หลัก และกลุ่มคู่ค้าหลักของตุรกียังคงเป็นกลุ่มชาติในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญๆอย่าง เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ก็ตาม.
          ในไม่กี่ปีข้างหน้าเราคงจะได้เห็นตุรกีก้าวขึ้นมาเป็น 1 ใน 10 ประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลก และเป็นการลบฉายา “คนป่วยแห่งยุโรป”ที่ถูกเรียกคานมานานกว่า 80 ปี หลังจากล้มสลายของอาณาจักรออโตมาน ซึ่งอาจจะสวนทางกับกลุ่มประเทศยุโรปบางประเทศที่กำลังกลายมาเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป” แทน เพราะมีหนี้สิ้นล้นพ้นจนจ่ายคืนไม่ได้ อย่าง กรีซ ที่เป็นอยู่อย่างน่าเป็นห่วงในปัจจุบัน.
 
อ้างอิง

1 Wikipidia.(2011). Turkey . Available: www.http://en.wikipedia.org/wiki/ Turkey .Retrieved 25 July 2011.

2 Today Zaman. (2011). Increasing trade with Muslim countries becomes Turkey’s economic ‘oxygen’.

         Available: http://www.todayszaman.com. Retrieved 25 July 2011.

3 Ibid., Retrieved on 23th February 2011.
4. Ibid., Retrieved on 25th February 2011.

ตอนที่ 5 ปากีสถาน-สหรัฐ : ขัดแย้งขั้นแตกหักหลังสังหารบินลาเดน จริงหรือเท็จ? (ตอนจบ)

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

     อย่างที่วิเคราะห์ไว้ในตอนแรกว่าถึงแม้สถานการณ์ความตึงเครียดด้านการฑูต และการตอบโต้ด้วยวาจา และนโยบายต่างประเทศของปากีสถานและสหรัฐในตอนนี้ยังคงดำเนินอยู่และมีแนวโน้มที่ปากีสถานจะลดบทบาทการเป็พันธมิตรกับสหรัฐอยู่ก็จริง แต่หากวิเคราะห์ในอีกแง่มุมตรงกันข้ามก็จะเห็นได้ว่า มีความเป็นไปได้น้อยที่ทั้งสองประเทศจะตักขาดความสัมพันธ์ลงเนื่องจากทั้งสองประเทศยังมีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องพึ่งพา ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านการทหาร สงครามก่อการร้าย และการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์มหาศาลของสหรัฐในเอเชียใต้ 
           จากแง่มุมนี้ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและสหรัฐ “จะเป็นความขัดแย้งในระยะสั้น หรือชั่วคราวเท่านั้น”  และอาจจะกลับมาคืนดี หรือปรองดองกันอีกครั้งในอนาคตข้างหน้า.

2.ลดความสัมพันธ์ชั่วคราว
   2.1 ปากีสถานยังมีความจำเป็นในการใช้สหรัฐเป็นผู้สนับสนุนและช่วยคานอำนาจกับอินเดีย
ในภูมิภาคเอเชียใต้นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าอินเดียและปากีสถานเป็นสองประเทศคู่แข่งกันมาตลอด โดยเฉพาะการแข่งขันด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธนิวเคลียร์นั้นเอง แต่ถึงอย่างไรแล้วปากีสถานเองก็ยังเสียเปรียบอินเดียอยู่มากทั้งกำลังทหาร อาวุธ พื้นที่ของประเทศ และเทคโนโลยี ซึ่งอินเดียพัฒนาได้เร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ปากีสถานจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐค่อยเข้ามาหนุนหลังเพื่อคานอำนาจกับอินเดียและมหาอำนาจอื่นๆที่ให้การสนับสนุนอินเดียอย่างจีนและรัสเซีย.


ปากีสถานตั้งอยู่ในที่ตั้งที่เสียเปรียบเพราะติดอยู่กลางดงมหาอำนาจในภูมิภาค มีอินเดียด้านทิศตะวันออก  จีนด้านทิศเหนือ และอิหร่านด้านทิศตะวันตก จึงจำเป็นต้องมีมหาอำนาจอื่นมาคอยสนับสนุนและช่วยคานอำนาจ

2.2 ลดชั่วคราวเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นและลดกระแสต่อต้านจากโลกมุสลิม
     ถึงแม้รัฐบาลปากีสถานอาจไม่มีส่วนรู้เห็นจากปฏิบัติการสังหารบินลาเดน แต่ก็หนีไม่พ้นกระแสกดดันและติเตียนจากชาติมุสลิมอย่างหนักว่าว่างตัวไม่เหมาะสมกับการเป็นชาติมุสลิมที่ให้การช่วยเหลือสหรัฐมากเกินไป ฉะนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่าทางปากีสถานต้องการสร้างกระแสว่าอาจจะตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐขึ้นเพื่อลดกระแสกดดันจากโลกมุสลิมด้วยกัน เพื่อให้โลกมุสลิมมองปากีสถานในภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นและไม่ได้ตกอยู่ในอิทธิผลของสหรัฐมากจนเกินไปนั้นเอง 

2.3 สหรัฐยังต้องใช้ปากีสถานเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารในมหาสมุทรอินเดียและประตูสู่เอเชียกลาง
      สหรัฐนั้นเป็นมหาอำนาจนอกภูมิภาคที่ไม่มีดินแดนของตนเองในแถบนี้และยังไม่มีพันธมิตรที่ไว้ใจได้แม้แต่ชาติเดียวในเอเชียใต้ยกเว้นปากีสถาน ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับปากีสถานเพื่อขอใช้ปากีสถานเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารต่อไป เช่น การตั้งกองทัพเรือเพื่อดูแลผลประโยชน์สหรัฐในมหาสมุทรอินเดีย การใช้ปากีสถานเป็นประตูไปสู้การ หาผลประโยชน์ด้านพลังงานและทำสงครามกับตอลิบันในเอเชียกลางซึ่งไม่ทางออกที่ติดกับทะเล.


ปากีสถานเป็นพันธมิตรของสหรัฐที่ติดกับทะเลในเอเชียใต้และยังใช้เป็นประตูไปสู่เอเชียกลางได้อีกด้วย อย่างอัฟกานิสถาน,คาซัคสถาน,ทาจิกิสถาน,อุสเบกิสถาน,และคียกีสถาน เป็นต้น

บทสรุปที่อาจเป็นไปได้
      ผมมองว่าความคัดแย้งของทั้งสองประเทศคงจะเป็นความขัดแย้งในระยะสั้นเท่านั้น โดยที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอาจจะดีขึ้นในชุดรัฐบาลถัดไปของสหรัฐหลังการหมดวาระของรัฐบาล บารัค โอบามา ครับ แต่ถ้าหากมีเหตุการณ์ หรือมีการจงใจที่จะสร้างสถานการณ์ใดให้นำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มเติมระหว่างสองประเทศนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปากีสถานอาจจะลดบทบาทการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐจริงๆ ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นจริงก็คงตอบบอกว่า “เป็นการสูญเสียผลประโยชน์ อิทธิผล บารมี และพันธมิตร ที่ร้ายแรงที่สุดของสหรัฐในเอเชียใต้ ภายใต้การบริหารประเทศของบารัค โอบามา”

       สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจของปากีสถานไม่ว่าจะออกมาในทิศทางใด? เพื่อจุดประสงค์อะไร?ก็คงไม่มีใครทราบได้ชัดเจนในตอนนี้และการตัดสินใจก็คงจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลปากีสถานในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับหะดีษที่รายงานโดยท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบ ว่า แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“แท้จริงงานนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และทุกๆคนก็จะได้ตามที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้
(ฮาดิษอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1 ฮาดิษมุสลิม หมายเลข 1907).

ตอนที่ 4 ปากีสถาน-สหรัฐ : ขัดแย้งขั้นแตกหักหลังสังหารบินลาเดน จริงหรือเท็จ? ตอน 1

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

           หลายวันที่ผ่านมาทุกท่านคงจะได้ทราบข่าวกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างปากีสถานและมหาอำนาจนอกภูมิภาคอย่างสหรัฐอเมริกาที่ถึงขั้นที่แต่ละฝ่ายใช้มาตรการด้านการทูต และการทหาร กดดันอีกฝ่ายหนึ่งจนนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่แตกร้าวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลังจากสหรัฐใช้ทหารหน่วยรบพิเศษ (หน่วยซีล) เข้าสังหารนายอุซามะห์ บินลาเดน ในปากีสถานซึ่งถือเป็นปฏิบัติการฝ่ายเดียวที่ปากีสถานถือว่า ไม่ให้เกียรติอย่างแรงและทำให้ปากีสถานต้องขายหน้าต่อชาวโลกว่า “ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นกับการอาศัยอยู่ในปากีสถานของบินลาเดน”

ต้นตอและลำดับเหตุการณ์
       ไม่ว่าบินลาเดนจะถูกสังหารจริงหรือไม่? หรือปฏิบัติการสังหารบินลาเดนของสหรัฐจะเป็นการจัดฉากหรือเปล่าก็ตาม ?แต่ผลพวงของเหตุการณ์ได้กลายมาเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งระหว่างปากีสถานกับสหรัฐในที่สุด โดยในเริ่มแรกสหรัฐได้ติเตียนรัฐบาลปากีสถานว่า รัฐบาลปากีสถานอาจจะมีส่วนรู้เห็นกับการอาศัยอยู่ในปากีสถานของบินลาเดน แต่กลับทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งถือว่าขัดต่อข้อตกลงระหว่างสหรัฐกับปากีสถานที่ต้องการกวาดล้างกลุ่มตอลิบันในอัฟกานิสถานและปากีสถาน. 
       จากการกล่าวหาของสหรัฐทำให้ปากีสถานไม่พอใจสหรัฐเพิ่มมากขึ้นเพราะถือว่าเป็นการกล่าวหาเพียงฝ่ายเดียว แถมการปฏิบัติการลับก่อนหน้านี้ของสหรัฐก็ไม่แจ้งให้ปากีสถานทราบอีก รัฐบาลปากีสถานจึงใช้มาตรการตอบโต้สหรัฐกลับไปเช่นกัน เช่น การไม่อนุมัติวีซ่าครูฝึกทหารสอนชาวอเมริกัน การลดการพึงพากองทัพสหรัฐในการปรามปรามกลุ่มตอลิบันบริเวณชายแดนปากีสถานกับอัฟกานิสถาน เป็นต้น และหลังจากนั้นสถานการณ์การตอบโต้ทางการทูต และการทหารก็รุนแรงขึ้นและมีมากขึ้นมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (11 กรกฎาคม 2554 ) เมื่อ นางฮีลารี่ คลินตัน รมต.กลาโหมสหรัฐประกาศระงับให้ความช่วยเหลือทางการทหารต่อปากีสถานมูลค่าถึง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวๆ 24,000 ล้านบาท) ซึ่งแน่นอนว่าการตอบโต้อย่างรุนแรงของทั้งสองประเทศแบบนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศสั่นคลอน และเกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต จนมีการวิเคราะห์กันไปต่างๆนาๆว่าปากีสถานอาจจะตัดสินใจลดบทบาทการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐในเอเชียใต้ก็เป็นได้.


การสังหารบินลาเดนของสหรัฐในปากีสถานถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ท่าทีของปากีสถานต่อสหรัฐเปลี่ยนแปลงไปมาก และอาจจะทำให้ความมั่นคงของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียใต้ลดลง หากปากีสถานตีตัวออกห่าง

ปากีสถานจะลดความสัมพันธ์กับสหรัฐจริงหรือ?
          แต่คำถามมีอยู่ว่า “ปากีสถานจะลดความสัมพันธ์ทางการทหารและการทูตกับสหรัฐจริงไม่” หรือเป็นเพียงแค่เกมส์ที่ปากีสถานลงทุนเล่นเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นไม่ให้โลกมุสลิมโจมตีปากีสถานว่ายอมเป็นลูกน้องและร่วมมือกับสหรัฐในการกำจัดบินลาเดน? นี่ต่างหากที่เราต้องการทราบและต้องมาวิเคราะห์กัน โดยส่วนตัวผมแล้วผมวิเคราะห์ไว้สองกรณีครับ คือ

1.ลดความสัมพันธ์กับสหรัฐจริงๆ
            ข้อสันนิฐานนี้ถึงแม้อาจดูเหมือนจะเป็นไปได้ แต่ลึกๆแล้วอาจจะเป็นไปได้ยากเหมือนกันเพราะมีปัจจัยหลายอย่างทางภูมิรัฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางการทหารที่ปากีสถานและสหรัฐต้องพิจารณา แต่ถ้าหากเกิดการตัดความสัมพันธ์กันจริงๆแล้ว ก็จะเกิดผลลัพธ์ตามมาดังนี้ครับ
1.1      ปากีสถานหันไปเจริญความสัมพันธ์กับจีนและรัสเซีย
แน่นอนว่าหากตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐ ปากีสถานต้องเดินหน้าหามหาอำนาจรายใหม่มาคอยสนับสนุนและคอยช่วยเหลือปากีสถานหากมีปัญหากับอินเดียในอนาคต ซึ่งมหาอำนาจในภูมิภาคที่ปากีสถานอาจจะเดินหน้าเข้าไปเจริญความสัมพันธ์ด้วยก็มี จีน และรัสเซีย เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกวีโต้ของสหประชาชาติ และมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารโลกที่สหรัฐเองก็อาจจะเกรงใจ โดยเฉพาะจีนที่มีอาณาเขตติดกัน แถมหลังๆมานี้จีนกำลังกลายมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าด้าน อาวุธ ยุทธโทปกรณ์รายใหญ่ให้ปากีสถานแทนที่สหรัฐแล้ว ถึงแม้ว่าอาวุธของจีนจะด้อยคุณภาพกว่าก็ตาม หากมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง 3 ประเทศนี้ขึ้นจริงในอนาคต...เสถียรภาพทางการทหาร บารมี ความมั่นคง และผลประโยชน์ของสหรัฐในเอเชียใต้คงต้องอัปปางลงอย่างแน่นอน.

จีนและรัสเซียจะกลายมาเป็นสองมหาอำนาจใหม่ในเอเชียใต้ หากปากีสถานตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐและหันไปสนิทกับจีนและรัสเซียแทน

1.2          ทำให้สหรัฐเสียดุลอำนาจในภูมิภาค
สหรัฐถือเป็นมหาอำนาจที่มีอิทธิผลในภูมิภาคเอเชียใต้สูงพอสมควร โดยเฉพาะการเข้ามาสนับสนุนปากีสถานคานอำนาจกับอินเดีย และให้การสนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาลต่อปากีสถานในด้านเศรษฐกิจและการทหาร โดยได้รับผลตอบแทนจากปากีสถานด้วยการยอมให้สหรัฐเข้ามาใช้ปากีสถานเป็นฐานทัพ และแหล่งเสบียง รวมถึงใช้ปากีสถานเป็นเครื่องมือในการต่อสู่กับสงครามก่อการร้ายที่เขาอ้างในอัฟกานิสถาน หากปากีสถานตัดความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐจริง สหรัฐก็จะเสียพันธมิตรตัวหลักในเอเชียใต้ และเสียอำนาจ บารมี ที่ตนเองอุตสาห์อุปโลกน์ ขึ้นมาในภูมิภาคนี้ โดยจะมี อินเดีย รัสเซีย และจีน ขยายอำนาจมาครอบงำความเป็นใหญ่ในภูมิภาคนี้แทน
1.3         ทำให้สหรัฐขาดประสิทธิภาพในการกวาดล้างตอลิบัน
ที่ผ่านมาการทำสงครามของสหรัฐในอัฟกานิสถานได้รับการช่วยเหลือจากปากีสถานเป็นอย่างมาก เพราะอเมริกาไม่ใช่คนในพื้นที่ และไม่คุ้นเคยกับการทำสงครามในสภาพภูมิประเทศแบบนี้  และหากมีการตัดขาดการเป็นพันธมิตรกับปากีสถานในขณะที่สงครามในอัฟกันนิสถานยังไม่จบสิ้นอย่างนี้ รับรองว่าสหรัฐปวดหัวแน่นอนที่จะต้องรับศึกตัวคนเดียว และอาจจะพ่ายแพ้ตอลิบันอย่างที่เคยแพ้เวียดนามมาแล้วในอดีต
1.4      ปากีสถานจะขาดผู้สนับสนุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและการทหาร
            ที่ผ่านมาปากีสถานได้รับเงินสนับสนุนล่อใจจากสหรัฐมาโดยตลอดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การแพทย์ การศึกษา และการทหาร โดยจำนวนเงินสนับสนุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี นอกจากนี้สหรัฐเองก็ขายอาวุธดีๆให้ปากีสถานมาตลอดในราคาที่ถูกกว่าคนอื่น หากทั้งสองประเทศตัดความสัมพันธ์กันจริงๆปากีสถานก็คงจะขาดเงินสนับสนุน โดยเฉพาะเงินสนับสนุนด้าน การวิจัยพัฒนา และผลิตอาวุธให้เทียบเท่าคู่อริในภูมิภาคอย่างอินเดีย.

ปากีสถานเป็นประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐมากที่สุดในเอเชียใต้ และเงินสนับสนุนเหล่านี้ นางฮิลลารี่ คลินตันได้ประกาศระงับสนับสนุนให้ปากีสถานเเล้ว

1.5         ภาพลักษณ์ของปากีสถานจะถูกมองในทางที่ดีขึ้นในสายตาโลกมุสลิม
การสังหารบินลาเดนในปากีสถานซึ่งถือว่าเป็นประเทศมุสลิมได้สร้างความไม่พอใจต่อโลกมุสลิมพอสมควร เพราะถูกมองจากโลกมุสลิมในแง่ลบว่าปากีสถานให้ความร่วมมือกับสหรัฐในการกวาดล้างและสั่งฆ่าบินลาเดน แม้แต่ชาวปากีสถานเอง แต่ถ้าหากปากีสถานแสดงท่าที ไม่พอใจ ตำหนิติเตียน และตอบโต้สหรัฐจนถึงขั้นอาจจะตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐแล้ว ภาพพจน์ของปากีสถานก็จะถูกมองในแง่บวกและเห็นใจจากโลกมุสลิมมากขึ้นแน่นอน เป็นการลบภาพและประวัติด้านมืดของปากีสถานที่เคยสนับสนุนสหรัฐมาก่อน.

ติดตามต่อใน ปากีสถาน-สหรัฐ : ขัดแย้งขั้นแตกหักหลังสังหารบินลาเดน จริงหรือเท็จ ? ตอน  2 เร็วๆนี้