ตอนที่ 3 ลิเบีย:จากการประท้วงสู่สงครามกลางเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลิเบียก่อนเหตุการณ์ชุมนุม
      ลิเบียถือเป็นประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือที่มักจะไม่ค่อยได้ยินชื่อบ่อยนักในเวทีการเมืองโลกในรอบหลายปีให้หลัง เนื่องจากดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นกลาง ไม่ฝักฝ่ายๆใด และต้องการปลีกตัวออกจากโลกภายนอกเหมือนรัฐบาลทหารพม่า แต่ก็ยังเข้าร่วมและมีบทบาทอยู่บ้างในองค์กรระดับภูมิภาคอย่างองค์การสันนิบาตอาหรับ(League of Arab)กลุ่มการค้าแอฟริกันเนชั้น(Common Market for Eastern and Southern Africa) และโอแปค(OPEC).

กัดดาฟี่ ผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจมานานกว่าหลายสิบปี

     ก่อนเกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของ มูอัมมัร กัดดาฟี่นั้นสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มอ่อนไหวและเปราะบางมากเนื่องจากเกิดการชุมนุมและเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างดุเดือดอย่างในอียิปต์,แอลจีเรีย,และตูนีเซีย เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รัฐสวัสดิการ และความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากลิเบียไม่ได้ใส่ใจประชาชนเท่าที่ควรทั้งๆที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันมหาศาล นอกจากนี้ลิเบียยังมีอัตราการว่างงานสูงถึง 1.64 ล้านคน[1] จากประชากรทั้งสิ้น 6,597,960 ล้านคน[2] นั้นหมายถึงจะมีคนว่างงาน 1 คนในทุกๆ 7 คน ซึ่งถือว่าสูงมาก และที่เหลือเชื่อคือ... ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งของประเทศ ราวๆ 4 ล้านคนเป็นคนจน! แถมราคาอาหาร  สินค้า และบริการยังขยับแพงขึ้นมาก ทำให้เกิดความไม่พอใจสะสมในหมู่ชาวลิเบียจนสุดท้ายกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชนวนในการก่อตัวประท้วงรัฐบาลขึ้น ซึ่งถือเป็นการประท้วงที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครแถบกล้าขึ้นมาประท้วงรัฐบาลแบบนี้ เพราะรัฐบาลกัดดาฟี่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดมาตลอด  

สถานการณ์หลังการชุมนุม

        เหตุการณ์การประท้วงในประเทศเพื่อนบ้านมีผลต่อการประท้วงของชาวลิเบียแบบไม่ต้องสงสัยเพราะการประท้วงของชาวลิเบียต่อกัดดาฟี่ใช้เวลาเพียงแค่สองสัปดาห์เศษๆก็กลายมาถึงขั้นปานปลาย รุนแรง และใช้อาวุธเลยทีเดียว และถึงแม้ว่ากัดดาฟี่จะพยายามระงับความรุนแรงของผู้ประท้วงด้วยการใช้กำลังทหารเข้าปรามปรามแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล เเถมซ้ำยังเป็นการเพิ่มความรุนแรงและหนักหน่วงของสถานการณ์เข้าไปอีก และถือเป็นการใช้นโยบายปราบปรามที่ผิดพลาดของกัดดาฟี่ เพราะเมื่อสถานการณ์เข้าขั้นรุนแรงเต็มแก่แล้ว ชาติมหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มสหภาพยุโรปที่กำลังรอจังหวะนี้จึงใช้โอกาสเข้ามาแทรกแซงและสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี่ทันที
        ที่แรกก็เป็นอเมริกาที่ร้อนเนื้อร้อนตัวยกกำลังทางอากาศและกองทัพเรือเข้ามายังทะเลดมิดิเตอร์เรเนียนและเปิดฉากโจมตีลิเบียในช่วงแรกแต่สุดท้ายแล้วกลับเปลี่ยนนโยบายกระทันหันให้องค์การสนธิสัญญานาโต้รับช่วงต่อแทน การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้มีความสำคัญและถือว่ามีนัยยะแอบแฝงเช่นเดียวกันที่ยังไม่มีใครทราบว่าแท้จริงแล้วอเมริกามีเหตุผลอะไรที่ต้องลดบทบาทตัวเองลงในการโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟี่ ส่วนตัวผมแล้วผมมองว่ามีเหตุผลหลักๆดังนี้
1.บารัค โอบามา ต้องการดึงคะแนนนิยมของตนเองขึ้นมา เพราะจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในไม่ช้านี้ ฉะนั้นการดำเนินนโยบายโจมตีลิเบียอาจจะถูกมองว่าค้านกับสิ่งที่ตนเองได้พูดออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะพยายามยุติสงครามในต่างแดนและถอนทหารกลับสหรัฐ.
2.ความรุนแรงในอัฟกันเริ่มรุนแรงขึ้นเช่นเดียวกันกับความล้มเลวในการรักษาความสงบในอิรัก หากเปิดแนวรบกับลิเบียอีกอาจจะรับมือสงครามครามทั้งสามด้านไม่ไหว อีกทั้งต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลในการโจมตีกัดดาฟี่ ซึ่งรัฐสภาคองแกรสของสหรัฐคงไม่อนุมัติงบประมาณก้อนโตนี้ไปง่ายๆแน่นอน.
3.ปัจจัยสุดท้ายนี้สำคัญมาก เพราะถึงแม้ว่าสหรัฐจะแสดงบทตีหน้าเศร้ายกเลิกการโจมตีลิเบียและมอบให้ นาโต้ จัดการแทน แต่ในความจริงแล้ว สหรัฐอเมริกาเองก็เป็นสมาชิกแกนนำหลักขององค์การนาโต้อยู่แล้ว และมีบทบาทสำคัญในองค์กรนี้ด้วย สรุปคือ อเมริกายังอยู่ เพียงแต่ซ้อนตัวอยู่ในรูปลักษณ์ของนาโต้นั้นเอง.

ราฟาล เครืองบินรบจากฝรั่งเศสที่ใช้เป็นกำลังหลักในการโจมตีของนาโต้
          
 จากการรับบทแทนสหรัฐของนาโตในการโจมตีลิเบียก็ยังเกิดขึ้นตลอดและรุนแรงขึ้นทุกวัน มีทั้งการสนับสนุนกำลังอาวุธ และความช่วยเหลือให้ฝ่ายต่อต้าน การกำหนดเขตห้ามบิน ร่วมถึงการโจมตีทางอากาศนับพันๆเที่ยว จากเครื่องบินรบล้ำสมัยของนาโต้ที่ยังไงๆลิเบียสู้ไม่ได้แน่นอน โดยเฉพาะเครื่องบินรบโจมตีจากอากาศสู่ภาคพื้นรุ่นราฟาลของฝรั่งเศส

อนาคตของลิเบีย
            อนาคตของลิเบียในระยะยาวนั้นยังวิเคราะห์กันลำบากครับเพราะตอนนี้ทางนาโต้เองยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของนโยบายการโค่นล้มกัดดาฟี่และนาโต้เองก็คงไม่ยอมเปิดเผยแผนการโค่นล้มกัดดาฟี่ให้สาธารณะชนได้ทราบกันอย่างแน่นอน ก็คงต้องเฝ้าดูเหตุการณ์กันต่อไป ส่วนในระยะสั้นนั้นผมมองว่า นาโต้คงจะใช้แผนเดิมคือการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโจมตีฐานที่มั่นของกองกำลังทหารกัดดาฟี่ เพื่อเป็นการตัดกำลังหลักของกัดดาฟี่ต่อไป  ร่วมถึงการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนฝ่ายต่อต้านที่ยังคงปักหลักต่อสู่กับรัฐบาลอย่างดุเดือดในเมืองทางภาคเหนือของประเทศ แต่ไม่แน่นะครับ ผมว่ามีความเป็นไปได้สูงเหมือนกันในอนาคตที่นาโต้อาจจะมีแผนรับรองสถานะของฝ่ายต่อต้านเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อต่อสู่โค่นล้มกัดดาฟี่ก็เป็นได้ เพราะหากนาโต้จะเข้ามาทำสงครามกับกัดดาฟี่ด้วยตัวเองด้วยการส่งทหารทางภาคพื้นก็คงจะดูเหมือนออกตัวแรงเกินไปหน่อย ทั้งๆที่นาโต้เองก็มีกฏ มีศักยภาพทางทหาร งบประมาณ และบทบาทหน้าที่จำกัด.

จากเเค่การประท้วงกลายมาเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปเเบบ

เหตุผลหลักๆของการโจมตีลิเบีย
ปัจจัยหลักๆที่มหาอำนาจต้องการโค่นล้มกัดดาฟี่มีดังนี้
1.ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ลิเบียผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าสธรรมชาติได้ถึง 1.5 ล้านบาเรลต่อวันและยังมีแหล่งน้ำมันดิบสำรอง เหล็ก และก๊าสอีกจำนวนมากที่อยู่ระหว่างการสำรวจและผลิต และนี้คือขุมทรัพย์ที่ประเมินค่าไม่ได้เลยสำหรับชาติมหาอำนาจที่ต้องการแสวงหาพลังงานในปัจจุบัน.
2.จุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร
สำหรับผมแล้วลิเบียเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดของแอฟริกา เนื่องจากอยู่ใจกลางตอนบนของทวีป มีพลังงานสำรองมาก เนื้อที่ประเทศกว้างขว้างติดต่อกับหลายประเทศทั้งทางทิศตะวันออกที่ติดกับอียิปต์ ซูดาน ทางทิศใต้ที่ติดกับ สาธารณรัฐชาด และมาลี ทางทิศตะวันตกที่ติดกับตูนีเซีย และแอลจีเรีย และที่สำคัญที่สุดติดกับทะเลมิดิเตอร์เรเนียนที่สามารถส่งกองทัพเรืองมาประจำการและอยู่ไม่ไกลจากทวีปยุโรป สามารถทำการลำเลียงพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ได้สบายอีกด้วย.

ตำเเหน่งที่ตั้งเเละทรัพยากรของลิเบียถือว่าดีมากครับในมุมมองของจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารเเละเศรษฐกิจ
เรียกได้ว่าเป็นประตูสู่เเอฟริกาได้สบายๆไม่เเพ้อียิปต์เลย
3.กำจัดผู้นำมุสลิมที่ไม่ได้อยู่ในโอวาทของมหาอำนาจ
พันเอก มูอัมมัร กัดดาฟี่ ถือเป็นผู้นำประเทศมุสลิมหนึ่งในไม่กี่คนในโลกอาหรับที่จัดว่าไม่ได้อยู่ในโอวาทของชาติมหาอำนาจ แถมยังแสดงความกล้าที่จะไม่ยอมอยู่ใต้การครอบงำ กดขี่ และเอาเปรียบของมหาอำนาจ เขาต้องการที่จะชูให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความมีเอกราช ศักดิ์ศรีของชาวลิเบียและพร้อมที่จะสละชีพเพื่อดินแดนของตัวเอง ตามความคิดและวิสัยทัศน์ของเขา จึงไม่แปลกที่มหาอำนาจพยายามที่จะโค่นล้มและสังหารเขาให้จงได้ และหากชาติมหาอำนาจทำได้ก็คงจะเป็นการ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ไว้เป็นตัวอย่างให้ชาติมุสลิมอื่นๆว่า “ควรเป็นเด็กดี และอยู่ในโอวาทของผู้ใหญ่เสมอ” และเมื่อมีคำกล่าวแบบนี้วนเวียนฉายซ้ำๆอยู่ในใจผู้นำโลกมุสลิมแล้วโลกมุสลิมก็คงจะอ่อนแอดังที่เคยเป็นไปอีกนาน.


[1] Wikipidia.(2011).Libya economy.Available: www.http://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Libya
 .Retrieved 30 June 2011.
[2] Indexmundi.(2011)Libya population.Available:http://www.indexmundi.com/libya./demographics_profile.html.Retrieved 18June 2011.

ตอนที่ 2 : ซูดานเดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับจีน

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

                                 

      สำนักข่าวอัลจาซีราห์ รายงานเมื่อเช้าวันนี้ว่า ประธานาธิบดี อาบูบากัร บาเชียร์ เเห่งซูดานได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเเล้วเมื่อเช้าวันนี้ (อังคารที่28มิถุนายน2011) เพื่อพบเเละหารือกับประธานาธิบดี ฮู จิน เทา ของจีน ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เเละหารือในเรื่อง เศรษฐกิจ การค้า เเละ พลังงาน อีกด้วย

บาเชียร์ เดินทางถึงกรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเเล้วเมื่อเช้าวันนี้
  
     การเดินไปจีนในครั้งนี้ของ บาเชียร์ ถือว่าีมีนัยยะทางการเมืองเป็นอย่างมาก เพราะนี้ไม่ใช่เพียงเเค่การเจรจาหารือให้การสนับสนุนด้านการค้า เศรษฐกิจต่อซูดานซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศมุสลิมที่ยากจนเท่านั้น เเต่นั้นยังหมายถึงความพยายามของซูดานในการที่จะดึงจีนในฐานะหนึ่งในประเทศมหาอำนาจโลกเข้ามาหนุนหลังเเละคานอำนาจกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่พยายามเข้ามาเเสวงหาทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันดิบของซูดานด้วย
     หากเราย้อนกลับไปดูสถาการณ์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกาพยายามทุกวิธีทางที่จะครอบครองทรัพยากรน้ำมันในตะวันออกกลางเเต่เพียงผู้เดียว เลยทำให้จีนซึ่งกำลังพัฒนาด้านเศรษฐกิจเเบบก้าวกระโดดเกิดการขาดเเคลนทรัพยากรน้ำมันเลยต้องเปลี่ยนเเผนออกไปลงทุนเเละเเสวงหาน้ำมันในกลุ่มประเทศเเอฟริกาเเทน เเละหนึ่งในนั้นก็คือประเทศซูดานนั้นเอง เนื่องจากซูดานมีอาณาเขตกว้างใหญ่มาก เเละมีปริมาณน้ำมันดิบใต้พื้นพิภพจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้จีนจึงเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ด้านการฑูต การค้า เศรษฐกิจ เเละการลงทุนกับซูดานมากขี้นในระยะเวลากว่าสิบปีให้หลัง โดยเฉพาะการลงทุนด้านพลังงาน เเละสำรวจน้ำมันดิบ เเละมีการคาดการณ์กันว่าซูดานอาจจะกลายมาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ให้กับจีนก็เป็นได้ในอนาคตหากจีนสามารถช่วยเหลือซูดานในการสำรวจเเละผลิตน้ำมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้นี้  เราอาจจะกว่าในอีกนัยหนึ่งว่า ทางด้านจีนเองก็เต็มใจที่เข้ามาหนุนหลังให้ซูดานเพราะหลักๆเเล้วจีนก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ด้านพลังงานน้ำมัน การส่งออก เเละเศรษฐกิจของตนในซูดานด้วยเช่นกัน
     นอกจากนัยยะทั้งสองข้อที่กล่าวไปเเล้ว ซูดานเองก็ยังอยากให้จีนคอยสนับสนุนซูดานในกรณีความขัดเเย้งเพื่อเเบ่งเเยกประเทศซูดานใต้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลซูดานของ ประธานาธิบดี บาเชียร์ถูกมองจากกลุ่มชาติตะวันตก เเละสหประชาชาติว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการที่กดขี่ ข่มเหง เเละสั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวซูดานใต้อยู่ในขณะนี้ เเละการเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลซูดานของจีนก็อาจจะทำให้ซูดานรอดพ้นจากการประกาศคว่ำบาตหรือเเทรกเเซงใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เพราะจีนนั้นถือได้ว่าเป็น 1 ใน 4 วีโต้ของสมาชิกถาวรประจำสหประชาชาติที่มีอำนาจในการระงับหรือคัดค้านการลงมติใดๆของสหประชาชาติได้นั้นเอง
     จากข่าวการเดินทางมาเยือนจีนอย่างเป็นทางการของผู้นำซูดานในวันนี้ ก็คงไม่เเปลกอะไรมากในสายตาของนักรัฐศาสตร์เพราะเป็นที่ทราบกันดีเเล้วว่าซูดานเเละจีนต้องเดินหน้าเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีกันอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ซูดานถูกบีบบังคับจากมหาอำนาจตะวันตกเช่นนี้.


      

ตอนที่ 1: สหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตซีเรีย

กลุ่มสหภาพยุโรปได้มีมติประกาศคว่ำบาตประเทศซีเรียเเล้วเมื่อหลายวันก่อนทั้งนี้เพื่อเเสดงออกที่ความไม่พอใจที่รัฐบาลซีเรียของประธานาธิบดี อัล อัสสาด ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศ

ประธานาธิบดี บาชาร์ อัส สาด  เเห่งซีเรีย
หนังสือพิมพิ์ นิว เเสตรด ทามส์ ฉบับวันที่ 25 June 2011 ของมาเลเซีย รายงานว่า ประธานกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(เบลเยีียม)ได้มีเเถลงการณ์ ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยมว่า สหภาพยุโรปได้มีมติให้คว่ำบาตประเทศซีเรียของประธานาธิปดี อัล อัสสาด เเล้ว ทั้งนี้เพื่อเเสดงออกถึงความไม่พอใจรัฐบาลซีเีรียที่ยังคงใช้กำลังทหารเข้าปรามปรามกลุ่มผู้ประท้วงมาตลอดระยะเวลากว่าสามเดือนที่ผ่านมา จนมีผู้เสียชีวิตเเละถูกคุมขังกว่า หนึ่งหมื่นคน
          จากการประกาศคว่ำบาตดังกล่าวทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซีเรียจึงได้ออกมาเเถลงข่าวตอบโต้เช่นเดียวกัน โดย รมต.ต่างประเทศซีเรีย กล่าวว่า การประกาศคว่ำบาตดังกล่าวของอียู ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการพยายามที่จะทำสงครามกับซีเรียโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะส่งผลเสียในหลายด้านในภายหลัง นอกจากนี้ยังได้ปฏิเสธเพิ่มเติมว่ารัฐบาลซีเรียไม่ได้รับการสนับสนุนหรือรับความช่วยเหลือใดๆจากอิหร่านในการปรามปรามผู้ประท้วงเเละสร้างความมั่นคงทางการทหารเเต่อย่างใด
          เเต่ถ้าหากมองลึกลงไปในเเง่ของความเป็นจริงเเล้ว  เราอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าการประกาศคว่ำบาตของสหภาพยุโรปต่อซีเรียนั้นไม่ได้มีเจตนาเพียงเเค่เเสดงออกถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลซีเรียเท่านั้น เเต่อาจจะเป็นสัญญานเตือนล่วงหน้าไปถึงรัฐบาลซีเรียว่าสหภาพยุโรปอาจจะมีเจตนาเเอบเเฝงใช้การประกาศคว่ำบาตนี้ในการกดดันให้มีการดำเนินการทางทหารต่อซีเรียในอนาคตอันใกล้นี้ เช่น การกดดันให้ นาโต้ เปิดการโจมตีทางอากาศต่อซีเรีย หรือ กดดันให้ สหประชาชาติเข้ามาเเทรกเเซงซีเรียก็เป็นได้ เหมือนกับในกรณีที่เกิดขึ้นมาเเล้วกับลิเบีย
         จึงไม่เเปลกที่ รมต.ต่างประเทศซีเรียได้ออกมาเเถลงตอบโต้การคว่ำบาตของสหภาพยุโรปว่า "มันไม่ต่างไปจากการพยายามก่อสงครามดีๆนี่เอง".