ตอนที่ 12: ชาติมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียน3 (อินโดเนเซีย)

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อินโดเนเซียเป็นอีกชาติมุสลิมหนึ่งที่เป็นประเทศกลุ่มแกนนำสำคัญของอาเซียน ไม่แพ้สิงค์โปร์ มาเลเซีย และไทยและยังมีบทบาทสูงต่อการกำหนดอนาคตของกลุ่มชาติอาเซียนด้วย เพราะอินโดเนเซียเป็นประเทศใหญ่ ประชากรมาก ทรัพยากรมาก และมีกำลังการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหลังๆมาที่เศรษฐกิจของอินโดเนเซียโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองเริ่มนิ่งลงแล้วและเชื่อกันว่าหลังการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 อินโดเนเซียจะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในชาติผู้นำอาเซียนที่โดดเด่นได้อย่างแน่นอน
แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าอินโดเนเซียจะได้รับผลประโยชน์จากอาเซียนเสมอไป ในบ้างภาคธุรกิจ การค้า สังคม และวัฒนธรรม  อินโดเนเซียก็ย่อมต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค และความท้าทายใหม่ๆที่จะตามมากับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วยเช่นกัน
ในมุมมองของผมแล้ว หลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 เราสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของอินโดเนเซียได้ดังนี้ครับ

ด้านเศรษฐกิจ

1.เศรษฐกิจอินโดเนเซียจะโตต่อเนื่อง
หลังจากการเมืองภายในของอินโดเนเซียเริ่มลดลงหลังจากสมัยของประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮีด ทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของอินโดเนเซียเริ่มฟื้นตัวและพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น จนถึงปัจจุบันในสมัยของรัฐบาล ซู ซีโล บัมบัง ยุคโดโยโน่ เศรษฐกิจของอินโดก็ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการเกษตร  โดยทางธนาคารโลกเองก็ได้ออกมายืนยันผลการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจอินโดเนเซียจะโตต่อเนื่อง “ประมาณ 6.4% “(1) ในอีก 2-5 ปีข้างหน้า

เมืองหลวงกรุงจากาตาร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ การลงทุน  การเงิน และการค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

 2.อินโดเนเซียจะนำเข้าอาหารและเครื่องอุปโภคมากขึ้น

ถึงแม้ว่าอินโดเนเซียจะสามารถผลิตสินค้า อาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภคเองได้ในประเทศ แต่นั้นก็ได้แค่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงและตอบสนองต่อความต้องการของคนในประเทศเท่านั้น เพราะประชากรอินโดเนเซียมีมากถึง 230 ล้านคน(2) ฉะนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียจึงมีความต้องการที่จะนำเข้าสินค้าประเภทอาหารมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าและอาหารในคลังสำรองของประเทศให้มากพอที่จะสามารถหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติไม่ให้อดอยาก โดยที่สินค้าประเภทอาหารนี้อินโดเนเซียก็ไม้ได้ไปสั่งซื้อมากจากไหนนอกจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันอย่าง ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย นั้นเอง

3.อินโดเนเซียจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอาเซียน

อย่างที่เราทราบกันดีว่าไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์จากค่ายรถต่างๆรายใหญ่ที่สุดในอาเซียนมานานหลายปีแล้ว แต่ด้วยจำนวนต้นทุนที่เพิ่มขึ้น น้ำท่วม ตลอดจนความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้ไทยเกิดสะดุดขาตัวเองในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยที่มีการคาดการณ์จากหลายหน่วยงานแล้วว่าค่ายรถต่างๆจะเริ่มหันไปใช้อินโดเนเซียเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ในอนาคต และยังคาดการณ์กันว่า “อินโดเนเซียอาจจะแซงไทยขึ้นไปเป็นผู้ผลิตและส่งออกยานยนต์ได้อย่างแน่นอนในอีก 5 ปี ข้างหน้า หากเศรษฐกิจอินโดเนเซียไม่สะดุดเสียก่อน”(3)

 
โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดเนเซีย

4.อินโดเนเซียจะมีการลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

ด้วยจำนวนคนที่มีการศึกษามีมากขึ้นในทุกๆสาขาวิชาโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานวัฒกรรมใหม่ๆทำให้รัฐบาลอินโดเนเซียพยายามที่จะส่งเสริมและลงทุนการพัฒนาประเทศในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างในปีล่าสุดทาง Google ซึ่งถือเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ของโลกได้ร่วมมือกับรัฐบาลอินโดเนเซียในการที่จะพัฒนาระบบ ICT และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัยให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของชาวอินโดนียเซียที่มีประมาณ 40 ล้านคน และคาดการณกันว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ถึง 48% ในปีที่จะถึงนี้(4)

การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอินโดเนเซียเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะด้านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย

5.อินโดเนเซียจะเน้นส่งออกสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น

ถึงแม้จะต้องนำเข้าสินค้าอาหารบ้างเพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศแต่อินโดเนเซียก็ยังได้ดุลการค้าจากการส่งออกสินค้าประเภทสินค้าสำเร็จรูปซึ่งมีจำนวนสินค้านับพันรายการ ซึ่งแน่นอนเมื่ออาเซียนลดภาษีนำเข้าลงเหลือแค่ 0% ก็จะยิ่งทำให้อินโดเนเซียได้เปรียบในการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น สินค้าสำเร็จรูปหลักๆของอินโดเนเซีย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษ น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยาสูบ โกโก้ เครื่องเทศ ยางและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์(5) เป็นต้น

 
ซูซีโล บัมบัง ยุดโดโยโน่ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดเนเซีย

ด้านสังคม

อินโดเนเซียนับเป็นประเทศที่มีโครงสร้างสังคมหลากหลายที่ประกอบไปด้วยผู้คนนับร้อยเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังคมเดียวกันทั้งอิสลาม พุทธ ฮินดู คริสต์  และความเชื่อไสยศาสตร์ดั่งเดิม  และถึงแม้ว่าอินโดเนเซียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกก็ตามแต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในด้านสังคมหลังยุคประชาคมอาเซียนก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพสังคม ภาษา ศาสนา ของอินโดเนเซียจะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน

1)            ภาษา

ถึงแม้ภาษาราชการของอินโดเนเซียจะเป็น บาฮาซา อินโดเนเซีย แต่ชาวอินโดเนเซียก็พอจะพูดภาษาอังกฤษได้ในระดับปานกลาง ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่าประเทศไทย เพราะอินโดเนเซียปรับใช้ทั้งภาษาอังกฤษและบาฮาซาในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยมาตั้งนานแล้ว จากตรงนี้ทำให้อินโดเนเซียไม่ต้องปรับตัวมากนักกับการรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพราะอย่างน้อยก็มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ในส่วนของภาษา บาฮาซา อินโดเนเซีย ก็คงจะไม่มีปัญหาเพราะสามารถใช้ภาษาบาฮาซา สื่อสารกับคนชาติต่างๆในภูมิภาคได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งมีผู้ใช้งานมากว่า 175 ล้านคน(5)โดยเฉพาะใช้ติดต่อการค้า การขายกับ บรูไน สิงค์โปร์ มาเลเซีย และทางภาคใต้ของไทยกับมินดาเนาของฟิลิปปินส์ 


อินโดเนเซียมีมหาวิทยาลัยที่เป็นทางการของรัฐมากกว่า 170 ทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนของมหาวิทยาลัยสะท้อนให้เห็นว่าอินโดเนเซียมีประชากรในวัยเรียนมากกว่าชาติใดๆในอาเซียน

2)            สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี 

ถึงแม้อินโดเนเซียจะมีสังคมแบบพหุวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ด้วยกระแสวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่แพร่เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องและรุนแรงประกอบกับความอ่อนแอในการปกป้องวัฒนธรรมของตนเองทำให้วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของอินโดเนเซียเริ่มจางหายไป ผู้คนหันมายอมรับวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น เช่น การปรับตัวเข้าหาแฟชั้นสมัยใหม่ ดนตรี  การสร้างที่อยู่อาศัย  การใช้ชีวิตแบบตะวันตก เป็นต้น ในอนาคตข้างหน้าคาดการณ์กันว่าสังคมอินโดเนเซียจะเปิดกว้างเสรีมากว่านี้ในการรับวัฒนธรรมตะวันตก และนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้สังคมอิสลามและขนมธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมของอินโดเนเซียอ่อนแอลงไปก็ได้

ศิลปะวัฒนธรรมของอินโดเนเซียได้รับอิทธิผลมากจากแนวความคิดของฮินดู พราหมณ์ และพุทธ มาก่อนที่อิสลามจะเข้ามาเผยแพร่ในภายหลัง



หมายเหตุ: การออกเสียงที่ถูกต้องและเป็นทางการของชื่อประเทศนี้คือ อินโดเนเซีย มิใช่อินโดนีเซีย อย่างที่เราเคยใช้กันแต่อย่างใด

References;
1) Hairecent.(2010). Available: http://thairecent.com/Business/2011/969471/.Retrieved on 27th November 2011.
2) thumbsup .(2011). Available: http://thumbsup.in.th/2011/07/google-indonesia/.Retrieved on 27th November 2011.
3) Ibid, Retrieved on 27th November 2011.
4) Appcenter.(2010).Available: Appcenter.truelife.com Ibid, Retrieved on 27th November 2011.
5) krysstal.(2011).Available: http://www.krysstal.com/spoken.html.Retrieved on 27th November 2011.
Other sources;
4. http://kasetinfo.arda.or.th/south/palm/trends/index.php.Retrieved on 27th November 2011.

0 ความคิดเห็น: